ตลาดยางพารา || เครื่องรีดยางพาราเครื่องรีดยาง, เครื่องรีดยางพารา, เครื่องรีดยางเครป, เครื่องรีดยางแผ่น, เครื่องทำยางเครป

ตลาดยางพารา

ลักษณะตลาดยางพาราเป็นตลาดของผู้ซื้อ เนื่องจากมีผู้ซื้อจำนวนน้อยราย ขณะที่เกษตรกรหรือผู้ขายซึ่งมีจำนวนมากมาย และส่วนมากเป็นเจ้าของสวนยางขนาดเล็ก ตลาดภายในประเทศ ตลาดภายในประเทศ เกษตรกรชาวสวนยางจะขายยางในรูปของน้ำยางสด ยางแผ่นดิบและขี้ยาง ให้กับพ่อค้าคนกลางในท้องถิ่น จากนั้นพ่อค้าคนกลางจะนำยางไปขายให้กับตลาดกลางยางพารา โรงงานรมควันและโรงงานยางแผ่นผึ่งแห้ง หรือเกษตรกรนำยางไปขายให้กับตลาดกลางและโรงงานโดยตรง 

การกำหนดราคายาง ราคายางในประเทศถูกกำหนดจากตลาดหลักของโลก โดยเฉพาะตลาดสิงคโปร์และมาเลเซีย โดยผ่านผู้ซื้อรายใหญ่ต่างประเทศไม่กี่บริษัท กำหนดราคารับซื้อโดยใช้ราคา F.O.B. ของยางแผ่นรมควันชั้น 3 ที่คาดว่าจะขายได้ หักด้วยค่าใช้จ่ายในการส่งออก ค่าอากรขาออก และค่าสงเคราะห์การปลูกแทน 

ตลาดต่างประเทศ ตลาดยาง ที่สำคัญในต่างประเทศมี 6 ตลาด คือ ตลาดกัวลาลัมเปอร์ สิงคโปร์ ลอนดอน นิวยอร์ค และโอซาก้า  ซื้อขายทั้งยางธรรมชาติและยางสังเคราะห์ ปัจจุบันมีการซื้อขายผ่านตลาดกลางประมาณร้อยละ 30  เท่านั้น นอกนั้นเป็นการซื้อขายโดยตรง ระหว่างผู้ซื้อซึ่งมักเป็นโรงงานผลิตภัณฑ์ยาง เช่น ผู้ผลิตยางรถยนต์และยางอื่นๆ กับผู้ส่งออกยางพารา 

การส่งออกยางธรรมชาติของไทย ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา (2539 – 2543) การส่งออกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก 1.71 ล้านตัน ในปี 2539 เป็น 2.56 ล้านตัน ในปี 2543 เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 10.0 ต่อปี โดยในปี 2543 ยางแผ่นรมควันมีปริมาณส่งออกมากที่สุดจำนวน 1,123,149 ตัน คิดเป็นร้อยละ 43.8  รองลงมาคือ ยางแท่งจำนวน 853,852 ตัน ร้อยละ 33.3 และน้ำยางข้นจำนวน 430,174 ตัน ร้อยละ 16.7

ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทย ปี 2543 คือ ญี่ปุ่น สาธารณรัฐประชาชนจีน และ มาเลเซีย  โดยส่งออกไปญี่ปุ่นมากที่สุด จำนวน 480,566 ตัน คิดเป็นร้อยละ 18.9 รองลงมาคือ สาธารณรัฐประชาชนจีน จำนวน 452,231 ตัน ร้อยละ 17.8 และมาเลเซีย จำนวน 400,836 ตัน ร้อยละ 15.7 

ประเทศคู่แข่งที่สำคัญ ประเทศคู่แข่งที่สำคัญของไทย คือ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ซึ่งมีส่วนแบ่งในตลาดโลกปี 2542 ร้อยละ 32.4 และร้อยละ 9.4 ตามลำดับ ขณะที่ประเทศไทยมีส่วนแบ่ง ร้อยละ 39.9 ประเทศอินโดนีเซียมีการตั้งเป้าหมายจะเลื่อนอันดับมาเป็นประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติรายใหญ่ที่สุดของโลกแทนประเทศไทย ขณะที่มาเลเซียได้ลดพื้นที่ปลูกยางลงจากการขาดแคลนแรงงาน และหันมาสนับสนุนอุตสาหกรรมยางภายในประเทศ โดยเน้นการใช้ยางธรรมชาติที่ผลิตได้ในประเทศมากขึ้น 

การนำเข้า การนำเข้ายางธรรมชาติมีจำนวนเพิ่มขึ้นจาก 937.4 ตัน ในปี 2542 เป็น 1,331.8 ตัน ในปี 2543 เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.0 การนำเข้าส่วนใหญ่มาจากประเทศมาเลเซีย  เนื่องจากประเทศไทยไม่สามารถผลิตได้ และนำมาแปรรูปใช้ภายในประเทศและเพื่อการส่งออก  ซึ่งยางนำเข้าจะอยู่ในรูปของน้ำยางข้น ยางเครพ และอื่นๆ

Related Articels

Copyright © 2011 บริษัท เอเซียเกียร์ริ่ง จำกัด รับสร้าง ผลิตและจำหน่าย เครื่องรีดยาง เครื่องรีดยางพารา | รายละเอียดเพิ่มเติมโทร 088-202-0410