ราคาเครื่องรีดยางเครป
เครื่องรีดยางเครป ขนาดลูกกลิ้ง 10 นิ้ว ลูกกลิ้งทำจากเหล็กหล่อตัน ( + เครื่องยนต์ดีเซล หรือ มอเตอร์เกียร์ ขนาด 14 แรง )
ราคา 250,000 บาท ( ยังไม่รวมค่าขนส่งและค่าติดตั้ง )
เครื่องรีดยางเครป ขนาดลูกกลิ้ง 6 นิ้ว ลูกกลิ้งทำจากเหล็กเกรดดี ( + เครื่องยนต์ดีเซล หรือ มอเตอร์เกียร์ ขนาด 11 แรง )
ราคา 200,000 บาท ( ยังไม่รวมค่าขนส่งและค่าติดตั้ง )
*****สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม 091-193-0354 ( หนิง )*****
เครื่องรีดยางเครป เครื่องยนต์ดีเซล |
เครื่องรีดยางเครป ขนาดลูกกลิ้ง 10 นิ้ว เครื่องยนต์ดีเซล 14 แรงม้า |
เครื่องรีดยางเครป ขนาดลูกกลิ้ง 10 นิ้ว มอเตอร์เกียร์ |
เครื่องรีดยางเครป ขนาดลูกกลิ้ง 6 นิ้ว มอเตอร์เกียร์ |
อุตสาหกรรมการแปรรูปยางพารา มี 3 ประเภท ได้แก่
1.อุตสาหกรรมยางแผ่นดิบ แบ่งได้ 2 กลุ่ม คือ
กลุ่มแห้ง ได้แก่ ยางแผ่นรมควัน ซึ่งผลิตมากที่สุดประมาณร้อยละ 70 ตลาดหลักคือ ญี่ปุ่น รองลงมาคือ ยางแท่ง ที.ที.อาร์. ร้อยละ 16 ตลาดที่สำคัญ คือ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป นอกจากนั้นคือ ยางเครพ ยางแผ่นผึ่งแห้ง และยางสกิม
กลุ่มเหลว ได้แก่ น้ำยางข้น หรือยางลาเท็กซ์ แนวโน้มตลาดมีความต้องการมากขึ้นทั้งภายในและต่างประเทศ
2.อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง ประกอบด้วยอุตสาหกรรมการผลิตยางยานพาหนะ ซึ่งมีการผลิตมากที่สุดในปี 2542 จำนวน 76,606 ตัน คิดเป็นร้อยละ 33.83 รองลงมาคือ ถุงมือยาง จำนวน 38,405 ตัน ร้อยละ 16.7 และยางรัดของ จำนวน 20,985 ตัน ร้อยละ 9.2 โดยมีตลาดหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ยุโรป แคนาดา และญี่ปุ่น นอกจากนั้นยังมียางยืด ยางจักรยานยนต์ และอุตสาหกรรมรองเท้า
3.อุตสาหกรรมไม้ยางพารา เป็นอุตสาหกรรมที่พัฒนาพร้อมกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำให้คุณภาพดีตรงกับความต้องการของผู้ใช้ในรูปต่างๆ ได้แก่ ลังปลา ปาร์ติเกิลบอร์ด ของเด็กเล่น เฟอร์นิเจอร์ เครื่องเรือน ไม้อัด เครื่องประดับตกแต่งภายในอาคาร ปัจจุบันเป็นสินค้าส่งออกที่มีมูลค่าสูง และมีแนวโน้มขยายตัวมากยิ่งขึ้นจากจำนวน 74,110 ตัน ในปี 2541 เป็น 404,745 ตัน ในปี 2544 เพิ่มขึ้น 5.46 เท่าตัว โดยมีมูลค่าการส่งออกในปี 2544 เท่ากับ 2,311.07 ล้านบาท ตลาดหลักที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลี สิงคโปร์ และฮ่องกง
ลักษณะตลาดยางพาราเป็นตลาดของผู้ซื้อ
เนื่องจากมีผู้ซื้อจำนวนน้อยราย ขณะที่เกษตรกรหรือผู้ขายซึ่งมีจำนวนมากมาย
และส่วนมากเป็นเจ้าของสวนยางขนาดเล็ก ตลาดภายในประเทศ ตลาดภายในประเทศ เกษตรกรชาวสวนยางจะขายยางในรูปของน้ำยางสด
ยางแผ่นดิบและขี้ยาง ให้กับพ่อค้าคนกลางในท้องถิ่น
จากนั้นพ่อค้าคนกลางจะนำยางไปขายให้กับตลาดกลางยางพารา
โรงงานรมควันและโรงงานยางแผ่นผึ่งแห้ง
หรือเกษตรกรนำยางไปขายให้กับตลาดกลางและโรงงานโดยตรง
การกำหนดราคายาง ราคายางในประเทศถูกกำหนดจากตลาดหลักของโลก โดยเฉพาะตลาดสิงคโปร์และมาเลเซีย โดยผ่านผู้ซื้อรายใหญ่ต่างประเทศไม่กี่บริษัท กำหนดราคารับซื้อโดยใช้ราคา F.O.B. ของยางแผ่นรมควันชั้น 3 ที่คาดว่าจะขายได้ หักด้วยค่าใช้จ่ายในการส่งออก ค่าอากรขาออก และค่าสงเคราะห์การปลูกแทน
ตลาดต่างประเทศ ตลาดยาง ที่สำคัญในต่างประเทศมี 6 ตลาด คือ ตลาดกัวลาลัมเปอร์ สิงคโปร์ ลอนดอน นิวยอร์ค และโอซาก้า ซื้อขายทั้งยางธรรมชาติและยางสังเคราะห์ ปัจจุบันมีการซื้อขายผ่านตลาดกลางประมาณร้อยละ 30 เท่านั้น นอกนั้นเป็นการซื้อขายโดยตรง ระหว่างผู้ซื้อซึ่งมักเป็นโรงงานผลิตภัณฑ์ยาง เช่น ผู้ผลิตยางรถยนต์และยางอื่นๆ กับผู้ส่งออกยางพารา
การส่งออกยางธรรมชาติของไทย ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา (2539 – 2543) การส่งออกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก 1.71 ล้านตัน ในปี 2539 เป็น 2.56 ล้านตัน ในปี 2543 เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 10.0 ต่อปี โดยในปี 2543 ยางแผ่นรมควันมีปริมาณส่งออกมากที่สุดจำนวน 1,123,149 ตัน คิดเป็นร้อยละ 43.8 รองลงมาคือ ยางแท่งจำนวน 853,852 ตัน ร้อยละ 33.3 และน้ำยางข้นจำนวน 430,174 ตัน ร้อยละ 16.7
ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทย ปี 2543 คือ ญี่ปุ่น สาธารณรัฐประชาชนจีน และ มาเลเซีย โดยส่งออกไปญี่ปุ่นมากที่สุด จำนวน 480,566 ตัน คิดเป็นร้อยละ 18.9 รองลงมาคือ สาธารณรัฐประชาชนจีน จำนวน 452,231 ตัน ร้อยละ 17.8 และมาเลเซีย จำนวน 400,836 ตัน ร้อยละ 15.7
ประเทศคู่แข่งที่สำคัญ ประเทศคู่แข่งที่สำคัญของไทย คือ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ซึ่งมีส่วนแบ่งในตลาดโลกปี 2542 ร้อยละ 32.4 และร้อยละ 9.4 ตามลำดับ ขณะที่ประเทศไทยมีส่วนแบ่ง ร้อยละ 39.9 ประเทศอินโดนีเซียมีการตั้งเป้าหมายจะเลื่อนอันดับมาเป็นประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติรายใหญ่ที่สุดของโลกแทนประเทศไทย ขณะที่มาเลเซียได้ลดพื้นที่ปลูกยางลงจากการขาดแคลนแรงงาน และหันมาสนับสนุนอุตสาหกรรมยางภายในประเทศ โดยเน้นการใช้ยางธรรมชาติที่ผลิตได้ในประเทศมากขึ้น
การนำเข้า การนำเข้ายางธรรมชาติมีจำนวนเพิ่มขึ้นจาก 937.4 ตัน ในปี 2542 เป็น 1,331.8 ตัน ในปี 2543 เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.0 การนำเข้าส่วนใหญ่มาจากประเทศมาเลเซีย เนื่องจากประเทศไทยไม่สามารถผลิตได้ และนำมาแปรรูปใช้ภายในประเทศและเพื่อการส่งออก ซึ่งยางนำเข้าจะอยู่ในรูปของน้ำยางข้น ยางเครพ และอื่นๆ
การกำหนดราคายาง ราคายางในประเทศถูกกำหนดจากตลาดหลักของโลก โดยเฉพาะตลาดสิงคโปร์และมาเลเซีย โดยผ่านผู้ซื้อรายใหญ่ต่างประเทศไม่กี่บริษัท กำหนดราคารับซื้อโดยใช้ราคา F.O.B. ของยางแผ่นรมควันชั้น 3 ที่คาดว่าจะขายได้ หักด้วยค่าใช้จ่ายในการส่งออก ค่าอากรขาออก และค่าสงเคราะห์การปลูกแทน
ตลาดต่างประเทศ ตลาดยาง ที่สำคัญในต่างประเทศมี 6 ตลาด คือ ตลาดกัวลาลัมเปอร์ สิงคโปร์ ลอนดอน นิวยอร์ค และโอซาก้า ซื้อขายทั้งยางธรรมชาติและยางสังเคราะห์ ปัจจุบันมีการซื้อขายผ่านตลาดกลางประมาณร้อยละ 30 เท่านั้น นอกนั้นเป็นการซื้อขายโดยตรง ระหว่างผู้ซื้อซึ่งมักเป็นโรงงานผลิตภัณฑ์ยาง เช่น ผู้ผลิตยางรถยนต์และยางอื่นๆ กับผู้ส่งออกยางพารา
การส่งออกยางธรรมชาติของไทย ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา (2539 – 2543) การส่งออกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก 1.71 ล้านตัน ในปี 2539 เป็น 2.56 ล้านตัน ในปี 2543 เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 10.0 ต่อปี โดยในปี 2543 ยางแผ่นรมควันมีปริมาณส่งออกมากที่สุดจำนวน 1,123,149 ตัน คิดเป็นร้อยละ 43.8 รองลงมาคือ ยางแท่งจำนวน 853,852 ตัน ร้อยละ 33.3 และน้ำยางข้นจำนวน 430,174 ตัน ร้อยละ 16.7
ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทย ปี 2543 คือ ญี่ปุ่น สาธารณรัฐประชาชนจีน และ มาเลเซีย โดยส่งออกไปญี่ปุ่นมากที่สุด จำนวน 480,566 ตัน คิดเป็นร้อยละ 18.9 รองลงมาคือ สาธารณรัฐประชาชนจีน จำนวน 452,231 ตัน ร้อยละ 17.8 และมาเลเซีย จำนวน 400,836 ตัน ร้อยละ 15.7
ประเทศคู่แข่งที่สำคัญ ประเทศคู่แข่งที่สำคัญของไทย คือ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ซึ่งมีส่วนแบ่งในตลาดโลกปี 2542 ร้อยละ 32.4 และร้อยละ 9.4 ตามลำดับ ขณะที่ประเทศไทยมีส่วนแบ่ง ร้อยละ 39.9 ประเทศอินโดนีเซียมีการตั้งเป้าหมายจะเลื่อนอันดับมาเป็นประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติรายใหญ่ที่สุดของโลกแทนประเทศไทย ขณะที่มาเลเซียได้ลดพื้นที่ปลูกยางลงจากการขาดแคลนแรงงาน และหันมาสนับสนุนอุตสาหกรรมยางภายในประเทศ โดยเน้นการใช้ยางธรรมชาติที่ผลิตได้ในประเทศมากขึ้น
การนำเข้า การนำเข้ายางธรรมชาติมีจำนวนเพิ่มขึ้นจาก 937.4 ตัน ในปี 2542 เป็น 1,331.8 ตัน ในปี 2543 เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.0 การนำเข้าส่วนใหญ่มาจากประเทศมาเลเซีย เนื่องจากประเทศไทยไม่สามารถผลิตได้ และนำมาแปรรูปใช้ภายในประเทศและเพื่อการส่งออก ซึ่งยางนำเข้าจะอยู่ในรูปของน้ำยางข้น ยางเครพ และอื่นๆ
ยางพารา เป็นไม้ยืนต้น
มีถิ่นกำเนิดในป่าเขตร้อน ซึ่งมีฝนตกชุกแถบอเมริกาใต้ ได้แก่ ประเทศบราซิล เปรู
โคลัมเบีย เวเนซุเอลา และโบลิเวีย ปี พ.ศ. 2520
Sir Henry Wickhan ได้นำเมล็ดยางพารามาปลูกที่เปรัค
ประเทศ มาเลเซีย จำนวน 9 ต้น และอีก 13 ต้น ปลูกที่สวนพฤกษาชาติ
ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเป็นที่มาของต้นยางพาราในเอเชีย และแอฟริกาในทุกวันนี้ ประเทศไทย พระยารัษฎานุประดิษฐ์
เจ้าเมืองตรัง ได้นำพันธุ์ยางพารา
จากประเทศมาเลเซีย มาทดลองปลูกครั้งแรก ในปี พ.ศ.
