วันยางพาราบึงกาฬ 2012 ยกระดับชาวสวน สู่ศูนย์กลางยางแห่งแดนอีสาน || เครื่องรีดยางพาราเครื่องรีดยาง, เครื่องรีดยางพารา, เครื่องรีดยางเครป, เครื่องรีดยางแผ่น, เครื่องทำยางเครป

วันยางพาราบึงกาฬ 2012 ยกระดับชาวสวน สู่ศูนย์กลางยางแห่งแดนอีสาน

วันยางพาราบึงกาฬ 2012 ยกระดับชาวสวน สู่ศูนย์กลางยางแห่งแดนอีสาน



ข่าววันนี้ : เครื่องรีดยาง , เครื่องรีดยางพารา


               ด้วยความพยายามกว่า 20 ปี ในการขยับขยายพื้นที่การปลูก " ยางพารา " ไปสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยหน่วยงานรัฐบาล อาทิ กรมส่งเสริมการเกษตร, สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง, สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม, สำนักงานเกษตรจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับท้องถิ่น ตลอดจนภาคเอกชน ที่ร่วมกันส่งเสริมอย่างแข็งขัน ส่งผลให้ทุกวันนี้การปลูกยางพาราในภาคอีสานเจริญเติบโตและออกดอกออกผลงดงาม  โดยเฉพาะ "บึงกาฬ" จังหวัดน้องใหม่ ซึ่งกำลังจะกลายเป็นเมืองหลวงยางพาราแห่งภาคอีสาน   พื้นที่ โดยรวมในจังหวัดบึงกาฬมีอยู่ราว 2.7 ล้านไร่ เป็นพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมด 1.6 ล้านไร่ ในจำนวนนี้เป็นพื้นที่ปลูกยางพาราที่ขึ้นทะเบียนไว้กับสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง จำนวน 8 แสนไร่และที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนอีกประมาณ 4 แสนไร่ รวมทั้งสิ้น 1.2 ล้านไร่  นับเป็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ราคาที่ดินพุ่งขึ้นสู่หลักหมื่นบาทต่อไร่  จากเดิมที่เพียงไม่กี่พันบาทเท่านั้น  สาเหตุที่ทำให้การปลูกยางพาราใน จ.บึงกาฬ ขยายตัวอย่างรวดเร็ว  ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสภาพภูมิประเทศที่อยู่ในร่องมรสุมจากอ่าวตังเกี๋ยซึ่งพัดเอา ฝนเข้ามา ส่งผลให้มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 2,000-2,300 มิลลิเมตรต่อปี ประกอบกับได้รับความชื้นจากแม่น้ำโขงตลอดแนว รวมทั้งสภาพดินริมแม่น้ำโขงซึ่งเป็นแหล่งสะสมของปุ๋ยธรรมชาติที่พัดมากับน้ำ และตกตะกอน  ทำให้พื้นที่นี้มีความชื้น เหมาะแก่การปลูกพืชทุกชนิด แม้แต่ในฤดูแล้งที่สำคัญ การปลูกยางพาราเป็นช่องทางใหม่ที่ทำให้เกษตรกรชาวสวนยางและผู้ประกอบการสามารถพึ่งตนเองได้ มีรายได้ที่ดีขึ้น  มีบ้านหลังใหม่ มีรถขับ และมีเงินที่จะส่งเสียให้ลูกหลานให้มีการศึกษาที่ดี จึงไม่น่าแปลกใจที่ชาวบึงกาฬหันมาปลูกยางพารากว่า 52,000 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 60 ของจำนวนประชากรทั้งหมด

               ด้วยเหตุนี้ จังหวัดบึงกาฬ จึงจับมือกับกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และบริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) ร่วมกันจัดงาน "วันยางพาราบึงกาฬ 2012 (Rubber Day 2012)" ขึ้น โดยมีผู้ให้การสนับสนุนอีกมากมาย  ในวันประกาศความพร้อม การจัดงานที่จะมีขึ้น พินิจ จารุสมบัติ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นหนึ่งในเกษตรกร  ผู้ปลูกยางพาราในจังหวัดบึงกาฬ ได้มาร่วมเล่าประสบการณ์ปลูก ยางพารา และได้เป็นแบบอย่างให้ชาวบึงกาฬในการทำสวนยางพารามากว่า 15 ปี  อดีต รองนายกรัฐมนตรี บอกว่า สิ่งสำคัญซึ่งเป็นหัวใจในการจัดงาน "วันยางพาราบึงกาฬ 2012" คือเรื่องนวัตกรรมที่จะให้ความรู้และยกระดับเกษตรกร โดยความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่มีภูมิปัญญาในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเกษตรกร, กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์,  ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์, บริษัทผู้จัดจำหน่ายเครื่องจักร  และเทคโนโลยีการเกษตร ตลอดจนเครือมติชนซึ่งมีนิตยสาร "เทคโนโลยี  ชาวบ้าน" ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการเกษตรโดยตรง  "ปัจจุบัน ไทยเป็นผู้ส่งออกยางพาราเป็นอันดับหนึ่งของโลก โดยมีอินโดนีเซียและมาเลเซีย เป็นอันดับ 2 และ 3 แต่ผลผลิตต่อไร่ต่อปีของไทยยังเป็นรองมาเลเซีย ซึ่งมีอัตราผลผลิตอยู่ที่ 310 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี ส่วนของเราอยู่ที่ 285 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี คำถามสำคัญคือ ทำอย่างไรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ"  เป็นคำถามชวนคิด ที่น่าร่วมกันค้นหาคำตอบ

