เครื่องจักรกล cnc || เครื่องรีดยางพาราเครื่องรีดยาง, เครื่องรีดยางพารา, เครื่องรีดยางเครป, เครื่องรีดยางแผ่น, เครื่องทำยางเครป

เครื่องจักรกล cnc

เครื่องจักรกล cnc

CNC เป็นคำย่อมาจากคำว่า Computer Numerical Control หมายถึงการใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยควบคุมการทำงานเครื่องจักรกลอัตโนมัติต่างๆ เช่น เครื่องกัด เครื่องกลึง เครื่องเจาะ เครื่องเจียระไน ฯลฯ โดยการสร้างรหัส ตัวเลข สัญลักษณ์ หรือเรียกว่าโปรแกรม NC ขึ้นมาควบคุมการทำงานของเครื่องจักรกล   ซึ่งสามารถทำให้ผลิตชิ้นงานได้รวดเร็วถูกต้อง และเที่ยงตรง

นับ ตั้งแต่ปีค.ศ. 1960 เป็นต้นมา เทคโนโลยีทางด้านไมโครโปรเซสเซอร์เข้ามามีบทบาทแทนที่หลอดสุญญากาศ และทรานซิสเตอร์ก็มีการพัฒนาจากเครื่องจักร NC มาเป็นเครื่องจักร CNC (Computer Numerically Controlled) และเครื่องจักร CNC ก็กลายเป็นพระเอกที่โดดเด่นเรื่อยมา เนื่องจากมีหน่วยความจำขนาดใหญ่สามารถบรรจุโปรแกรมการทำงานต่างๆ ได้เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีจอภาพแสดงผลแบบกราฟิกแสดงผลหรือจำลองการทำงานได้อีกด้วย

ใน การโปรแกรมข้อมูลเข้าไปยังตัวควบคุมเครื่องจักร (Machine Control) ซึ่งเรียกการควบคุมแบบนี้ว่าระบบ softwired โดยมีการเปลี่ยนอุปกรณ์ แบบเก่าเป็นอุปกรณ์ที่สามารถจัดเก็บโปรแกรมได้ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาก็เป็นยุคต้นของเครื่องจักรกล CNC

เครื่อง CNC จะใช้เทปแม่เหล็ก, แผ่นดิสก์ หรือ ดรัม (Drum) ในการเก็บข้อมูลที่โปรแกรมเอาไว้การโปรแกรมสามารถทำได้ที่สถานีควบคุมไปยัง กลุ่มเครื่องจักรกล NC แต่ถ้าเป็นกลุ่มหรือเครื่องจักรกล CNC การโปรแกรมหรือรับสัญญาณมักจะรับจาก เครื่องจักรเองโดยตรงหรือเก็บไว้ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ประจำ เครื่อง DNC เป็นแนวความคิดใหม่ซึ่งใช้คอมพิวเตอร์หนึ่งตัว (Main Computer or Host) เป็นศูนย์กลางในการควบคุม และบริหารเครื่องจักรกล NC และ CNC หลายๆ เครื่องCNC จะใช้เทปแม่เหล็ก, แผ่นดิสก์ หรือ ดรัม (Drum) ในการเก็บข้อมูลที่โปรแกรมเอาไว้การโปรแกรมสามารถทำได้ที่ สถานีควบคุมไปยังกลุ่มเครื่องจักรกล NC แต่ถ้าเป็นกลุ่มหรือเครื่องจักรกล CNC การโปรแกรมหรือรับสัญญาณมักจะรับจาก เครื่องจักรเองโดยตรงหรือเก็บไว้ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ประจำเครื่อง

ใน การควบคุมเครื่องจักรกลซีเอ็นซี จะใช้โปรแกรมรหัสจีเป็นชุดคำสั่ง เพื่อควบคุมขับเครื่องมือตัดเฉือน (Tool) จากตำแหน่งหนึ่งไปยังอีกตำแหน่งหนึ่ง    หรือเปิด-ปิดสารหล่อเย็นหรือเปลี่ยนเครื่องมือตัดเฉือน โดยเครื่องจักรกลจะทำงานโดยอัตโนมัติตามที่ได้โปรแกรมไว้ตามชุดคำสั่ง เรา ไม่สามารถแยกเครื่องจักรซีเอ็นซีและรหัสจีออกจากกันได้  ถ้าเราต้องการให้ เครื่องจักรซีเอ็นซีทำงานเราต้องเรียนรู้รหัสจีเพื่อที่เราจะได้พูดภาษา เดียวกับตัวควบคุมซีเอ็นซีได้ ภายหลังจึงได้มีการพัฒนาโปรแกรม CAD/CAM ขึ้นมาใช้งานร่วมกับเครื่องจักรกล CNC ช่วยให้เข้าใจถึงวิธีการโปรแกรมรหัสจี เพื่อให้เครื่องจักรซีเอ็นซีทำงานตามที่ผู้ใช้งานต้องการได้สะดวกรวดเร็ว ขึ้น


