Browse
Home
» Archives for กุมภาพันธ์ 2013
Browse
Home
» Archives for กุมภาพันธ์ 2013
บริษัท เอเซียเกียร์ริ่ง จำกัด ผลิตและจำหน่าย เครื่องรีดยาง
145/1 ม.4 ต.ตะพง อ.เมืองระยอง จ.ระยอง 21000
E-Mail : asiagearing@gmail.com
Tel. 088-202-0410
ขาย เครื่อง รีด ยาง และ จำหน่าย เครื่อง รีดยาง สอบถาม ราคา เครื่อง รีด ยาง เราเป็น ร้าน เครื่อง รีด ยาง ที่ผลิตและสร้าง เครื่องรีดยาง จำหน่าย เครื่อง รีด ยาง ราคา ถูกกว่าที่อื่น เพราะเราทำ เครื่องรีดยางยาง เครื่องรีดยางพารา เครื่องรีดยางเครป ด้วยตัวเองทั้งหมด
สินค้าและบริการ
เครื่องรีดยางแผ่น
เครื่องนวดยาง
ขาย เครื่อง รีด ยาง
ราคาเครื่องรีดยางพารา
ตัวอย่าง เครื่องรีดยาง ของเรา
145/1 ม.4 ต.ตะพง อ.เมืองระยอง จ.ระยอง 21000
E-Mail : asiagearing@gmail.com
Tel. 088-202-0410
ขาย เครื่อง รีด ยาง และ จำหน่าย เครื่อง รีดยาง สอบถาม ราคา เครื่อง รีด ยาง เราเป็น ร้าน เครื่อง รีด ยาง ที่ผลิตและสร้าง เครื่องรีดยาง จำหน่าย เครื่อง รีด ยาง ราคา ถูกกว่าที่อื่น เพราะเราทำ เครื่องรีดยางยาง เครื่องรีดยางพารา เครื่องรีดยางเครป ด้วยตัวเองทั้งหมด
สินค้าและบริการ
เครื่องรีดยางแผ่น
เครื่องนวดยาง
ขาย เครื่อง รีด ยาง
ราคาเครื่องรีดยางพารา
ตัวอย่าง เครื่องรีดยาง ของเรา
ตัวอย่าง_เครื่องรีดยาง_เครป |
ตัวอย่าง_เครื่องรีดยาง_เครป |
ตัวอย่าง_เครื่องรีดยาง_เครป |
ตัวอย่าง_เครื่องรีดยาง_เครป |
ตัวอย่าง_เครื่องรีดยาง_เครป |
ตัวอย่าง_เครื่องรีดยาง_เครป |
ตัวอย่าง_เครื่องรีดยาง_เครป |
ตัวอย่าง_เครื่องรีดยาง_เครป |
ตัวอย่าง_เครื่องรีดยาง_เครป |
ตัวอย่าง_เครื่องรีดยาง_เครป |
Browse
Home
» Archives for กุมภาพันธ์ 2013
การเตรียมหลุมปลูก
หลุมปลูกยางโดยทั่วไปจะมีขนาดกว้าง x ยาวxลึก เท่ากับ 50 x 50 x 50 เซนติเมตร การขุดหลุมปลูกควรแยกดินบนและดินล่างไว้คนละส่วน ตากดินทิ้งไว้ 10-15 วัน จากนั้นย่อยดินบนให้ร่วนแล้วผสมปุ๋ยร้อคฟอสเฟต อัตรา 170 กรัมต่อหลุม
การปลูกซ่อม
หลังจากปลูกแล้วอาจมีต้นยางบางต้นตายไปเนื่องจากอากาศแห้งแล้ง ถูกโรคและแมลงทำลาย หรือต้นที่ปลูกไม่สมบูรณ์ จำเป็นต้องปลูกซ่อม ซึ่งควรทำให้เสร็จภายในช่วงฤดูฝน ต้นพันธุ์ที่เหมาะสำหรับปลูกซ่อม คือ ยางชำถุง เพราะจำทำให้ต้นยางที่ปลูกในแปลงมีขนาดไล่เลี่ยกัน ส่วนต้นยางที่มีอายุเกิน 1 ปี ไปแล้วไม่ควรปลูกซ่อม เพราะจะถูกบังร่มไม่สามารถเจริญเติบโตทันต้นอื่นได้