2443 ที่อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง หลังจากนั้นจึงแพร่หลายไปทั่วทั้ง 14 จังหวัดของภาคใต้ และขยายไปสู่ภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สภาพการทำสวนยางพาราของไทย การปลูกยางพาราในช่วงแรกๆ นั้น (พ.ศ. 2443 - 2503) เป็นพันธุ์พื้นเมือง ปลูกร่วมกับไม้ผลและพืชผักอื่นๆ ในบริเวณเชิงเขาและที่ราบเชิงเขา ซึ่งเรียกว่า “ป่ายาง” โดยเมล็ดพันธุ์จะนำมาจากประเทศมาเลเซีย ซึ่งขณะนั้น เป็นประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติเป็นอันดับ 1 ของโลก มีการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ที่ให้ผลผลิตต่อไร่สูง และทำการปลูกทดแทนพันธุ์พื้นเมืองเดิมไปมาก ประเทศไทยจึงมีความพยายามพัฒนาการทำสวนยางพาราให้เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้จัดตั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องการทำสวนยางพารา เพื่อดำเนินการวิจัย ส่งเสริม และพัฒนา ทำให้พื้นที่ปลูกยางพาราขยายตัวอย่างต่อเนื่องจาก 7 ล้านไร่ ในปี 2503 เป็น 10 ล้านไร่ ในปี 2529 เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 1.3 ต่อปี โดยพื้นที่บางส่วนได้รับการส่งเสริมให้ปลูกยางพันธุ์ดีแทนยางพาราพันธุ์เก่าอายุ 25 ปีขึ้นไป โดยสงเคราะห์ให้เกษตรกรไร่ละ 6,800 ต่อปี เป็นระยะเวลา 6 ปี
ช่วงปี 2529 –
2534 การทำส่วนยางพารามีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบจาก “ป่ายางหรือสวนสมรม” ไปเป็นพืชเชิงเดียวที่มีเพียงต้นยางพาราอย่างเดียว
โดยปลูกทดแทนพันธุ์ พื้นเมืองเดิมด้วยยางพันธุ์ดีที่ให้ผลผลิตต่อไร่สูงกว่าและมีการบำรุงรักษามากขึ้น
ทำให้ผลผลิตยางพาราของไทยในช่วงเวลาดังกล่าว เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจาก 0.94 ล้านตัน
ในปี 2529 เป็น 1.5 ล้านตัน ในปี 2534 เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 9.7 ต่อปี
ประเทศไทยจึงเป็นผู้ผลิตยางธรรมชาติอันดับหนึ่งของโลก ปัจจุบันสวนยางพาราประเทศไทยมีประมาณ 11.5
ล้านไร่ ซึ่งประมาณร้อยละ 93.01
ของสวนยางทั้งหมด เป็นสวนยางขนาดเล็กมีเนื้อที่ระหว่าง 2-50 ไร่ โดยมีขนาดของสวนเฉลี่ย 13 ไร่
และส่วนใหญ่เป็นการปลูกลักษณะเชิงเดี่ยว
ทำให้เกิดความเสี่ยงขณะที่ภาวะราคายางพาราตกต่ำ ประกอบกับประเทศคู่แข่งที่สำคัญคือ
อินโดนีเซีย และเวียดนาม มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า
และมีแนวโน้มขยายพื้นที่การปลูกยางมากยิ่งขึ้น
พื้นที่การปลูกยางพารา พื้นที่ปลูกยางพาราของไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากจำนวน 10.8 ล้านไร่ ในปี 2531 เป็น 11.5 ล้านไร่ ในปี 2541 เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 0.6 ต่อปี โดยพื้นที่การปลูกยางพาราประมาณร้อยละ 85 อยู่ใน 14 จังหวัดภาคใต้ ซึ่งในปี 2541 จังหวัด สุราษฎร์ธานีมีพื้นที่ปลูกมากที่สุด จำนวน 1,772,324 ไร่ รองลงมาคือจังหวัดสงขลา และนครศรีธรรมราช จำนวน 1,631,058 ไร่ และ 1,289,047 ไร่ ตามลำดับ
ผลผลิตยางพารา ผลผลิตยางพาราเพิ่มสูงขึ้นตลอดจาก 1.15 ล้านตัน ในปี 2531 เป็น 2.16 ล้านตันในปี 2541 เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 6.50 ต่อปี เนื่องจากปัจจัยที่สำคัญ 2 ประการ คือ ประการแรก เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของพื้นที่ให้ผลผลิต ซึ่งเพิ่มจาก 9.24 ล้านไร่ ในปี 2531 เป็น 9.54 ล้านไร่ ในปี 2541 เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 0.32 ต่อปี ประการที่สอง เนื่องจากการขยายพื้นที่ปลูกทดแทนด้วยยางพันธุ์ดี ทำให้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นจาก 136 กก./ไร่ ในปี 2531 เป็น 225 กก./ไร่ ในปี 2541 ผลผลิตยางพารา ปี 2541 ส่วนใหญ่อยู่ในภาคใต้ คิดเป็นร้อยละ 90 ของผลผลิตทั้งประเทศ จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีปริมาณผลผลิตยางพาราสูงเป็นอันดับหนึ่ง จำนวน 368,667 ตัน รองลงมาคือ จังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดสงขลา จำนวน 278,674 ตัน และ 267,180 ตัน ตามลำดับ
สภาพการทำสวนยางพาราของไทย การปลูกยางพาราในช่วงแรกๆ นั้น (พ.ศ. 2443 - 2503) เป็นพันธุ์พื้นเมือง ปลูกร่วมกับไม้ผลและพืชผักอื่นๆ ในบริเวณเชิงเขาและที่ราบเชิงเขา ซึ่งเรียกว่า “ป่ายาง” โดยเมล็ดพันธุ์จะนำมาจากประเทศมาเลเซีย ซึ่งขณะนั้น เป็นประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติเป็นอันดับ 1 ของโลก มีการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ที่ให้ผลผลิตต่อไร่สูง และทำการปลูกทดแทนพันธุ์พื้นเมืองเดิมไปมาก ประเทศไทยจึงมีความพยายามพัฒนาการทำสวนยางพาราให้เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้จัดตั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องการทำสวนยางพารา เพื่อดำเนินการวิจัย ส่งเสริม และพัฒนา ทำให้พื้นที่ปลูกยางพาราขยายตัวอย่างต่อเนื่องจาก 7 ล้านไร่ ในปี 2503 เป็น 10 ล้านไร่ ในปี 2529 เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 1.3 ต่อปี โดยพื้นที่บางส่วนได้รับการส่งเสริมให้ปลูกยางพันธุ์ดีแทนยางพาราพันธุ์เก่าอายุ 25 ปีขึ้นไป โดยสงเคราะห์ให้เกษตรกรไร่ละ 6,800 ต่อปี เป็นระยะเวลา 6 ปี
