ราคาเครื่องรีดยางเครป
ราคาเครื่องรีดยางเครป เครื่องรีดยางเครป ขนาดลูกกลิ้ง 10 นิ้ว ลูกกลิ้งทำจากเหล็กหล่อตัน ( + เครื่องยนต์ดีเซล หรือ มอเตอร์เกียร์ ขนาด 14 แรง ) ราคา 250,000 บาท ( ยังไม่รวมค่าขนส่งและค่าติดตั้ง ) เครื่องรีดยางเครป ขนาดลูกกลิ้ง 6 นิ้ว ลูกกลิ้งทำจากเหล็กเกรดดี ( +...
อุตสาหกรรมยางพารา
อุตสาหกรรมการแปรรูปยางพารา มี 3 ประเภท ได้แก่ 1.อุตสาหกรรมยางแผ่นดิบ แบ่งได้ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแห้ง ได้แก่ ยางแผ่นรมควัน ซึ่งผลิตมากที่สุดประมาณร้อยละ 70 ตลาดหลักคือ ญี่ปุ่น รองลงมาคือ ยางแท่ง ที.ที.อาร์. ร้อยละ 16 ตลาดที่สำคัญ คือ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป นอกจากนั้นคือ...
ตลาดยางพารา
ลักษณะตลาดยางพาราเป็นตลาดของผู้ซื้อ เนื่องจากมีผู้ซื้อจำนวนน้อยราย ขณะที่เกษตรกรหรือผู้ขายซึ่งมีจำนวนมากมาย และส่วนมากเป็นเจ้าของสวนยางขนาดเล็ก ตลาดภายในประเทศ ตลาดภายในประเทศ เกษตรกรชาวสวนยางจะขายยางในรูปของน้ำยางสด ยางแผ่นดิบและขี้ยาง ให้กับพ่อค้าคนกลางในท้องถิ่น จากนั้นพ่อค้าคนกลางจะนำยางไปขายให้กับตลาดกลางยางพารา โรงงานรมควันและโรงงานยางแผ่นผึ่งแห้ง หรือเกษตรกรนำยางไปขายให้กับตลาดกลางและโรงงานโดยตรง การกำหนดราคายาง ราคายางในประเทศถูกกำหนดจากตลาดหลักของโลก โดยเฉพาะตลาดสิงคโปร์และมาเลเซีย โดยผ่านผู้ซื้อรายใหญ่ต่างประเทศไม่กี่บริษัท กำหนดราคารับซื้อโดยใช้ราคา F.O.B. ของยางแผ่นรมควันชั้น 3 ที่คาดว่าจะขายได้ หักด้วยค่าใช้จ่ายในการส่งออก ค่าอากรขาออก และค่าสงเคราะห์การปลูกแทน ตลาดต่างประเทศ ตลาดยาง ที่สำคัญในต่างประเทศมี 6...
แนวทางการพัฒนายางพารา
ยางพารา เป็นไม้ยืนต้น มีถิ่นกำเนิดในป่าเขตร้อน ซึ่งมีฝนตกชุกแถบอเมริกาใต้ ได้แก่ ประเทศบราซิล เปรู โคลัมเบีย เวเนซุเอลา และโบลิเวีย ปี พ.ศ. 2520 Sir Henry Wickhan ได้นำเมล็ดยางพารามาปลูกที่เปรัค ประเทศ มาเลเซีย จำนวน 9 ต้น และอีก 13 ต้น ปลูกที่สวนพฤกษาชาติ ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเป็นที่มาของต้นยางพาราในเอเชีย...
ข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมยางพารา
ข้อเสนอแนะต่อภาคอุตสาหกรรม 1. สร้างระบบฐานข้อมูลด้านผลผลิตใหม่ที่น่าเชื่อถือ โดยมีรายละเอียดของการผลิตทั้งปริมาณและคุณภาพ เพื่อความพร้อมในการบริหารอุปทานยาง 2. สนับสนุนการพัฒนาคุณภาพยางพาราของไทย รวมทั้งกระบวนการจัดชั้นแผ่นยาง และการรักษาคุณภาพของยางแท่งของไทยให้ได้คุณภาพและมาตรฐานที่มีความสม่ำเสมอ ภายใต้ต้นทุนที่ต่ำอยู่ได้ 3. ให้การสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตสินค้าที่ใช้ยางพาราเป็นวัตถุดิบมากขึ้น หรือมีการปรับโครงสร้างภาษีที่เอื้อำนวยต่อการลงทุนในอุตสาหกรรมเหล่านี้มากขึ้น เนื่องจากในปัจจุบันประเทศไทยมีการนำเข้าสินค้าเหล่านี้เป็นจำนวนมาก ทั้งที่ไทยเป็นผู้ผลิตยางพาราเอง จึงกลายเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับต่างประเทศ 4. พัฒนาท่าเรือน้ำลึกให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากในปัจจุบันไทยมีการส่งออกยางพาราโดยทางเรือ ซึ่งแม้ว่าไทยจะมีแหลมฉบังเป็นท่าเรือที่สามารถส่งไปจีนได้โดยตรง แต่การขนส่งยางทางภาคใต้ของไทยนิยมส่งผ่านท่าปีนังของมาเลเซีย เนื่องจากอยู่ใกล้มากกว่า และมีค่าขนส่งที่ถูกกว่า ในขณะที่ท่าเรือที่ใกล้ที่สุดคือท่าเรือสงขลา แต่เป็นท่าเรือน้ำตื้น ทำให้เรือใหญ่ไม่สามารถเข้าได้ จึงจำเป็นต้องไปขนถ่ายต่ออีกทีหนึ่ง ทำให้ต้นทุนสูงขึ้น...
อุตสาหกรรมยางพาราภายหลังการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน
ภายหลังการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนจีนนั้น หมายถึง จีนจะทำการเก็บภาษีศุลกากรจากไทยและกลุ่มประเทศในอาเซียนในอัตราร้อยละศูนย์ ในขณะที่ไทยและกลุ่มประเทศในอาเซียนก็จะทำการเก็บภาษีศุลกากรกับจีนในอัตราร้อยละศูนย์เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ มาตรการต่างๆ ที่มิใช่ภาษีศุลกากรก็จะหมดไปจนกระทั่งมีการค้าแบบเสรีอย่างสมบูรณ์ภายในกลุ่มประเทศอาเซียนและจีน การตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน จีนในส่วนของอุตสาหกรรมยางธรรมชาตินั้น การลดภาษีนำเข้าและการยกเลิกโควต้าจะก่อให้เกิดผลดีต่อประเทศในด้านราคาขายยางพาราในจีนที่ถูกลง เนื่องจากการลดภาษีนำเข้า โดยมีการคาดการณ์ของสมาคมยางพาราไทยว่าในปี 2550 จีนจะมีการใช้ยาง 1.40 ล้านตัน และเพิ่มเป็น 1.65 ล้านตันในปี 2555 ในขณะที่การผลิตยางธรรมชาติของจีนค่อนข้างคงที่ ประมาณ 470,000 ตัน จึงน่าจะเป็นโอกาสทางการค้าที่ดีมากของไทย เมื่อพิจารณาโดยรวมกลับพบว่าผลกระทบของการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีนทำให้ผลกระทบโดยรวมต่อไทยโดยภาพรวมซับซ้อนมากขึ้น เนื่องจากไทยมีการนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากยางมากกว่าที่จีนนำเข้ายางธรรมชาติจากไทย การเปิดเสรีจึงเป็นการสนับสนุนสินค้าที่ทำจากยางของจีนไปในตัวด้วย...
การบริโภคยางพาราของจีน อุตสาหกรรมยางพาราในประเทศจีน
ปริมาณการบริโภคยางพาราของจีน ในปี 2543 มีอัตราการเติบโตอย่างมากจากการเติบโตทางเศรษฐกิจ การลงทุนด้านสาธารณูปโภค และการกระตุ้นการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเป็นผลดีต่อทุกอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยาง ที่ได้รับผลจากการที่มีรถยนต์มากขึ้นทำให้มีการใช้ล้อยางมากขึ้น ความต้องการยางธรรมชาติจึงเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว ทำให้ในปี 2543 จีนมีการบริโภคยาง 1.08 ล้านตัน ส่วนในปี 2544 จีนมีการบริโภคยางทั้งสิ้น 1.07 ล้านตัน ลดลงจากปี 2543 เล็กน้อย จีนมีความต้องการยางธรรมชาติเป็นจำนวนมากในการผลิตยางล้อที่มีทั้ง ยางรถจักรยานยนต์ ยางรถจักรยาน และยางรถยนต์ ส่วนผลิตภัณฑ์ยางมียางรัดของ ท่อยาง...
ประสิทธิภาพการผลิต อุตสาหกรรมยางพาราในประเทศจีน
การผลิตยางพาราของจีนในปี 2539 ให้ผลผลิต 163 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งประสิทธิภาพการผลิตก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงปี 2542 ที่ได้ผลผลิต 187.6 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 15 ภายใน 4 ปี แต่ในปี 2543 ประสิทธิภาพการผลิตยางพาราของจีนลดลงเป็น ได้ผลผลิต 182.8 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งลดลงร้อยละ 2.6 ส่วนในปี 2544 จีนสามารถผลิตยางพาราได้ 185.7 กิโลกรัมต่อไร่...
ปริมาณการผลิตยางธรรมชาติ อุตสาหกรรมยางพาราในประเทศจีน
ปริมาณการผลิตยางธรรมชาติ นับตั้งแต่ปี 2492 เป็นต้นมาจีนผลิตยางพาราได้ 199 ตัน ก่อนเพิ่มเป็นถึง 35,562 ตันในปี 2522 ผลผลิตยางพาราของจีนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตั้งแต่ปี 2522 ที่ผลิตได้ถึง 111,693 ตัน จนปี 2525 จีนผลิตยางได้ทั้งสิ้น 140,000 ตัน ส่วนในปี 2526 การผลิตยางพาราของจีนส่วนใหญ่ยังอยู่ที่เกาะไหหลำ คือ ประมาณ 110,000 ตัน รัฐบาลจีนได้พยายามเพิ่มผลผลิตยางพาราโดยขอกู้เงินจากธนาคารโลก...