การกำจัดวัชพืช
การกำจัดวัชพืชทำได้ 3 วิธีคือ
1. ใช้จอบถากหรือแทรกเตอร์ไถ วิธีนี้เกษตรกรนิยมใช้มากแต่มีข้อเสียคือจะกระทบกระเทือนต่อราก ทำให้ต้นยางชะงักการเจริญเติบโต
2. ใช้วิธีปลูกพืชคลุมดิน โดยนำเมล็ดพืชคลุมดินแต่ละชนิดมาผสมกันแล้วนำไปปลูกโดยใช้เมล็ดพืชคลุมดินในอัตรา 1 กิโลกรัมต่อพื้นที่ปลูกยาง 1 ไร่ ยกเว้นในท้องที่แห้งแล้งใช้อัตรา 1.5 กิโลกรัมต่อไร่ อัตราการผสมเมล็ดพืชคลุมดิน
ภาคใต้และภาคตะวันออก
- คาโลโปโกเนียม 2 ส่วน เซนโตรซีม่า 2 ส่วน เพอราเรีย 1 ส่วน
- คาโลโปโกเนียม 5 ส่วน เซนโตรซีม่า 4 ส่วน เพอราเรีย 1 ส่วน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- คาโลโปโกเนียม 1 ส่วน เพอราเรีย 1 ส่วน
โดยก่อนปลูกควรนำเมล็ดพืชคลุมดินไปแช่ในน้ำอุ่น (น้ำร้อน 2 ส่วนผสมกับน้ำเย็น 1 ส่วน) ทิ้งไว้ 1 คืน แล้วเทน้ำทิ้ง ปล่อยให้เมล็ดแห้งพอหมาด จากนั้นนำเมล็ดไปคลุกกับปุ๋ยร้อคฟอสเฟตในปริมาณที่เท่ากันโดยน้ำหนัก แล้วจึงนำไปปลูกได้
- วิธีการปลูกพืชคลุมดิน ให้ใช้จอบขุดดินเป็นร่องลึกประมาณ 2-3 นิ้ว ให้เป็นแถว 3 แถว โดยให้แถวริมที่อยู่ชิดแถวยางอยู่ห่างจากแถวยางข้างละ 2 เมตร ส่วนแถวกลางให้อยู่ระหว่างกลางของแถวริมทั้งสอง นำเมล็ดพืชคลุมดินโรยลงในร่องแล้วเกลี่ยดินกลบเมล็ด
การปลูกพืชคลุมดินนี้จะลงมือปลูกพืชคลุมดินก่อนหรือจะปลูกพร้อมๆกับปลูกยาง หรือหลังปลูกยางแล้วก็ได้ แต่เพื่อความสะดวกและง่ายต่อการกำจัดวัชพืชควรปลูกพืชคลุมดินหลังจากได้เตรียมดินวางแนวและกะ ระยะปลูกยาง เสร็จเรียบร้อยแล้ว
หลังจากปลูกพืชคลุมดินจนกระทั่งเมล็ดงอกเป็นต้นกล้าเล็กๆแล้ว ควรดูแลกำจัดวัชพืชอย่างสม่ำเสมอจนกระทั่งพืชคลุมดินเริ่มทอดเถาเลื้อยไปคลุมดินจึงใส่ปุ๋ยร้อคฟอสเฟต ในอัตรา 6 กิโลกรัมต่อไร่เพื่อบำรุงพืชคลุมดิน
3. การใช้สารเคมี เป็นวิธีที่ให้ผลดี ประหยัดแรงงาน และเวลา นิยมใช้กับต้นยางที่มีอยายุ 1 ปีขึ้นไป หรือต้นยางที่มีเปลือกบริเวณโคนต้นเป็นสีน้ำตาลสูงจากพื้นดินมากกว่า 75 เซนติเมตรไปแล้ว ส่วนต้นยางที่มีเปลือกบริเวณโคนต้นเป็นสีน้ำตาลสูงจากพื้นดินน้อยกว่า 75 เซนติเมตรไม่ควรใช้วิธีนี้
การใช้สารเคมีกำจัดพืชสำหรับยางอ่อน
การปลูกยางโดยใช้ต้นตอตาหรือยางชำถุง จะใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชในแถวยางได้อย่างปลอดภัยต่อเมื่อต้นยางมีเปลือกสีน้ำตาลที่บริเวณ โคนต้นสูงจากพื้นดิน 75 เซนติเมตร สารเคมีที่ใช้ในสวนยางอ่อนมีอยู่หลายสูตร แต่จะแนะนำเฉพาะบางสูตรที่หาได้ง่ายเช่น