พื้นที่การปลูกยางพารา พื้นที่ปลูกยางพาราของไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากจำนวน 10.8 ล้านไร่ ในปี 2531 เป็น 11.5 ล้านไร่ ในปี 2541 เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 0.6 ต่อปี โดยพื้นที่การปลูกยางพาราประมาณร้อยละ 85 อยู่ใน 14 จังหวัดภาคใต้ ซึ่งในปี 2541 จังหวัด สุราษฎร์ธานีมีพื้นที่ปลูกมากที่สุด จำนวน 1,772,324 ไร่ รองลงมาคือจังหวัดสงขลา และนครศรีธรรมราช จำนวน 1,631,058 ไร่ และ 1,289,047 ไร่ ตามลำดับ
ผลผลิตยางพารา ผลผลิตยางพาราเพิ่มสูงขึ้นตลอดจาก 1.15 ล้านตัน ในปี 2531 เป็น 2.16 ล้านตันในปี 2541 เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 6.50 ต่อปี เนื่องจากปัจจัยที่สำคัญ 2 ประการ คือ ประการแรก เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของพื้นที่ให้ผลผลิต ซึ่งเพิ่มจาก 9.24 ล้านไร่ ในปี 2531 เป็น 9.54 ล้านไร่ ในปี 2541 เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 0.32 ต่อปี ประการที่สอง เนื่องจากการขยายพื้นที่ปลูกทดแทนด้วยยางพันธุ์ดี ทำให้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นจาก 136 กก./ไร่ ในปี 2531 เป็น 225 กก./ไร่ ในปี 2541 ผลผลิตยางพารา ปี 2541 ส่วนใหญ่อยู่ในภาคใต้ คิดเป็นร้อยละ 90 ของผลผลิตทั้งประเทศ จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีปริมาณผลผลิตยางพาราสูงเป็นอันดับหนึ่ง จำนวน 368,667 ตัน รองลงมาคือ จังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดสงขลา จำนวน 278,674 ตัน และ 267,180 ตัน ตามลำดับ
ข้อเสนอแนะต่อภาคอุตสาหกรรม
1. สร้างระบบฐานข้อมูลด้านผลผลิตใหม่ที่น่าเชื่อถือ โดยมีรายละเอียดของการผลิตทั้งปริมาณและคุณภาพ เพื่อความพร้อมในการบริหารอุปทานยาง
2. สนับสนุนการพัฒนาคุณภาพยางพาราของไทย รวมทั้งกระบวนการจัดชั้นแผ่นยาง และการรักษาคุณภาพของยางแท่งของไทยให้ได้คุณภาพและมาตรฐานที่มีความสม่ำเสมอ ภายใต้ต้นทุนที่ต่ำอยู่ได้
3. ให้การสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตสินค้าที่ใช้ยางพาราเป็นวัตถุดิบมากขึ้น หรือมีการปรับโครงสร้างภาษีที่เอื้อำนวยต่อการลงทุนในอุตสาหกรรมเหล่านี้มากขึ้น เนื่องจากในปัจจุบันประเทศไทยมีการนำเข้าสินค้าเหล่านี้เป็นจำนวนมาก ทั้งที่ไทยเป็นผู้ผลิตยางพาราเอง จึงกลายเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับต่างประเทศ
4. พัฒนาท่าเรือน้ำลึกให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากในปัจจุบันไทยมีการส่งออกยางพาราโดยทางเรือ ซึ่งแม้ว่าไทยจะมีแหลมฉบังเป็นท่าเรือที่สามารถส่งไปจีนได้โดยตรง แต่การขนส่งยางทางภาคใต้ของไทยนิยมส่งผ่านท่าปีนังของมาเลเซีย เนื่องจากอยู่ใกล้มากกว่า และมีค่าขนส่งที่ถูกกว่า ในขณะที่ท่าเรือที่ใกล้ที่สุดคือท่าเรือสงขลา แต่เป็นท่าเรือน้ำตื้น ทำให้เรือใหญ่ไม่สามารถเข้าได้ จึงจำเป็นต้องไปขนถ่ายต่ออีกทีหนึ่ง ทำให้ต้นทุนสูงขึ้น
5. ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนภายในประเทศ เพื่อลดสภาวะของการแข่งขันกันตัดราคายางพารา โดยมีภาครัฐเป็นหน่วยงานกลางในการประสานความร่วมมือ รวมทั้งมีการพัฒนาระบบการซื้อขายยางให้มีการปฏิบัติตามสัญญาทางการค้าอย่างถูกต้องมากขึ้น
ข้อเสนอแนะต่อภาครัฐในการเจรจาการค้า
1. ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือในกลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่งเป็นผู้ผลิตยางรายใหญ่ของโลกให้มีวัตถุประสงค์ในการค้าร่วมกัน และโดยเฉพาะร่วมกันบริการอุปทานของยางพาราที่มีไทยในฐานะผู้ผลิตยางพารารายใหญ่เป็นผู้นำของกลุ่มอเซียน
2. เร่งเจรจาเปิดเสรีทางการค้ากับจีน โดยเฉพาะการยกเลิกภาษีระบบโควต้าให้เร็วกว่าปี 2547 ที่จีนมีพันธะไว้กับ WTO เพราะจีนมีการนำเข้ายางมากกว่าโควต้าที่กำหนดไว้อยู่แล้ว
3. สนับสนุนการร่วมทุนระหว่างไทยและจีน เพราะจีนมีบุคลากรที่ค่อนข้างมีความพร้อมมากกว่าไทย เช่น การมีวิศวกรด้านยางโดยเฉพาะ ซึ่งการร่วมทุนน่าจะทำให้จีนมีการย้ายโรงงานมายังไทยมากขึ้น และหากมีนโยบายรัฐให้การสนับสนุนก็น่าจะทำให้ไทยสามารถพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทางด้านนี้ได้เอง
1. สร้างระบบฐานข้อมูลด้านผลผลิตใหม่ที่น่าเชื่อถือ โดยมีรายละเอียดของการผลิตทั้งปริมาณและคุณภาพ เพื่อความพร้อมในการบริหารอุปทานยาง
2. สนับสนุนการพัฒนาคุณภาพยางพาราของไทย รวมทั้งกระบวนการจัดชั้นแผ่นยาง และการรักษาคุณภาพของยางแท่งของไทยให้ได้คุณภาพและมาตรฐานที่มีความสม่ำเสมอ ภายใต้ต้นทุนที่ต่ำอยู่ได้