หลักการควบคุมการทำงานของเครื่องจักร
การตัด เฉือนชิ้นงานด้วยเครื่องจักรทั่วๆ ไปนั้น ช่างควบคุมเครื่องจะใช้มือหมุนเพื่อเลื่อนคมตัดหรือชิ้นงานให้เคลื่อนที่ไป ซึ่งเมื่อเสร็จสิ้นการทำงานแล้วจะได้ชิ้นงานที่มีรูปร่างและขนาดตามต้องการ ลักษณะเช่นนี้ช่างควบคุมเครื่องจะต้องคอยเฝ้าดูตำแหน่งของคมตัดที่ต้องมี ความสัมพันธ์กับเส้นรอบรูปบนชิ้นงานที่กำลังตัดเฉือนอยู่ตลอดเวลา และในการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของคมตัด ช่างจะต้องหมุนมือหมุนเพื่อควบคุมการทำงานของแท่นเลื่อน ช่างจะต้องคอยสังเกตุและตรวจสอบตำแหน่งของคมตัดกับชิ้นงาน เมื่อได้ตำแหน่งที่ต้องการแล้วช่างจะหยุดหมุนมือหมุน คมตัดก็จะหยุดการเคลื่อนที่ ในทางเทคนิคการทำงานเหล่านี้จะถูกเรียกว่าการควบคุม (Control)
นอกเหนือ จากการควบคุมตำแหน่งของชิ้นงานกับเครื่องมือตัดแล้ว ช่างจะต้องควบคุมอัตราการป้อนซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของวัสดุชิ้นงาน, วัสดุเครื่องมือตัด และตำแหน่งของคมตัดด้วย ซึ่งในบางครั้งช่างจะต้องลดอัตราการป้อนลงเมื่อใกล้จะถึงตำแหน่งที่ต้องการ เพื่อให้ได้ตำแหน่งที่ถูกต้อง นอกจากนี้จะต้องคอยปรับความเร็วรอบและตำแหน่งของการหล่อเย็นให้ถูกต้องอีก เป็นต้น



หลัก การทำงานเครื่องจักรซีเอ็นซีจะคล้ายคลึงกับเครื่องจักรทั่วไป กล่าวคือโดยพื้นฐานแล้วเครื่องจักรซีเอ็นซีก็จะทำหน้าที่ผลิตชิ้นงานเหมือน เครื่องจักรกลทั่วไป แต่ระบบควบคุมซีเอ็นซีของเครื่องจะทำงานในขั้นตอนต่างๆ แทนช่างควบคุมเครื่อง แต่อย่างไรก็ตามก่อนที่เครื่องจักรจะทำงานได้นั้น ระบบควบคุมของเครื่องจะต้องได้รับข้อมูลเสียก่อนว่าจะให้ทำงานตามขั้น ตอนอย่างไร และจะต้องบอกเป็นภาษาที่ระบบควบคุมสามารถเข้าใจนั่นคือจะต้องป้อนโปรแกรม เข้าไปในระบบควบคุมของเครื่องโดยผ่านแป้นพิมพ์ (Keyboard) หรือเทปแม่เหล็ก (Magnetic tape) ก็ได้