สูตรที่ 1 ใช้พาราควอท 80 กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 50 ลิตรต่อพื้นที่ 1 ไร่ ระวังอย่าให้สารเคมีถูกใบหรือส่วนที่เป็นสีเขียวของต้น สูตรนี้จะเหมาะกับต้นยางที่มีอายุตั้งแต่ 2 เดือนขึ้นไป สามารถคุมวัชพืชได้นาน 3-5 สัปดาห์โดยหลังจากพ่นสารเคมีแล้วยภายใน 2-3 ชั่วโมง จะต้องไม่มีฝนตก การใช้สารเคมีจึงจะได้ผลสมบูรณ์
สูตรที่ 2 ใช้ดาลาพอน 800 กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 50 ลิตรต่อพื้นที่ 1 ไร่ ฉีดพ่น และหลังจากนั้นอีก 21 วัน ให้พ่นซ้ำด้วยพาราควอท 40 กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 50 ลิตรต่อพื้นที่ 1 ไร่ อีกครั้งหนึ่ง สูตรนี้เหมาะกับต้นยางที่มีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป โดยส่วนใหญ่จะใช้กำจัดวัชพืชพวกใบเลี้ยงเดี่ยว
สูตรที่ 3 ใช้พาราควอท 60 กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) และ 2,4-ดี 150 กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 50 ลิตรต่อพื้นที่ 1 ไร่ สุตรนี้จะเหมาะกับต้นยางที่มีอายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่จะใช้กำจัดวัชพืชพวกใบเลี้ยงคู่ รวมทั้งพืชคลุมที่เลื้อยเข้าไปพันต้นยาง
สูตรที่ 4 ใช้ไกลโฟเสท 205 กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 50 ลิตรต่อพื้นที่ 1 ไร่ สามารถกำจัดวัชพืชได้หลายชนิดโดยไม่มีพิษตกค้างในดิน สามารถคุมวัชพืชได้นาน 2 เดือน สูตรนี้เหมาะกับต้นยางที่มีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป โดยหลังจากพ่นสารเคมีแล้วภายใน 6 ชั่วโมง จะต้องไม่มีฝนตก การใช้สารเคมีจึงจะได้ผลสมบูรณ์
การใช้สารเคมีกำจัดพืชสำหรับสวนยางที่กรีดแล้ว
ใช้พาราควอท 80 กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 50 ลิตรฉีดพ่นในพื้นที่ 1 ไร่ โดยใช้หัวฉีดสีเหลือง
การกำจัดหญ้าคา
การใช้สารเคมีกำจัดหญ้าคานับว่าเป็นวิธีที่ประหยัดค่าใช้จ่ายและได้ผลดีกว่าวิธีอื่นๆ โดยมีสูตรการใช้สารเคมีให้เลือก 3 สูตรคือ
สูตรที่ 1 ใช้ดาราพอน 1.6 กิโลกรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 100 ลิตรต่อพื้นที่ 1 ไร่ โดยใช้หัวฉีดสีแดง หลังจากฉีดพ่นแล้ว 21 วัน ให้ใช้ดาลาพอนในอัตราเดิมฉีดพ่นซ้ำอีกครั้ง จากนั้นประมาณ 3-4 เดือน หากมีหญ้าคางอกหรือหลงเหลืออยู่ ควรฉีดพ่นสารเคมีอีกครั้งในอัตราเดิม