3. ให้การสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตสินค้าที่ใช้ยางพาราเป็นวัตถุดิบมากขึ้น หรือมีการปรับโครงสร้างภาษีที่เอื้อำนวยต่อการลงทุนในอุตสาหกรรมเหล่านี้มากขึ้น เนื่องจากในปัจจุบันประเทศไทยมีการนำเข้าสินค้าเหล่านี้เป็นจำนวนมาก ทั้งที่ไทยเป็นผู้ผลิตยางพาราเอง จึงกลายเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับต่างประเทศ
4. พัฒนาท่าเรือน้ำลึกให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากในปัจจุบันไทยมีการส่งออกยางพาราโดยทางเรือ ซึ่งแม้ว่าไทยจะมีแหลมฉบังเป็นท่าเรือที่สามารถส่งไปจีนได้โดยตรง แต่การขนส่งยางทางภาคใต้ของไทยนิยมส่งผ่านท่าปีนังของมาเลเซีย เนื่องจากอยู่ใกล้มากกว่า และมีค่าขนส่งที่ถูกกว่า ในขณะที่ท่าเรือที่ใกล้ที่สุดคือท่าเรือสงขลา แต่เป็นท่าเรือน้ำตื้น ทำให้เรือใหญ่ไม่สามารถเข้าได้ จึงจำเป็นต้องไปขนถ่ายต่ออีกทีหนึ่ง ทำให้ต้นทุนสูงขึ้น
5. ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนภายในประเทศ เพื่อลดสภาวะของการแข่งขันกันตัดราคายางพารา โดยมีภาครัฐเป็นหน่วยงานกลางในการประสานความร่วมมือ รวมทั้งมีการพัฒนาระบบการซื้อขายยางให้มีการปฏิบัติตามสัญญาทางการค้าอย่างถูกต้องมากขึ้น
ข้อเสนอแนะต่อภาครัฐในการเจรจาการค้า
1. ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือในกลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่งเป็นผู้ผลิตยางรายใหญ่ของโลกให้มีวัตถุประสงค์ในการค้าร่วมกัน และโดยเฉพาะร่วมกันบริการอุปทานของยางพาราที่มีไทยในฐานะผู้ผลิตยางพารารายใหญ่เป็นผู้นำของกลุ่มอเซียน
2. เร่งเจรจาเปิดเสรีทางการค้ากับจีน โดยเฉพาะการยกเลิกภาษีระบบโควต้าให้เร็วกว่าปี 2547 ที่จีนมีพันธะไว้กับ WTO เพราะจีนมีการนำเข้ายางมากกว่าโควต้าที่กำหนดไว้อยู่แล้ว
3. สนับสนุนการร่วมทุนระหว่างไทยและจีน เพราะจีนมีบุคลากรที่ค่อนข้างมีความพร้อมมากกว่าไทย เช่น การมีวิศวกรด้านยางโดยเฉพาะ ซึ่งการร่วมทุนน่าจะทำให้จีนมีการย้ายโรงงานมายังไทยมากขึ้น และหากมีนโยบายรัฐให้การสนับสนุนก็น่าจะทำให้ไทยสามารถพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทางด้านนี้ได้เอง
ภายหลังการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนจีนนั้น หมายถึง จีนจะทำการเก็บภาษีศุลกากรจากไทยและกลุ่มประเทศในอาเซียนในอัตราร้อยละศูนย์ ในขณะที่ไทยและกลุ่มประเทศในอาเซียนก็จะทำการเก็บภาษีศุลกากรกับจีนในอัตราร้อยละศูนย์เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ มาตรการต่างๆ ที่มิใช่ภาษีศุลกากรก็จะหมดไปจนกระทั่งมีการค้าแบบเสรีอย่างสมบูรณ์ภายในกลุ่มประเทศอาเซียนและจีน
การตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน จีนในส่วนของอุตสาหกรรมยางธรรมชาตินั้น การลดภาษีนำเข้าและการยกเลิกโควต้าจะก่อให้เกิดผลดีต่อประเทศในด้านราคาขายยางพาราในจีนที่ถูกลง เนื่องจากการลดภาษีนำเข้า โดยมีการคาดการณ์ของสมาคมยางพาราไทยว่าในปี 2550 จีนจะมีการใช้ยาง 1.40 ล้านตัน และเพิ่มเป็น 1.65 ล้านตันในปี 2555 ในขณะที่การผลิตยางธรรมชาติของจีนค่อนข้างคงที่ ประมาณ 470,000 ตัน จึงน่าจะเป็นโอกาสทางการค้าที่ดีมากของไทย
เมื่อพิจารณาโดยรวมกลับพบว่าผลกระทบของการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีนทำให้ผลกระทบโดยรวมต่อไทยโดยภาพรวมซับซ้อนมากขึ้น เนื่องจากไทยมีการนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากยางมากกว่าที่จีนนำเข้ายางธรรมชาติจากไทย การเปิดเสรีจึงเป็นการสนับสนุนสินค้าที่ทำจากยางของจีนไปในตัวด้วย
ปริมาณการบริโภคยางพาราของจีน ในปี 2543 มีอัตราการเติบโตอย่างมากจากการเติบโตทางเศรษฐกิจ การลงทุนด้านสาธารณูปโภค และการกระตุ้นการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเป็นผลดีต่อทุกอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยาง ที่ได้รับผลจากการที่มีรถยนต์มากขึ้นทำให้มีการใช้ล้อยางมากขึ้น ความต้องการยางธรรมชาติจึงเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว ทำให้ในปี 2543 จีนมีการบริโภคยาง 1.08 ล้านตัน ส่วนในปี 2544 จีนมีการบริโภคยางทั้งสิ้น 1.07 ล้านตัน ลดลงจากปี 2543 เล็กน้อย
จีนมีความต้องการยางธรรมชาติเป็นจำนวนมากในการผลิตยางล้อที่มีทั้ง ยางรถจักรยานยนต์ ยางรถจักรยาน และยางรถยนต์ ส่วนผลิตภัณฑ์ยางมียางรัดของ ท่อยาง รองเท้ายาง และยางรัดกางเกงหรือชุดชั้นใน ซึ่งการผลิตผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดต้องการวัตถุดิบต่างกัน คือ
- ยางแท่งและยางแผ่น ใช้ในการผลิตยางล้อ เป็นส่วนประกอบใน mold เพื่อผลิตส่วนประกอบรถยนต์ และ consumer product เช่น ขอบประตู หน้าต่าง ยางรองคอสะพาน เป็นต้น
- น้ำยางข้น ใช้ในการผลิต ถุงมือยาง พื้นรองเท้า หมอน ฟูก กาว เป็นต้น