เมื่อระบบ ควบคุมอ่านโปรแกรมที่ป้อนเข้าไปแล้ว ระบบควบคุมจะนำไปควบคุมให้เครื่องจักรทำงาน โดยการเคลื่อนที่ของแท่นเลื่อนจะมีมอเตอร์ป้อน (Feed motor) เป็นตัวทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของแท่นเลื่อน
หลังจากที่ระบบควบคุมอ่านโปรแกรมที่ป้อนเข้าไปแล้ว ระบบควบคุมจะเปลี่ยนรหัสโปรแกรมให้เป็นสัญญาณทางไฟฟ้าเพื่อควบคุมให้มอเตอร์ทำงาน
ระบบควบคุม ซีเอ็นซีจะมีอุปกรณ์, เครื่องมือที่สามารถบอกตำแหน่งของแท่นเลื่อนให้ระบบควบคุมรู้ได้ อุปกรณ์ชุดนี้เรียกว่า ระบบวัดขนาด (Measuring System) ซึ่งประกอบด้วยสเกลแนวตรง (Linear Scale) มีจำนวนเท่ากับจำนวนแนวแกนในการเคลื่อนที่ของเครื่องจักร มีหน้าที่ส่งสัญญาณไฟฟ้าที่สัมพันธ์กับระยะทางที่แท่นเลื่อนเคลื่อนที่กลับ ไปยังระบบควบคุม ทำให้ระบบควบคุมรู้ว่าแท่นเลื่อนเคลื่อนที่เป็นระยะทางเท่าใด
ช่างควบคุม เครื่องไม่เพียงสามารถใช้โปรแกรมซีเอ็นซีสั่งให้เครื่องจักรทำงานแต่ยัง สามารถเขียนและป้อนโปรแกรมด้วยตนเอง ตลอดจนการแก้ไขโปรแกรมได้หลังจากป้อนเข้าไปในระบบควบคุมของเครื่องแล้ว ขนาดต่างๆ ของเครื่องมือตัดและอุปกรณ์จับยึดชิ้นงาน สามารถที่จะเลือกใช้และป้อนเข้าไปในระบบควบคุมได้ในขณะทำการปรับตั้ง และเป็นอิสระจากโปรแกรมซีเอ็นซีขนาดต่างๆ ของเครื่องมือจะถูกนำไปใช้โดยอัตโนมัติขณะทำงานการตัดเฉือน ช่างควบคุมเครื่องจักรจึงไม่จำเป็นต้องมีข้อมูลในการปรับตั้งเครื่องมือมาก และสามารถที่จะเลือกใช้เครื่องมือและอุปกรณ์จับยึดชิ้นงานได้ด้วยตนเอง
ระบบควบคุม ของเครื่องจักรซีเอ็นซี จะเป็นส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมให้เครื่องจักรทำงานตามขั้นตอนที่ได้กำหนดไว้ การที่เครื่องจักรจะทำงานได้นั้นระบบควบคุมจะต้องได้รับการบอกล่าวถึงวิธี การทำงานเสียก่อน ข้อมูลที่ใช้จะอยู่ในรูปของโปรแกรมเอ็นซี ซึ่งช่างควบคุมเครื่อง หรือช่างเขียนโปรแกรมจะเป็นผู้เขียนโปรแกรมเข้าในไประบบควบคุมระบบควบคุมจะ อ่านโปรแกรมเอ็นซีและเปลี่ยนข้อมูลให้เป็นสัญญาณควบคุมสำหรับเครื่องจักรการ สร้างโปรแกรมเอ็นซีจะมีรูปแบบที่ถูกกำหนดโดยบริษัทผู้ผลิตระบบควบคุมภายใต้ แนวทางที่เป็นมาตรฐาน
การสร้างโปรแกรมเอ็นซี
ในโปรแกรม เอ็นซีขั้นตอนการตัดเลือกสำหรับผลิตชิ้นงานด้วยเครื่องจักรซีเอ็นซีจะถูก เขียนขึ้นในรูปแบบที่ระบบควบคุมสามารถเข้าใจได้ ช่างที่เขียนโปรแกรมจะต้องทราบถึงขั้นตอนการตัดเฉือนทั้งหมดซึ่งในขั้นตอน ต่าง ๆ จะถูกกำหนดไว้อย่างถูกต้องพร้อมด้วยเงื่อนไขต่าง ๆ เช่น อัตราป้อน ความเร็วรอบของเพลางาน เป็นต้น ช่างจะนำข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้ไปเขียนเป็นโปรแกรมเอ็นซี หลังจากที่โปรแกรมป้อนเข้าไปในระบบควบคุมแล้วสามารถนำโปรแกรมนั้นมาทำงานซ้ำ ได้หลายครั้งตามที่ต้องการ
ถ้าขั้นตอน บางขั้นตอนจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงไป และแตกต่างจากที่กำหนดไว้ในโปรแกรมเอ็นซี จำเป็นจะต้องมีการปรับปรุงบางจุดให้เหมาะสม การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ สามารถที่จะทำได้โดยช่างควบคุมเครื่องโดยตรง

