อินโดนีเซีย ภาพรวมอุตสาหกรรมยางพาราของโลก || เครื่องรีดยางพาราเครื่องรีดยาง, เครื่องรีดยางพารา, เครื่องรีดยางเครป, เครื่องรีดยางแผ่น, เครื่องทำยางเครป

อินโดนีเซีย ภาพรวมอุตสาหกรรมยางพาราของโลก

อินโดนีเซีย อินโดนีเซียมีการผลิตยางพาราประมาณ 1.6 – 1.7 ล้านตัน บนพื้นที่ปะมาณ 23 ล้านไร่ โดยในปี 2540 มีการผลิตยางพาราชนิดต่างๆ ตามสัดส่วน คือ มีการผลิตยางแท่งมากกว่า 88 % ของผลิตภัณฑ์ยางทั้งหมด รองลงมา คือยางแผ่นมากกว่า 4% ส่วนที่เหลือจึงเป็นการผลิตน้ำยางข้นและยางเครฟอย่างละเท่าๆกัน โดยยางแท่งที่ผลิตได้ส่วนใหญ่เป็นยางแท่งชั้น SIR 20 (ตามมาตรฐานอุตสาหกรรมของอินโดนีเซีย) ขณะที่ยางแผ่นส่วนใหญ่เป็นยางแผ่นชั้น 1 การบรรจุหีบห่อของผลิตภัณฑ์ยางของอินโดนีเซียทำได้ค่อนข้างดี คือ ร้อยละ 80 ของยางแท่งที่ผลิตได้ห่อด้วยพลาสติกแล้วใช้ไม้รองจึงไม่มีปัญหาเกี่ยวกับการเกิดแป้ง ส่วนยางแผ่นถูกอัดเป็นก้อนหนัก 33.3 หรือ 35 กิโลกรัม แล้วห่อด้วยพลาสติก ช่วยแก้ปัญหาด้านน้ำหนักและการเกิดแป้ง

ท่าเรือหลักที่ใช้ในการส่งออกยางพาราของอินโดนีเซีย คือ ท่าเรือเบลาวัน ปาเลมบัง จัมบี และ ปอนเตียแนค แต่ท่าเรือที่ดีที่สุดในการส่งออก คือ ท่าเรือเบลาวัน โดยการส่งออกยางพาราของอินโดนีเซียส่วนใหญ่จะถูกส่งผ่านไปยังสิงคโปร์ก่อน ทำให้สิงคโปร์มีบทบาทมากต่อการส่งออกยางพาราของอินโดนีเซีย คู่ค้าหลักของอินโดนีเซียคือ สหรัฐอเมริกาที่นำยางแท่งของอินโดนีเซียไปทำยางล้อ

การผลิตยางพาราของอินโดนีเซียจะอยู่ในบริเวณ ตอนเหนือและตอนใต้ของเกาะสุมาตรา จัมบี ริอู เกาะกาลิมันตัน ทางตะวันออกของอินโดนีเซียที่เรียกว่าเกาะเซราม และอาเรนจายา โดยในปี 2539 อินโดนีเซียมีพื้นที่ปลูกยางพารารวม 22 ล้านไร่ ส่วนใหญ่อยู่ทางตอนเหนือและใต้ของเกาะสุมาตรา ซึ่งให้ผลผลิต 75 % ของผลผลิตทั้งประเทศ รองลงมาคือบริเวณเกาะกาลิมันตันที่ให้ผลผลิต 20 % ขณะที่พื้นที่ปลูกยางทางตอนเหนือของเกาะสุมาตราและริอูกำลังมีการเปลี่ยนไปปลูกปาล์มแทน

ในปี 2540 โครงสร้างการปลูกยางของอินโดนีเซียส่วนใหญ่ประมาณ 84% เป็นสวนยางขนาดเล็กซึ่งมีส่วนแบ่งการผลิตยาง 78 % ซึ่งเป็นการปลูกยางแบบไม่เป็นระบบและเป็นยางพันธุ์พื้นเมือง การปลูกแทนด้วยยางพันธุ์ดีมีน้อย และรัฐยังดูแลไม่ทั่วถึง เนื่องจากขาดแคลนงบประมาณและปัญหาการเมืองภายใน การพัฒนาขึ้นมาเป็นผู้นำในการผลิตยางจึงทำได้ค่อนข้างยากในอนาคตจึงมีโครงการให้เกาะกาลิมันตันเป็นพื้นที่หลักในการปลูกยางแทนอย่างมีแผนการพัฒนาการปลูกยางที่ชัดเจน จากการแบ่งสวนยางออกเป็นสวนขนาดใหญ่และขนาดเล็ก โดยให้สวนยางขนาดใหญ่เป็นศูนย์กลางของสวนยางขนาดเล็กเพื่อพัฒนาตลาดและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต

เรียบเรียงโดย : เครื่องรีดยาง 

Related Articels

Copyright © 2011 บริษัท เอเซียเกียร์ริ่ง จำกัด รับสร้าง ผลิตและจำหน่าย เครื่องรีดยาง เครื่องรีดยางพารา | รายละเอียดเพิ่มเติมโทร 088-202-0410