การใช้ยางธรรมชาติเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ยางทั้งหมดของจีนนั้นแบ่งได้เป็น 2 ตลาดหลัก คือ ตลาดเพื่อใช้ในการทำท่อยาง และตลาดเพื่อใช้ในการทำยางล้อ โดยสามารถแบ่งได้เป็นยางล้อจำนวนร้อยละ 60 ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 40 เป็นยางอื่นๆ เช่น ท่อยาง เทปยาง สายยางปะเก็นน้ำมัน และยางแท่นกันสะเทือน เป็นต้น
การใช้ยางธรรมชาติในอุตสาหกรรมท่อยาง เมื่อเทียบระหว่างตลาดอุตสาหกรรมยานยนต์และตลาดเพื่อทำท่อยางจะพบว่า ตลาดยางธรรมชาติเพื่อใช้ในการทำท่อยางมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยในปี 2543 จีนมีความต้องการใช้ท่อยางจำนวน 170 ล้านเมตร และมีการคาดการณ์ว่าจะมีการใช้ท่อยาง 178 ล้านเมตรในปี 2545 คิดเป็นการเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 2.3 ต่อปี ซึ่งการพัฒนาอุตสาหกรรมท่อยางของจีนในปัจจุบันจะเน้นการพัฒนาท่อยางเจาะน้ำมันที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดใหญ่ ท่อยางแรงดันสูง และท่อยางที่ใช้ในรถยนต์
การใช้ยางธรรมชาติในอุตสาหกรรมการผลิตยางล้อในจีน จีนมีความต้องการยางธรรมชาติเป็นจำนวนมากในการผลิตยางล้อที่ประกอบด้วย ยางรถจักรยานยนต์ ยางรถจักรยาน และยางรถยนต์ โดยยางรถยนต์แยกเป็นยางรถบรรทุก ยางรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ยางรถที่ใช้ในการเกษตร และยางล้อเครื่องบิน ซึ่งปัจจุบันจีนสามารถผลิตยางยานพาหนะได้มากกว่า 1,200 ชนิด โดยมีมาตรฐานถึง 8,500 มาตรฐาน ซึ่งมณฑลที่มีการผลิตยางล้อมากที่สุดในปี 2538 อยู่ที่ Shandong คิดเป็นร้อยละ 45.2 ของการผลิตยางล้อทั้งประเทศ รองลงมา คือ มณฑลกวางตุ้งร้อยละ 15.8 เซี่ยงไฮ้ ร้อยละ 13.4 ฟูเจียนร้อยละ 13.1 เจียงซู ร้อยละ 10.6 ยูนนานร้อยละ 1.5 และไหหลำร้อยละ 0.4 ในปี 2539 จีนมีโรงงานผลิตยางล้อรถประมาณ 300 โรง และใช้ยางในการผลิตยางล้อจำนวนทั้งสิ้น 957,000 ตัน ปี 2543 มีการใช้เพิ่มขึ้นเป็น 1 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ยจากปี 2539 ปีละ 6% โดยเป็นการผลิตยางล้อทั้งสิ้น 60.6 ล้านเส้นในปี 2539 ในขณะที่ปี 2540 ผลิตได้ 69 ล้านเส้น ปี 2543 ผลิตได้ 80 ล้านเส้น ซึ่งสามารถแบ่งเป็นยางแต่ละประเภท ดังนี้
จีนผลิตยางรถจักรยานได้ 16 ล้านเส้นในปี 2539 โดย ปี 2543 ผลิตได้ 45 ล้านเส้น ในขณะที่ในปี 2539 ผลิตยางรถจักรยานยนต์ได้ 120 ล้านเส้น และเพิ่มเป็น 220 ล้านเส้นในปี 2543 มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยปีละ 7-8 % ในด้านของยางเรเดียล ปี 2539 จีนผลิตได้ 9.9 ล้านเส้นหรือคิดเป็น ร้อยละ 15 ของการผลิตยางล้อทั้งหมด โดยในปี 2540 เพิ่มเป็น 12.8 ล้านเส้น และในปี 2543สัดส่วนการผลิตยางเรเดียลจะเพิ่มขึ้นเป็น
ร้อยละ 35 ซึ่งถือว่ามีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว เพราะการขยายตัวของการลงทุนจากบริษัทผลิตยางเรเดียลของจีนเองและจากต่างประเทศ เช่น บริดจสโตน มิชลิน และกู๊ดเยียร์ ในปี 2543 -2544 จำนวนรถยนต์ของจีนเพิ่มขึ้น 2.3 ล้านคัน โดยเป็นรถโดยสาร 1.25-1.28 ล้านคัน โดยเป็นการใช้ยางรถโดยสารเพิ่มขึ้น 60.3 ล้านเส้น และยางเรเดียล 40 ล้านเส้น และจากสถิติของ International Rubber Study Group ดังตารางที่ 20 พบว่าจีนมีการผลิตยางรถยนต์ซึ่งรวมทั้งรถส่วนตัวและรถบรรทุกจำนวน 121.60 ล้านเส้นในปี 2543 ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นใน 3 ไตรมาสแรกของปี 2544 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2543 ด้วย และในปี 2544 มีการประมาณการว่าจะมีการผลิตล้อยางไม่ต่ำกว่า 135 ล้านเส้น
ในการผลิตยางล้อนั้นในอดีตนิยมใช้ยางแผ่นในการผลิต โดยยางแผ่นที่ใช้เป็นยางแผ่นคุณภาพต่ำ(ยางแผ่นเกรด 3 ซึ่งเป็นยางแผ่นเกรดที่ไทยสามารถผลิตได้มากที่สุด) แต่ในปัจจุบันเริ่มมีการเปลี่ยนมาใช้ยางแท่งในการผลิตยางรถยนต์มากขึ้น เนื่องจาก โรงงานผลิตยางรถยนต์สมัยใหม่สามารถใช้ทั้งยางแท่งและยางแผ่นรมควันเป็นวัตถุดิบ ต่างจากเทคโนโลยีสมัยเก่าที่เน้นการใช้ยางแผ่นรมควันมากกว่า การเติบโตของอุตสาหกรรมล้อยางนี้ขึ้นอยู่กับ 2 องค์ประกอบหลักคือ นโยบายทางด้านคมนาคมของจีนทีเกี่ยวกับการสร้างถนนเชื่อมโยงโดยเฉพาะระหว่างเมืองและมณฑลต่าง ๆ และนโยบายสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์เพื่อให้เป็นพาหนะของประชาชนที่มีอำนาจในการซื้อ
เรียบเรียงโดย : เครื่องรีดยาง
จีนมีความต้องการยางธรรมชาติเป็นจำนวนมากในการผลิตยางล้อที่มีทั้ง ยางรถจักรยานยนต์ ยางรถจักรยาน และยางรถยนต์ ส่วนผลิตภัณฑ์ยางมียางรัดของ ท่อยาง รองเท้ายาง และยางรัดกางเกงหรือชุดชั้นใน ซึ่งการผลิตผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดต้องการวัตถุดิบต่างกัน คือ
- ยางแท่งและยางแผ่น ใช้ในการผลิตยางล้อ เป็นส่วนประกอบใน mold เพื่อผลิตส่วนประกอบรถยนต์ และ consumer product เช่น ขอบประตู หน้าต่าง ยางรองคอสะพาน เป็นต้น
- น้ำยางข้น ใช้ในการผลิต ถุงมือยาง พื้นรองเท้า หมอน ฟูก กาว เป็นต้น