การโปรแกรม NC โดยมนุษย์ 

เมื่อผู้ เขียนโปรแกรมรู้แบบของชิ้นงานและข้อมูลของเครื่องจักรแล้ว ในขั้นแรกก็ต้องจัดลำดับขั้นตอนในการทำงานก่อน ขั้นต่อมาคือการจัดเตรียมข้อมูลโดยเลือกลำดับของเครื่องมือตามขั้นตอนการทำ งาน ผู้เขียนโปรแกรมจะต้องกำหนดความเร็วตัด และความเร็วป้อน ค่าเหล่านี้อาจได้จากการเปิดตารางหรือจากการคำนวณ นอกจากนั้นยังต้องคำนึงถึงการเปิด-ปิดน้ำหล่อเย็น แกละการชดเชยขนาดของเครื่องมือ หลังจากทราบข้อมูลทั้งหมดแล้วจึงเริ่มเขียนโปรแกรม สิ่งสำคัญที่ควรคำนึง คือ ผู้เขียนโปรแกรมต้องกำหนดวางศูนย์ของชิ้นงานในตำแหน่งที่เหมาะสม


การเขียนโปรแกรมเอ็นซี (NC) ด้วยการใช้โปรแกรมช่วยผลิตชิ้นงาน

ภาษาที่ใช้ ในการสร้างโปรแกรมเอ็นซีนั้นทำหน้าที่ให้ข้อมูลของชิ้นงาน และการเคลื่อนที่ระหว่างเครื่องมือและชิ้นงาน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถใช้สร้างชิ้นงานตามแบบที่ต้องการได้ ลักษณะการใช้งานของภาษาที่ใช้ในการสร้างโปรแกรมเอ็นซี แบ่งเป็น 2 ลักษณะใหญ่ ๆ คือ 
1. ตามลักษณะของเครื่อง 
2. ตามลักษณะของปัญหา ลักษณะภาษาที่ใช้ตามลักษณะปัญหานี้ ในระยะแรกที่เริ่มพัฒนา คือ ภาษา APT เป็นการคำนวณข้อมูลทางเรขาคณิตเท่านั้น ยังไม่มีข้อมูลทางเทคนิค แต่ในปัจจุบันมีระบบคอมพิวเตอร์ช่วยในการผลิตออกมากมาย ซึ่งสามารถทำได้ทั้งระบบ 2 มิติ, 2 1/2 มิติ และ 3มิติ

ในการใช้ คอมพิวเตอร์ช่วยในการผลิตเพื่อสร้างโปรแกรมเอ็นซีนั้น ควรคำนึงถึงค่าใช้จ่ายของอุปกรณ์ที่จะเลือกใช้ โดยเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรมที่มีขนาดเล็ก มีการผลิตชิ้นงานจำนวนไม่มาก เพราะจะส่งผลกระทบถึงราคาต้นทุนในการผลิตสินค้า ซึ่งผู้ผลิตจำเป็นต้องเลือกวิธีการสร้างโปรแกรมให้เหมาะสม กล่าวคือ ถ้าลักษณะของชิ้นงานไม่มีความสลับซับซ้อน เป็นรูปทรงง่าย ๆ ก็ไม่สมควรที่จะใช้คอมพิวเตอร์ที่มีระบบการจัดการที่มีขนาดใหญ่มาช่วยในการ สร้างโปรแกรม เพราะราคาและค่าใช้จ่ายของอุปกรณ์ดังกล่าวในปัจจุบันยังมีราคาที่ค่อนข้าง สูง