สูตรที่ 2 ถ้าต้นยางมีอายุตั้งแต่ 2 ปี ลงมาและมีหญ้าคาขึ้นบริเวณโคนต้น ให้ฉีดพ่นด้วยด้วยดาลาพอน 1.6 กิโลกรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 100 ลิตรต่อพื้นที่ 1 ไร่ หลังจากฉีดพ่นแล้ว 21 วัน ให้ใช้พาราควอท 80 กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 100 ลิตรต่อพื้นที่ 1 ไร่ เพื่อลดอันตรายของต้นยางอ่อนซึ่งอาจเกิดขึ้นจากดาลาพอน
สูตรที่ 3 ใช้ไกลโฟเสท 410 กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 100 ลิตรต่อพื้นที่ 1 ฉีดพ่นเพียงครั้งเดียว
ข้อสังเกต การกำจัดหญ้าคาควรฉีดพ่นสารเคมีในช่วงที่หญ้าคากำลังเจริญเติบโต (ต้นฤดูฝน) จะได้ผลดีที่สุด การกำจัดหญ้าคาด้วยไกลโฟเสทให้ผลดีกว่าดาลาพอน ซึ่งดาลาพอนต้องพ่นถึง 2 ครั้ง แต่เมื่อเปรียบเทียบทางด้านค่าใช้จ่ายแล้วการใช้ดาลาพอนจะประหยัดกว่า
หมายเหตุ : เนื้อสารบริสุทธิ์ หมายถึง ปริมาณสารออกฤทธิ์ซึ่งจะต้องปรากฏในฉลากที่ภาชนะบรรจุเป็นภาษาไทยตามพระราชบัญญัติวัตถุมีพิษ พ.ศ. 2510 มาตรา 21
Browse
Home
» Archives for กุมภาพันธ์ 2013
การปลูก ยางพารา
นับตั้งแต่ปี 2534 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยได้ก้าวขึ้นเป็นผู้ผลิตและส่งออกยางพาราเป็นอันดับ 1 ของโลก จากการสำรวจเมื่อปี 2537 พบว่า มีพื้นที่ปลูกยางพาราประมาณ 11.9 ล้านไร่ ผลิตยางได้ 1.72 ล้านตัน สามารถส่งออกขายยังต่างประเทศได้ถึง 1.6 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 41,352 ล้านบาท ดังนั้น ยางพาราจึงเป็นพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ สามารถนำรายได้เข้าสู่ประเทศได้มากพืชหนึ่ง และเพื่อเป็นการรักษาสภาพการผลิตและการส่งออกไม่ให้ลดต่ำกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เกษตรกรผู้ปลูกยางจึงควรมีความรู้และมีการปฏิบัติดูแลปรับปรุงสวนยางให้ดี เพื่อให้ได้ผลผลิตสูงสม่ำเสมอและมีคุณภาพ
พันธุ์ยางที่แนะนำสำหรับเกษตรกรทั่วไป
สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร ได้ออกคำแนะนำพันธุ์ยางปี 2536 สำหรับเกษตรกรทั่วไปไว้ดังนี้
พันธุ์ยางชั้น 1 ได้แก่ ยางพันธุ์ดีแนะนำให้เกษตรกรปลูกโดยไม่จำกัดพื้นที่ปลูก
พันธุ์ยางชั้น 2 ได้แก่ ยางพันธุ์ดี แนะนำให้เกษตรกรปลูกโดยจำกัดพื้นที่ปลูก ปลูกได้ไม่เกินร้อยละ 30 ของพื้นที่ปลูกยางที่ถือครองแต่ละพันธุ์ควรปลูกไม่น้อยกว่า 7 ไร่