การใช้ยางธรรมชาติเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ยางทั้งหมดของจีนนั้นแบ่งได้เป็น 2 ตลาดหลัก คือ ตลาดเพื่อใช้ในการทำท่อยาง และตลาดเพื่อใช้ในการทำยางล้อ โดยสามารถแบ่งได้เป็นยางล้อจำนวนร้อยละ 60 ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 40 เป็นยางอื่นๆ เช่น ท่อยาง เทปยาง สายยางปะเก็นน้ำมัน และยางแท่นกันสะเทือน เป็นต้น
การใช้ยางธรรมชาติในอุตสาหกรรมท่อยาง เมื่อเทียบระหว่างตลาดอุตสาหกรรมยานยนต์และตลาดเพื่อทำท่อยางจะพบว่า ตลาดยางธรรมชาติเพื่อใช้ในการทำท่อยางมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยในปี 2543 จีนมีความต้องการใช้ท่อยางจำนวน 170 ล้านเมตร และมีการคาดการณ์ว่าจะมีการใช้ท่อยาง 178 ล้านเมตรในปี 2545 คิดเป็นการเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 2.3 ต่อปี ซึ่งการพัฒนาอุตสาหกรรมท่อยางของจีนในปัจจุบันจะเน้นการพัฒนาท่อยางเจาะน้ำมันที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดใหญ่ ท่อยางแรงดันสูง และท่อยางที่ใช้ในรถยนต์
การใช้ยางธรรมชาติในอุตสาหกรรมการผลิตยางล้อในจีน จีนมีความต้องการยางธรรมชาติเป็นจำนวนมากในการผลิตยางล้อที่ประกอบด้วย ยางรถจักรยานยนต์ ยางรถจักรยาน และยางรถยนต์ โดยยางรถยนต์แยกเป็นยางรถบรรทุก ยางรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ยางรถที่ใช้ในการเกษตร และยางล้อเครื่องบิน ซึ่งปัจจุบันจีนสามารถผลิตยางยานพาหนะได้มากกว่า 1,200 ชนิด โดยมีมาตรฐานถึง 8,500 มาตรฐาน ซึ่งมณฑลที่มีการผลิตยางล้อมากที่สุดในปี 2538 อยู่ที่ Shandong คิดเป็นร้อยละ 45.2 ของการผลิตยางล้อทั้งประเทศ รองลงมา คือ มณฑลกวางตุ้งร้อยละ 15.8 เซี่ยงไฮ้ ร้อยละ 13.4 ฟูเจียนร้อยละ 13.1 เจียงซู ร้อยละ 10.6 ยูนนานร้อยละ 1.5 และไหหลำร้อยละ 0.4 ในปี 2539 จีนมีโรงงานผลิตยางล้อรถประมาณ 300 โรง และใช้ยางในการผลิตยางล้อจำนวนทั้งสิ้น 957,000 ตัน ปี 2543 มีการใช้เพิ่มขึ้นเป็น 1 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ยจากปี 2539 ปีละ 6% โดยเป็นการผลิตยางล้อทั้งสิ้น 60.6 ล้านเส้นในปี 2539 ในขณะที่ปี 2540 ผลิตได้ 69 ล้านเส้น ปี 2543 ผลิตได้ 80 ล้านเส้น ซึ่งสามารถแบ่งเป็นยางแต่ละประเภท ดังนี้
จีนผลิตยางรถจักรยานได้ 16 ล้านเส้นในปี 2539 โดย ปี 2543 ผลิตได้ 45 ล้านเส้น ในขณะที่ในปี 2539 ผลิตยางรถจักรยานยนต์ได้ 120 ล้านเส้น และเพิ่มเป็น 220 ล้านเส้นในปี 2543 มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยปีละ 7-8 % ในด้านของยางเรเดียล ปี 2539 จีนผลิตได้ 9.9 ล้านเส้นหรือคิดเป็น ร้อยละ 15 ของการผลิตยางล้อทั้งหมด โดยในปี 2540 เพิ่มเป็น 12.8 ล้านเส้น และในปี 2543สัดส่วนการผลิตยางเรเดียลจะเพิ่มขึ้นเป็น
ร้อยละ 35 ซึ่งถือว่ามีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว เพราะการขยายตัวของการลงทุนจากบริษัทผลิตยางเรเดียลของจีนเองและจากต่างประเทศ เช่น บริดจสโตน มิชลิน และกู๊ดเยียร์ ในปี 2543 -2544 จำนวนรถยนต์ของจีนเพิ่มขึ้น 2.3 ล้านคัน โดยเป็นรถโดยสาร 1.25-1.28 ล้านคัน โดยเป็นการใช้ยางรถโดยสารเพิ่มขึ้น 60.3 ล้านเส้น และยางเรเดียล 40 ล้านเส้น และจากสถิติของ International Rubber Study Group ดังตารางที่ 20 พบว่าจีนมีการผลิตยางรถยนต์ซึ่งรวมทั้งรถส่วนตัวและรถบรรทุกจำนวน 121.60 ล้านเส้นในปี 2543 ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นใน 3 ไตรมาสแรกของปี 2544 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2543 ด้วย และในปี 2544 มีการประมาณการว่าจะมีการผลิตล้อยางไม่ต่ำกว่า 135 ล้านเส้น
ในการผลิตยางล้อนั้นในอดีตนิยมใช้ยางแผ่นในการผลิต โดยยางแผ่นที่ใช้เป็นยางแผ่นคุณภาพต่ำ(ยางแผ่นเกรด 3 ซึ่งเป็นยางแผ่นเกรดที่ไทยสามารถผลิตได้มากที่สุด) แต่ในปัจจุบันเริ่มมีการเปลี่ยนมาใช้ยางแท่งในการผลิตยางรถยนต์มากขึ้น เนื่องจาก โรงงานผลิตยางรถยนต์สมัยใหม่สามารถใช้ทั้งยางแท่งและยางแผ่นรมควันเป็นวัตถุดิบ ต่างจากเทคโนโลยีสมัยเก่าที่เน้นการใช้ยางแผ่นรมควันมากกว่า การเติบโตของอุตสาหกรรมล้อยางนี้ขึ้นอยู่กับ 2 องค์ประกอบหลักคือ นโยบายทางด้านคมนาคมของจีนทีเกี่ยวกับการสร้างถนนเชื่อมโยงโดยเฉพาะระหว่างเมืองและมณฑลต่าง ๆ และนโยบายสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์เพื่อให้เป็นพาหนะของประชาชนที่มีอำนาจในการซื้อ
เรียบเรียงโดย : เครื่องรีดยาง
การผลิตยางพาราของจีนในปี 2539 ให้ผลผลิต 163 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งประสิทธิภาพการผลิตก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงปี 2542 ที่ได้ผลผลิต 187.6 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 15 ภายใน 4 ปี แต่ในปี 2543 ประสิทธิภาพการผลิตยางพาราของจีนลดลงเป็น ได้ผลผลิต 182.8 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งลดลงร้อยละ 2.6 ส่วนในปี 2544 จีนสามารถผลิตยางพาราได้ 185.7 กิโลกรัมต่อไร่ แต่ก็ยังน้อยกว่าผลผลิตต่อไร่ที่ได้ในปี 2542 ซึ่งเมื่อเทียบกับผลผลิตต่อไร่ของไทยที่ได้ผลผลิตประมาณ 247 กิโลกรัมต่อไร่ในปี 2544 แล้ว จะพบว่าไทยมีประสิทธิภาพในการผลิตยางพารามากกว่าจีนค่อนข้างมาก และการผลิตยางธรรมชาติในจีนก็มีต้นทุนการผลิตสูง