               พินิจ กล่าวอีกว่า ขณะนี้การกำหนดราคายางขึ้นอยู่กับตลาดโลก ไม่มีใครสามารถทำการผูกขาดได้ ทุกวันนี้ กล้ายางพาราไทยส่งออกไปยังบริษัทชั้นนำไม่ว่าจะเป็น บริดจสโตน, มิชลิน หรือกูดเยียร์ เพราะฉะนั้น การจัดงานวันยางพาราจึงเป็นโอกาสอันดีที่จะส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเพื่อ สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับการปลูกยางพาราโดยอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน  "ถ้าเราให้ความรู้ความเข้าใจ ช่วยกันวิจัยแล้วพัฒนาจะทำให้คุณค่าเพิ่มสูงขึ้น วันนี้ ธ.ก.ส.เข้ามาช่วยในเรื่องวิสาหกิจชุมชน อัพเกรดจากยางก้อนถ้วยไปทำเป็นยางแผ่น แทนที่จะได้ยางก้อนถ้วยกิโลละ 41-42 บาท  แต่ ยางแผ่นดิบอบได้ 79 บาท เราจะหยุดอยู่แค่นี้ไม่ได้ ต้องพัฒนาไปถึงระดับสินค้าสำเร็จรูป (Finished Product) เช่น ที่รองโต๊ะ-เก้าอี้  "ความฝันของเราที่จะมีโรงงานยางรถยนต์ที่บึงกาฬ อันนี้ต้องมีแน่ ไม่ต้องห่วง จึงขอเชิญชวนผู้ที่สนใจเรื่องยางพารามาร่วมงาน งานนี้มีแต่ได้กับได้ ใครไม่มางานนี้แสดงว่าไม่ใช่ชาวสวนยาง" พินิจกล่าว  ความตื่นตัวในการ ปลูก ยางพารา ไม่ได้มีเฉพาะแต่ในภาคอีสานเท่านั้น แต่ประเทศเพื่อนบ้านอย่าง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ก็ตื่นตัวไม่แพ้กัน คาดว่างานนี้จะมีชาวลาวเข้ามาร่วมงานเป็นจำนวนมาก

               สงกรานต์ คำพิไสย์ กรรมการองค์การสวนยาง กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ กล่าวว่า เกษตรกรทั้งในประเทศไทยและลาวมีความสนใจที่จะเข้าร่วมงาน เพราะจะได้รับความรู้ตั้งแต่เริ่มปลูก คนที่อยากปลูกก็จะได้รู้ว่าควรเลือกพันธุ์ไหนไปปลูก คนที่ปลูกอยู่แล้วก็จะได้รู้ว่าจะบำรุงรักษาต้นยางอย่างไร ต้องใช้ปุ๋ยหรือวัตถุดิบอะไรเพื่อให้ยางเจริญงอกงาม คนที่ยางโตแล้วจะกรีด ก็จะได้เรียนรู้ว่าควรกรีดอย่างไร ส่วนคนที่ได้กรีดแล้ว ก็จะมีตัวเลือกว่าจะแปรรูปยางเป็นอะไร เป็นยางแผ่น ยางก้อนถ้วย หรือยางเครป  "การ ทำสวนยางเป็นอาชีพหนึ่งที่คนรับจ้างได้ส่วนแบ่งมากกว่าเจ้าของกิจการ ส่วนใหญ่เขาจะแบ่งรายได้ 40:60 เจ้าของได้ 60 เปอร์เซ็นต์ คนรับจ้างได้ 40 เปอร์เซ็นต์ แต่จริงๆ แล้ว เจ้าของลงทุนซื้อที่ดิน ลงทุนปลูก ลงทุนบำรุงรักษามา 7 ปี เท่ากับว่าเจ้าของสวนได้ 40 เปอร์เซ็นต์ คนกรีดได้ 60 เปอร์เซ็นต์ ถือเป็นการกระจายรายได้ ชาวบ้านลืมตาอ้าปากและได้ประโยชน์มากที่สุด" สวกรานต์กล่าว