พันธุ์ยางชั้น 3 ได้แก่ ยางพันธุ์ดี แนะนำให้เกษตรกรปลูกโดยกำจัดพื้นที่ปลูก ปลูกได้ไม่เกินร้อยละ 20 ของพื้นที่ปลูกยางที่ถือครองแต่ละพันธุ์ควรปลูกไม่น้อยกว่า 7 ไร่
พันธุ์ยางที่แนะนำให้ปลูกในแหล่งปลูกยางเดิม (ภาคใต้และภาคตะวันออก)
พันธุ์ยางชั้น 1 BPM 24, สงขลา 36 2/, RRIM 600, GT 1, PR 255, PR 261
พันธุ์ยางชั้น 2 PB 217, RRIC 110, RRIC 100, PB 260, PB 255, PB 235
พันธุ์ยางชั้น 3 KRS 251, PR 305, PR 302, RRIC 101, BPM 1, RRIM 712, KRS 250, KRS 226, KRS 225, KRS 218, PB 311, RRIC 121
พันธุ์ยางที่แนะนำให้ปลูกในแหล่งปลูกยางใหม่ (ภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
พันธุ์ยางชั้น 1 RRIM 600, GT 1, สงขลา 36, BPM 24, PR 255
พันธุ์ยางชั้น 2 PB 235, PB 260
ความเตรียมพื้นที่ปลูกยาง
ในพื้นที่ที่เป็นสวนยางเก่า ป่า หรือมีไม้ยืนต้นอื่นขึ้นอยู่จะต้องโค่นไม้เหล่านั้นเสียก่อน การโค่นจะใช้วิธีตัดต้นไม้ให้เหลือตอสูง 40-50 เซนติเมตร แล้วทำลายตอไม้เหล่านั้นให้ผุสลายในภายหลัง โดยใช้สารเคมีไทรโคลเปอร์ หรือการ์ลอน 4 (ชื่อการค้า) ในอัตรา 5 ซี.ซี. ผสมน้ำ 95 ซี.ซี. ต่อตอ โดยทาก่อนหรือหลังตัดต้นไม้ 1-7 วันก็ได้ หรือจะใช้รถแทรกเตอร์ไถต้นไม้ออกจากแปลงให้หมดก็ได้เช่นกัน หลังจากโค่นต้นยางเก่า หรือต้นไม้อื่นๆ แล้วต้องเก็บไม้ใหญ่ออก จากนั้นเก็บเศษไม้รวมเป็นกองๆ เรียงเป็นแนวตามพื้นที่ ตากให้แห้ง ทำแนวกันไฟแล้วเผา หลังจากเผาเสร็จควรเก็บปรนที่ยังไหม้ไม่หมดรวมกันเผาอีกครั้ง
เครื่องจักรที่เกี่ยวข้องกับ ยางพารา
หลังจากที่ได้ผลผลิตเีกี่ยวกับการปลูกยางแล้ว แล้วนำยางที่ได้มาแปรรูป เครื่องจักรที่มีส่วนเกี่ยวข้องการมีบทบาทที่สำคัญ อาทิเช่น เครื่องรีดยาง เครื่องรีดยางพารา จักรรีดยาง เครื่องรีดยางเครป เป็นต้น ซึ่ง เครื่องจักรเหล่านี้ อาจมีราคาที่สูง ยกตัวอย่างเช่น เครื่องรีดยาง และ เครื่องรีดยางเครป ราคาเริ่มต้นที่ 190,000 บาท แต่ผู้ประกอบการที่ลงทุนในการนำยางพารามาแปรรูปเพื่อขายต่อก็ต้องยอมลงทุนในส่วนนี้
Browse
Home
» Archives for กุมภาพันธ์ 2013
ลักษณะ ส่วนต่างๆ
ของ ยางพารา
ยางพาราเป็น พืชยืน ต้นขนาด ใหญ่ มี อายุยืน ยาวหลาย สิบปี เป็นพืช ใบเลี้ยง คู่
ซึ่งมี ส่วนประกอบ ต่างๆ ดัง นี้
ลำ 1. 2. เยื่อ 3. |
|
ใบ
- |
|
ผล
- |
|
เมล็ด
- มี |
|
น้ำ |
Browse
Home
» Archives for กุมภาพันธ์ 2013
บริษัท เอเซียเกียร์ริ่ง จำกัด