สาเหตุที่จีนมีต้นทุนการผลิตยางธรรมชาติสูง เนื่องจากสาเหตุหลายประการ ได้แก่
1. พื้นที่ปลูกยางธรรมชาตี่สำคัญของจีน คือ ที่เกาะไหหลำและเขตสิบสองปันนา (Xishuangbanna) ในยูนนานอยู่ในบริเวณที่บางครั้งต้องประสบกับภาวะอุณหภูมิไม่เหมาะสมกับการเติบโตของยางทำให้กว่าที่ยางจะโตจนกรีดเอาน้ำยางได้ยาวนานกว่าปกติที่กินเวลา 5 – 6 ปี เป็น 7 – 8 ปี ดังตารางที่ 18 ทำให้เสียโอกาสการหารายได้จากการปลูกพืชชนิดอื่น
2. มีโอกาสสูงที่จะไม่ได้ผลตอบแทนจากการปลูกยาง เนื่องจากต้นยางถูกโค่นล้มจากลมพายุ ต้นยางตายจากสภาพน้ำค้างแข็งตั้งแต่ยังไม่ให้ผลผลิต หรือยางที่เก็บได้เสียหายจากอากาศหนาว โดยเฉพาะในบริเวณเขตสิบสองปันนา (Xishuangbanna) ที่เพิ่งพบกับสภาพอากาศหนาวมากในปี 2542 ถึง 2543
3.โครงสร้างพื้นฐานที่เชื่อมโยงพื้นที่ปลูกยางทุกที่กับโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้ยางเป็นวัตถุดิบขาดความพร้อมและค่าขนส่งยางไปขายในส่วนอื่นๆของจีนก็แพง
4. ที่เขตสิบสองปันนา (Xishuangbanna) ในยูนนาน สามารถกรีดยางได้เพียงปีละ 7 เดือนน้อยกว่าที่เกาะไหหลำที่สามารกรีดยางได้ 9 – 10 เดือน
5. การผลิตยางของจีนยากที่จะรักษาคุณภาพให้สม่ำเสมอ เนื่องจากมีวิธีการเก็บน้ำยางแตกต่างกันไป และต้องขนส่งเป็นระยะทางไกลกว่าจะถึงโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปยาง โรงงานทำล้อยางส่วนใหญ่จะอยู่ที่เซียงไฮ้และต้าเหลียน ซึ่งห่างไกลออกไปมากจากแหล่งยางธรรมชาติของจีน
เรียบเรียงโดย : เครื่องรีดยาง
สาเหตุที่จีนมีต้นทุนการผลิตยางธรรมชาติสูง เนื่องจากสาเหตุหลายประการ ได้แก่
1. พื้นที่ปลูกยางธรรมชาตี่สำคัญของจีน คือ ที่เกาะไหหลำและเขตสิบสองปันนา (Xishuangbanna) ในยูนนานอยู่ในบริเวณที่บางครั้งต้องประสบกับภาวะอุณหภูมิไม่เหมาะสมกับการเติบโตของยางทำให้กว่าที่ยางจะโตจนกรีดเอาน้ำยางได้ยาวนานกว่าปกติที่กินเวลา 5 – 6 ปี เป็น 7 – 8 ปี ดังตารางที่ 18 ทำให้เสียโอกาสการหารายได้จากการปลูกพืชชนิดอื่น
2. มีโอกาสสูงที่จะไม่ได้ผลตอบแทนจากการปลูกยาง เนื่องจากต้นยางถูกโค่นล้มจากลมพายุ ต้นยางตายจากสภาพน้ำค้างแข็งตั้งแต่ยังไม่ให้ผลผลิต หรือยางที่เก็บได้เสียหายจากอากาศหนาว โดยเฉพาะในบริเวณเขตสิบสองปันนา (Xishuangbanna) ที่เพิ่งพบกับสภาพอากาศหนาวมากในปี 2542 ถึง 2543
3.โครงสร้างพื้นฐานที่เชื่อมโยงพื้นที่ปลูกยางทุกที่กับโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้ยางเป็นวัตถุดิบขาดความพร้อมและค่าขนส่งยางไปขายในส่วนอื่นๆของจีนก็แพง
4. ที่เขตสิบสองปันนา (Xishuangbanna) ในยูนนาน สามารถกรีดยางได้เพียงปีละ 7 เดือนน้อยกว่าที่เกาะไหหลำที่สามารกรีดยางได้ 9 – 10 เดือน
5. การผลิตยางของจีนยากที่จะรักษาคุณภาพให้สม่ำเสมอ เนื่องจากมีวิธีการเก็บน้ำยางแตกต่างกันไป และต้องขนส่งเป็นระยะทางไกลกว่าจะถึงโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปยาง โรงงานทำล้อยางส่วนใหญ่จะอยู่ที่เซียงไฮ้และต้าเหลียน ซึ่งห่างไกลออกไปมากจากแหล่งยางธรรมชาติของจีน
เรียบเรียงโดย : เครื่องรีดยาง
ปริมาณการผลิตยางธรรมชาติ นับตั้งแต่ปี 2492 เป็นต้นมาจีนผลิตยางพาราได้ 199 ตัน ก่อนเพิ่มเป็นถึง 35,562 ตันในปี 2522 ผลผลิตยางพาราของจีนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตั้งแต่ปี 2522 ที่ผลิตได้ถึง 111,693 ตัน จนปี 2525 จีนผลิตยางได้ทั้งสิ้น 140,000 ตัน ส่วนในปี 2526 การผลิตยางพาราของจีนส่วนใหญ่ยังอยู่ที่เกาะไหหลำ คือ ประมาณ 110,000 ตัน รัฐบาลจีนได้พยายามเพิ่มผลผลิตยางพาราโดยขอกู้เงินจากธนาคารโลก จำนวน 100 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2526 โดยมีเป้าหมายจะเพิ่มผลผลิตให้ได้ 560,000 – 600,000 ตันในปี 2543 ซึ่งส่งผลทำให้ ในปี 2532 หลังจากดำเนินการตามแผนได้ 6 ปี จีนสามารถผลิตยางพาราได้เป็น 2 เท่า คือ 242,453 ตัน ต่อมาในปี 2533 จีนมีผลผลิตยางพารารวม 260,850 ตัน และเพิ่มเป็น 430,000 ตันในปี 2539 หลังจากปี 2539 เป็นต้นมา จีนสามารถผลิตยางพาราเพิ่มขึ้นปีละประมาณ 15,000-20,000 ตันทุกปี ในช่วงปี 2540-2543 ทำให้ปี 2543 จีนสามารถผลิตยางพาราได้ 478,000 ตัน ซึ่งน้อยกว่าที่ทางการจีนตั้งเป้าหมายไว้ที่ 560,000 – 600,000 ตัน ตามโครงการเพิ่มผลผลิตยางพาราในประเทศ ส่วนในปี 2544 การผลิตยางพาราของจีนเพิ่มขึ้นเป็น 486,000 ตัน ซึ่งเพิ่มขึ้นเพียง 8,000 ตันจากปีก่อน คิดเป็นเพียงร้อยละ 1.7 เท่านั้น และคิดเป็นประมาณร้อยละ 7 ของปริมาณผลผลิตที่ผลิตได้ทั่วโลก (ตามข้อมูลในตารางที่ 10 ) โดยในปี 2544 จีนมีการผลิตยางธรรมชาติมากเป็นอันดับ 5 ของโลกรองจาก ไทย อินโดนีเซีย อินเดียและ
มาเลเซีย
เรียบเรียงโดย : เครื่องรีดยาง
เรียบเรียงโดย : เครื่องรีดยาง