ลักษณะการสร้างโปรแกรมเอ็นซี

การสร้างโปรแกรมเอ็นซีสำหรับสั่งงานเครื่องจักรที่ใช้การควบคุมด้วยระบบเชิงตัวเลข สามารถสรุปได้ตามลักษณะของการสร้างโปรแกรมได้ดังนี้
    1. การสร้างโปรแกรมโดยตรง โดยการป้อนข้อมูลที่เป็นรหัสที่เครื่องจักรสามารถเข้าใจได้ที่แป้นพิมพ์ของ ชุดควบคุมของเครื่องจักร รวมทั้งข้อมูลของเครื่องมือตัดที่ใช้ในขบวนการผลิตชิ้นงานด้วย
    2. การสร้างโปรแกรมโดยทางอ้อมด้วยซอฟแวร์ประเภท CNC-Editor ที่ทำงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรมที่ได้ส่งไปยังชุดควบคุมของเครื่องจักรโดยการใช้เทปกระดาษเจาะรู (Punched tape) เทปแม่เหล็ก (Magnatic tape) แผ่นดิสเก็ตต์(diskettes) หรือโดยการใช้สายส่งที่สามารถส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เข้าชุดควบคุมของ เครื่องจักรโดยตรง
    3.การสร้างโปรแกรมทางอ้อมโดยใช้ CAM ซอฟแวร์ มีลักษณะคล้ายการเขียนโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์ ในแต่ละภาษาจะมีความสามารถในการสร้างโปรแกรมสำหรับสั่งงานเครื่องจักรที่ควบ คุมด้วยระบบเชิงตัวเลขต่างกันออกไป การสร้างโปรแกรมเอ็นซีจะเริ่มโดยการเขียนคำสั่งการทำงานในลักษณะของ Text File ของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ภาษาต่าง ๆ นั้นจะสามารถทำงานได้ หลังจากนั้นจะทำการแปล Text File ที่เขียนไว้เป็นคำสั่งภาษาซีเอ็นซี ในบางภาษาหลังจากทำการแปลเป็นคำสั่งภาษาซีเอ็นซีแล้วจะสามารถจำลองการทำงาน ทางจอภาพได้ และสามารถส่งโปรแกรมเอ็นซีไปยังชุดควบุคมของเครื่องจักรได้
    4. การสร้างโปรแกรมทางอ้อมโดยใช้แคมซอฟแวร์ (Stand alone CAM Software) บนเครื่องคอมพิวเตอร์ระดับต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับความสามารถและขนาดของโปรแกรมที่เลือกใช้ การสร้างโปรแกรมจะเริ่มโดยการสร้างรูปทางเดินของคมตัดเสียก่อนหรือด้วยการ กำหนดตำแหน่งต่าง ๆ ที่ต้องการ จากนั้นจะทำการแปลข้อมูลเชิงเส้นไปเป็นโปรแกรมเอ็นซีหรือทำเป็นกระดาษเจาะรู เพื่อใช้ในการส่งถ่ายข้อมูลไปยังชุดควบคุม
    5.การสร้างโปรแกรมทางอ้อมด้วยซอฟแวร์ CAD/CAM เป็นระบบการสร้างโปรแกรมสำหรับชิ้นงานที่มีรูปร่างซับซ้อน ซึ่งความสามารถในการสร้างรูปทรงของชิ้นงานและสามารถกำหนดขนาดในระบบ CAD และส่งข้อมูลของรูปทรงชิ้นงานไปยังระบบ CAM เพื่อแปลข้อมูลรูปทรงชิ้นงานเป็นโปรแกรมเอ็นซี ซึ่งระบบ CAD/CAM สามารถแยกจากกันเป็นอิสระในการทำงาน ซึ่งซอฟแวร์ระบบ CAD หรือระบบ CAM ที่มาจากผู้พัฒนาโปรแกรมบริษัทเดียวกันหรือต่างบริษัทกันก็จะสามารถรับส่ง ข้อมูลซึ่งกันและกันได้ เพราะมีการกำหนดเป็นมาตราฐานเดียวกัน หรือซอฟแวร์ CAD/CAM อาจจะอยู่รวมเป็นระบบซอฟแวร์รวม
องค์ประกอบของระบบควบคุม
ระบบซีเอ็น ซีจะประกอบด้วยองค์ประกอบต่าง ๆ มากมาย ถ้าพิจาณาถึงสิ่งที่ต้องการให้ระบบสามารถทำได้ จะสามารถแสดงให้เห็นองค์ประกอบของระบบซีเอ็นซีด้วยไดอะแกรมดังนี้
หัวใจของ ระบบซีเอ็นซีก็คือ คอมพิวเตอร์ ซึ่งทำหน้าที่ในการคำนวณทั้งหมดและเชื่อมโยงข้อมูลต่าง ๆ เข้าด้วยกันอย่างเป็นเหตุและผล จึงจำเ ป็นต้องมีอินเตอร์เฟส (Interface) อยู่ 2 ชุดด้วยกัน