               มาถึง ธงชัย ลืออดุลย์ พ่อเมืองจังหวัดน้องใหม่อย่างบึงกาฬ  ธง ชัยบอกว่า งานวันยางพาราบึงกาฬจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 แล้ว ภายในงานจะมีการให้ความรู้ทางด้านวิชาการแก่เกษตรกรและการจัดสัมมนาทาง วิชาการ ตั้งแต่กระบวนการผลิตไปจนถึงกระบวนการขายและการตลาด นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมความบันเทิงโดยศิลปินชื่อดังจากค่ายแกรมมี่โกลด์ ถือเป็นงานใหญ่ประจำจังหวัดบึงกาฬที่ผู้เข้าชมจะได้ทั้งความรู้และความสุข  "เรา คาดว่า ในอนาคตจังหวัดบึงกาฬจะเป็นจังหวัดที่จะพัฒนาการปลูกยางพาราให้เป็น อุตสาหกรรม ยางพารา ครบวงจร ทั้งด้านการผลิตยางรถยนต์ รวมถึงการขนส่งและระบบโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพ จากการสร้างสะพานมิตรภาพแห่งที่ 5 เชื่อมต่อไปยังเมืองปากซันในประเทศลาว ซึ่งน่าจะแล้วเสร็จภายในปี พ.ศ.2558 เปิดเส้นทางการขนส่งไปยังท่าเรือเมืองวิน ประเทศเวียดนาม ก่อนจะส่งออกไปสู่ประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้" พ่อเมืองบึงกาฬกล่าว

               ทั้งนี้ งานจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 13-16 ธันวาคม พ.ศ.2555 ตั้งแต่เวลา 11.00-23.00 น. ณ ศาลากลางจังหวัดบึงกาฬ  ภายในงานมีกิจกรรมน่าสนใจมากมาย อาทิ นิทรรศการ "ในหลวงกับจังหวัดบึงกาฬ ราชาแห่งเกษตรกรรม", กิจกรรมส่งเสริมความรู้และอาชีพ  ทั้ง ในรูปแบบการแข่งขันและการสาธิตต่างๆ อาทิ การประกวดสวนยางสวยงาม, การประกวดยางแผ่น, มุม "คลินิกยาง" เพื่อให้คำปรึกษาเกษตรกร นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ด้านการเกษตร  จากบริษัทชั้นนำต่างๆ รวมทั้งกิจกรรมความบันเทิงจากศิลปินชื่อดัง อาทิ  นกน้อย อุไรพร, ไผ่-พงศธร, ปู-พงษ์สิทธิ์, ศิริพร อำไพพงษ์ เป็นต้น  งานนี้ต้องบอกว่าพลาดไม่ได้ด้วยประการทั้งปวง!

ปิยะชาติ มงคลไชยสิทธิ์

               กรรมการผู้จัดการ บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน)  "เรา มุ่งหวังที่จะเป็นสื่อช่วยเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับยางพารา ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญที่สร้างรายได้หลักเข้าสู่ประเทศ ตลอดจนเป็นการตอบสนองนโยบายของรัฐบาลในการช่วยผลักดันขับเคลื่อนการพัฒนาบึง กาฬสู่การเป็นหนึ่งในเมืองอุตสาหกรรมยางพารา เพื่อร่วมเสริมสร้างเศรษฐกิจของภาคอีสานและของประเทศไทยต่อไปในอนาคต"

ลักษณ์ วจนานวัช

               ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ฯ  "จังหวัด บึงกาฬถือเป็นเมืองหลวงของยางพาราแห่งภาคอีสาน มีการรวมตัวของเกษตรกรทั้งในระดับวิสาหกิจชุมชนและสหกรณ์กว่า 80 กลุ่ม และในภาพรวมนั้นมีห่วงโซ่ของการผลิต ยางพารา ที่ครบวงจรทั้งการผลิต การแปรรูป และการตลาด ซึ่ง ธ.ก.ส.ได้วางยุทธศาสตร์สนับสนุนเงินทุนให้แก่ทุกกลุ่ม ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เพื่อต่อยอดและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอุตสาหกรรมยางพาราที่กำลังขยายตัวได้"

ชัชวาลย์ ชัยเชาวรัตน์

               ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  "ตั้งแต่ ประมาณปี พ.ศ.2530 ที่เราได้เริ่มบุกเบิกการปลูก ยางพารา ที่จังหวัดหนองคาย มาถึงวันนี้ อยากจะให้พี่น้อง โดยเฉพาะในอีก 19 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้มาดูต้นแบบที่บึงกาฬว่าเขาทำอย่างไรถึง ประสบความสำเร็จ สามารถพัฒนาชีวิตของเกษตรกรให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีรายได้ที่มั่นคง ผมเชื่อมั่นว่าในอนาคตยางพาราจะเป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจสำคัญของชาวอีสาน"

Related Articels

Copyright © 2011 บริษัท เอเซียเกียร์ริ่ง จำกัด รับสร้าง ผลิตและจำหน่าย เครื่องรีดยาง เครื่องรีดยางพารา | รายละเอียดเพิ่มเติมโทร 088-202-0410