การเลือกพันธุ์และการเตรียมดินปลูกยาง || เครื่องรีดยางพาราเครื่องรีดยาง, เครื่องรีดยางพารา, เครื่องรีดยางเครป, เครื่องรีดยางแผ่น, เครื่องทำยางเครป

การเลือกพันธุ์และการเตรียมดินปลูกยาง


การปลูก ยางพารา 
               นับตั้งแต่ปี 2534 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยได้ก้าวขึ้นเป็นผู้ผลิตและส่งออกยางพาราเป็นอันดับ 1 ของโลก จากการสำรวจเมื่อปี 2537 พบว่า มีพื้นที่ปลูกยางพาราประมาณ 11.9 ล้านไร่ ผลิตยางได้ 1.72 ล้านตัน สามารถส่งออกขายยังต่างประเทศได้ถึง 1.6 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 41,352 ล้านบาท ดังนั้น ยางพาราจึงเป็นพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ สามารถนำรายได้เข้าสู่ประเทศได้มากพืชหนึ่ง และเพื่อเป็นการรักษาสภาพการผลิตและการส่งออกไม่ให้ลดต่ำกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เกษตรกรผู้ปลูกยางจึงควรมีความรู้และมีการปฏิบัติดูแลปรับปรุงสวนยางให้ดี เพื่อให้ได้ผลผลิตสูงสม่ำเสมอและมีคุณภาพ

พันธุ์ยางที่แนะนำสำหรับเกษตรกรทั่วไป
สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร ได้ออกคำแนะนำพันธุ์ยางปี 2536 สำหรับเกษตรกรทั่วไปไว้ดังนี้
พันธุ์ยางชั้น 1 ได้แก่ ยางพันธุ์ดีแนะนำให้เกษตรกรปลูกโดยไม่จำกัดพื้นที่ปลูก
พันธุ์ยางชั้น 2 ได้แก่ ยางพันธุ์ดี แนะนำให้เกษตรกรปลูกโดยจำกัดพื้นที่ปลูก ปลูกได้ไม่เกินร้อยละ 30 ของพื้นที่ปลูกยางที่ถือครองแต่ละพันธุ์ควรปลูกไม่น้อยกว่า 7 ไร่
พันธุ์ยางชั้น 3 ได้แก่ ยางพันธุ์ดี แนะนำให้เกษตรกรปลูกโดยกำจัดพื้นที่ปลูก ปลูกได้ไม่เกินร้อยละ 20 ของพื้นที่ปลูกยางที่ถือครองแต่ละพันธุ์ควรปลูกไม่น้อยกว่า 7 ไร่

พันธุ์ยางที่แนะนำให้ปลูกในแหล่งปลูกยางเดิม (ภาคใต้และภาคตะวันออก)
พันธุ์ยางชั้น 1 BPM 24, สงขลา 36 2/, RRIM 600, GT 1, PR 255, PR 261
พันธุ์ยางชั้น 2 PB 217, RRIC 110, RRIC 100, PB 260, PB 255, PB 235
พันธุ์ยางชั้น 3 KRS 251, PR 305, PR 302, RRIC 101, BPM 1, RRIM 712, KRS 250, KRS 226, KRS 225, KRS 218, PB 311, RRIC 121

พันธุ์ยางที่แนะนำให้ปลูกในแหล่งปลูกยางใหม่ (ภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
พันธุ์ยางชั้น 1 RRIM 600, GT 1, สงขลา 36, BPM 24, PR 255
พันธุ์ยางชั้น 2 PB 235, PB 260

ความเตรียมพื้นที่ปลูกยาง
               ในพื้นที่ที่เป็นสวนยางเก่า ป่า หรือมีไม้ยืนต้นอื่นขึ้นอยู่จะต้องโค่นไม้เหล่านั้นเสียก่อน การโค่นจะใช้วิธีตัดต้นไม้ให้เหลือตอสูง 40-50 เซนติเมตร แล้วทำลายตอไม้เหล่านั้นให้ผุสลายในภายหลัง โดยใช้สารเคมีไทรโคลเปอร์ หรือการ์ลอน 4 (ชื่อการค้า) ในอัตรา 5 ซี.ซี. ผสมน้ำ 95 ซี.ซี. ต่อตอ โดยทาก่อนหรือหลังตัดต้นไม้ 1-7 วันก็ได้ หรือจะใช้รถแทรกเตอร์ไถต้นไม้ออกจากแปลงให้หมดก็ได้เช่นกัน หลังจากโค่นต้นยางเก่า หรือต้นไม้อื่นๆ แล้วต้องเก็บไม้ใหญ่ออก จากนั้นเก็บเศษไม้รวมเป็นกองๆ เรียงเป็นแนวตามพื้นที่ ตากให้แห้ง ทำแนวกันไฟแล้วเผา หลังจากเผาเสร็จควรเก็บปรนที่ยังไหม้ไม่หมดรวมกันเผาอีกครั้ง

เครื่องจักรที่เกี่ยวข้องกับ ยางพารา
               หลังจากที่ได้ผลผลิตเีกี่ยวกับการปลูกยางแล้ว แล้วนำยางที่ได้มาแปรรูป เครื่องจักรที่มีส่วนเกี่ยวข้องการมีบทบาทที่สำคัญ อาทิเช่น เครื่องรีดยาง เครื่องรีดยางพารา จักรรีดยาง เครื่องรีดยางเครป เป็นต้น  ซึ่ง เครื่องจักรเหล่านี้ อาจมีราคาที่สูง ยกตัวอย่างเช่น เครื่องรีดยาง และ เครื่องรีดยางเครป ราคาเริ่มต้นที่  190,000 บาท แต่ผู้ประกอบการที่ลงทุนในการนำยางพารามาแปรรูปเพื่อขายต่อก็ต้องยอมลงทุนในส่วนนี้ 

Related Articels

Copyright © 2011 บริษัท เอเซียเกียร์ริ่ง จำกัด รับสร้าง ผลิตและจำหน่าย เครื่องรีดยาง เครื่องรีดยางพารา | รายละเอียดเพิ่มเติมโทร 088-202-0410