- อินเตอร์เฟสสำหรับช่างควบคุมเครื่อง ซึ่งจะประกอบด้วยแผงควบคุม (Control Panel) และข้อต่อ (Connections) ต่าง ๆ สำหรับ เครื่องอ่านกระดาษ (Punched Tape Reader) เครื่องเจาะเทปกระดาษ (Punched Tape Perforator) หน่วยเทปแม่เหล็ก (Magnatic Tape Unit) หน่วยดิสเก็ต (Diskette Unit) และเครื่องพิมพ์ (Printer)

- ชุดอินเตอร์เฟสสำหรับเครื่องจักรกล องค์ประกอบหลักของชุดอินเตอร์เฟสนี้จะประกอบด้วย อินเตอร์เฟสการควบคุม (Axis Control) และหน่วยจ่ายกำลัง (Power Supply)

ระบบการรับและส่งข้อมูลและการจัดเก็บโปรแกรมเอ็นซี

ข้อมูล โดยทั่วไปที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ในระบบซีเอ็นซี จะเป็นรหัสไบนารี่ (Binary Coded) ซึ่งหมายความว่าตัวอักษรและตัวเลขทุกตัวที่ป้อนผ่านแป้นพิมพ์จะถูกเปลี่ยน โดยคอมพิวเตอร์ให้เป็นบิท (Bit) ที่มีความหมายเฉพาะ 
    บิท (Bit)คือตำแหน่งของสวิทซ์อิเล็คทรอนิค ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งตำแหน่งปิด (OFF) หรือตำแหน่งเปิด (ON) ก็ได้ และในระบบไบนารี่ (Binary System) จะใช้เป็น 0 (OFF) 1 (ON) คอมพิวเตอร์จะเก็บบันทึกตำแหน่งสวิทซ์เหล่านี้ไว้เป็นจำนวนมาก และเชื่อมต่อระหว่างกันและกัน 
    โดยทั่วไป 8 บิทจะรวมกันเท่ากับ 1 ไบท์ (Byte) ซึ่งใน 1 ไบท์นี้จะสามารถผสมกันเพื่อใช้แทนตัวเลขและตัวอักษรรวมกันได้ถึง 256 ตัว และในระบบนี้จะเรียกว่า "การให้รหัสไบนารี่" (Binary Coding)
การรับ โปรแกรมเอ็นซีเข้าไปในชุดควบคุมของเครื่องจักรเต็มหน่วยความจำของชุดควบคุม แล้วจะต้องลบข้อมูลของโปรแกรมนั้นออก มิฉะนั้นจะไม่สามารถป้อนข้อมูลโปรแกรมเอ็นซีใหม่เข้าไปได้ หรือหน่วยความจำของชุดควบคุมที่สามารถเก็บบันทึกโปรแกรมได้เพียงโปรแกรม เดียว เมื่อต้องการใช้โปรแกรมทำงานใหม่ก็จะต้องลบโปรแกรมที่มีความยาวมาก ๆ ดังนั้นจึงมีอุปกรณ์เก็บข้อมูลและส่งถ่ายข้อมูล ซึ่งสามารถเก็บและส่งโปรแกรมเอ็นซีเข้าชุดควบคุมของเครื่องจักรได้ อุปกรณ์เหล่านี้มีอยู่ด้วยกันหลายแบบ เช่น เทปกระดาษ (Punched Tape ) เทปแม่เหล็ก (Magntic Tape Cassettes) แผ่นดิสก์เก็ต (Diskettes) เป็นต้น(ซึ่งปัจจุบันสามารถต่อสายรับข้อมูลโดยตรงจากคอมพิวเตอร์ได้ ทางพอร์ต อนุกรม,serial port) ซึ่งโปรแกรมเอ็นซีที่เก็บบันทึกข้อมูลไว้ในอุปกรณ์เหล่านี้ สามารถที่จะพิมพ์ออกมาเพื่อตรวจสอบหรือแก้ไขข้อมูลเพิ่มเติมได้
การจัดเก็บข้อมูลในชุดควบคุมเครื่องจักร
การจัดเก็บโปรแกรมเอ็นซี จากหน่วยความจำของ ชุดควบคุมสามารถกระทำหลายวิธี
1. ในเครื่องจักรกลเอ็นซีที่มีระบบไฟหล่อเลี้ยงจากแบตเตอร์รี่จ่ายให้แก่หน่วย ความจำ (accumulator) โปรแกรมเอ็นซีที่ป้อนเข้าไปจะอยู่ในหน่วยความจำ ของชุดควบคุมของเครื่องจักรกล จะสามารถเก็บให้คงอยู่ในหน่วยความจำของเครื่องได้แม้ว่าเครื่องจักรกลจะปิด อยู่ไม่ได้ใช้งาน
2. ในกรณีที่มีโปรแกรมเอ็นซีอยู่ในหน่วยความจำของเครื่องจักรแต่เมื่อตัดไฟไม่ ให้เครื่องจักรทำงานแล้วโปรแกรมที่อยู่ในหน่วยความจำจะถูกลบออกไปหมดในกรณี เช่นนี้สามารถทำการจัดเก็บโปรแกรมเพื่อการนำมาใช้งานได้อีกโดยการบันทึก ข้อมูลของโปรแกรมเอ็นซีด้วยการใช้การส่งถ่ายโปรแกรมทางสายส่งมาเพื่อทำการ เจาะแถบเทปกระดาษด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ไม่ได้เป็นส่วนประกอบของเครื่อง จักรเอ็นซี
การรับข้อมูลจากหน่วยบันทึกข้อมูลภายนอกเครื่องจักร
การส่งโปรแกรมเอ็นซีจากหน่วยบันทึกข้อมูลภายนอกไปยังชุดควบคุมของ เครื่องซีเอ็นซี สามารถกระทำได้ดังนี้
1. การส่งโปรแกรมเอ็นซีให้ชุดควบคุมของเครื่องจักร โดยอาศัยอุปกรณ์อ่าน และแปลสัญญาณโปรแกรมจากเทปกระดาษ การส่งโปรแกรมจะทำโดยใช้สายส่งเป็นตัวผ่านโปรแกรมไปยังชุดควบคุมแล้วเขียนลง ในหน่วยความจำของชุดควบคุม
2. การให้ชุดควบคุมของเครื่องจักรกลอ่านโปรแกรมจากหน่วยบันทึกข้อมูลของเครื่อง คอมพิวเตอร์ที่ต่อผ่านสายส่งที่อยู่กับชุดควบคุม โดยอ่านข้อมูลจากแผ่นดิสส์เก็ต เพื่อทำการรับโปรแกรมเอ็นซีที่ส่งมาเพื่อทำการเขียนลงในหน่วยความจำของชุด ควบคุม
3. ในกรณีที่โปรแกรมเอ็นซีมีขนาดใหญ่กว่าหน่วยความจำ ของชุดควบคุมของเครื่องจักร การรับโปรแกรมจะต้องใช้วิธีการส่งในระบบ on -line กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่อกับหน่วยความจำของเครื่องจักรโดยตรง ที่เรียกว่า DNC
จากที่ กล่าวมาแล้ว เป็นเพียงหลักการเบื้องต้นของ เครื่องจักร CNC เท่านั้น คราวต่อไปจะได้กล่าว ถึงเทคโนโลยีของเครื่องจักร CNC ที่สูงขึ้นไปจนถึงระดับ Highspeed Machinig Center
หนังสืออ้างอิง 

การใช้โปรแกรม AutoCAD ในงาน CNC ,ศุภงค์ เจริญศรี และ สุชิต เรืองศรี

ขาย เครื่องจักรกล มือสอง เครื่องกลึง เครื่องcnc เครื่องมิลลิ่ง เครื่องกระทุ้ง เครื่องไวร์คัท เครื่องพับเหล็ก เครื่องรีดยาง เครื่องสับยาง
รับ งานไวร์คัท ชิ้นส่วนอะไหล่ ตามต้องการ รับตัดชิ้นส่วนอะไหล่ เหล็ก อลูมิเนียม ทองเหลือง ทองแดง รับพ่นทรายกันสนิมงานต่างๆตามต้องการ รับตัดโลหะด้วยเครื่องไวร์คัท ตามตัวอย่าง/ตามแบบที่ต้องการ
ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร 088-202-0410,038-942-501

Related Articels

Copyright © 2011 บริษัท เอเซียเกียร์ริ่ง จำกัด รับสร้าง ผลิตและจำหน่าย เครื่องรีดยาง เครื่องรีดยางพารา | รายละเอียดเพิ่มเติมโทร 088-202-0410