ขาย เครื่อง รีด ยาง และ จำหน่าย เครื่อง รีดยาง สอบถาม ราคา เครื่อง รีด ยาง เราเป็น ร้าน เครื่อง รีด ยาง ที่ผลิตและสร้าง เครื่องรีดยาง จำหน่าย เครื่อง รีด ยาง ราคา ถูกกว่าที่อื่น เพราะเราทำ เครื่องรีดยางยาง เครื่องรีดยางพารา เครื่องรีดยางเครป ด้วยตัวเองทั้งหมด
สินค้าและบริการ
เครื่องรีดยางแผ่น
เครื่องนวดยาง
ขาย เครื่อง รีด ยาง
ราคาเครื่องรีดยางพารา
ตัวอย่าง เครื่องรีดยาง ของเรา
ขาย เครื่อง รีด ยาง และ จำหน่าย เครื่อง รีดยาง สอบถาม ราคา เครื่อง รีด ยาง เราเป็น ร้าน เครื่อง รีด ยาง ที่ผลิตและสร้าง เครื่องรีดยาง จำหน่าย เครื่อง รีด ยาง ราคา ถูกกว่าที่อื่น เพราะเราทำ เครื่องรีดยางยาง เครื่องรีดยางพารา เครื่องรีดยางเครป ด้วยตัวเองทั้งหมด
สินค้าและบริการ
เครื่องรีดยางแผ่น
เครื่องนวดยาง
ขาย เครื่อง รีด ยาง
ราคาเครื่องรีดยางพารา
ตัวอย่าง เครื่องรีดยาง ของเรา
เครื่องรีดยาง |
เครื่องรีดยาง |
เครื่องรีดยาง |
เครื่องรีดยาง |
เครื่องรีดยาง |
เครื่องรีดยาง |
เครื่องรีดยาง |
เครื่องรีดยาง |
เครื่องรีดยาง |
Browse
Home
» Archives for กุมภาพันธ์ 2013
ฤดูกาลที่เหมาะต่อการเปิดกรีดยางพารา
ในแต่ละรอบปี เมื่อพ้นฤดูฝน และย่างเข้าสู่ต้นฤดูหนาว
ถือได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมต่อการเปิดกรีดยางมากที่สุดช่วงหนึ่ง
เนื่องเพราะช่วงฤดูหนาวจะทำให้น้ำยางไหลนานและได้รับผลผลิตน้ำยางเป็นจำนวน
มากกว่าช่วงอื่น ๆ เป็นอย่างมากและเห็นชัดเจน และการเปิดกรีดในช่วงนี้
หน้ายางจะปลอดภัยจากการเข้าทำลายของเชื้อรา ไม่ว่าจะเป็นโรคเปลือกเน่า
(Mouldy rot) หรือโรคเส้นดำ (Black stripe) ซึ่งโรคทั้งสองนี้
มักระบาดมากในช่วงฤดูฝนที่มีความชื้นในอากาศสูง
โดยเฉพาะกับต้นยางที่เพิ่งเปิดกรีด ที่เปลือกยางและเยื่อเจริญ (Cambium)
ยังค่อนข้างบางอยู่มาก
จึงมักจะทำให้เกิดอาการหน้ากรีดเน่าหรือเปื่อยเป็นแผลขนาดใหญ่
จนทำให้ต้นยางไม่สามารถสร้างเปลือกใหม่ที่สมบูรณ์
กลายเป็นเปลือกที่มีลักษณะเป็นตะปุ่มตะป่ำ ยากต่อการกรีดซ้ำได้ และ
ถึงแม้ว่า ช่วงนี้จะเป็นช่วงที่เหมาะสมต่อการเปิดกรีดยาง
แต่ถ้าขนาดต้นยางในสวนที่ระดับความสูง 150 เซ็นติเมตร
ยังโตไม่ได้ขนาดเส้นรอบวง 50 เซนติเมตร ก็ไม่ควรเปิดกรีดเป็นอย่างยิ่ง
เพราะผลเสียอย่างมหันต์จะต้องตามติดมาเป็นเงาตามตัว
อย่างไม่อาจที่จะปฏิเสธได้
Browse
Home
» Archives for กุมภาพันธ์ 2013
วันยางพาราบึงกาฬ 2012 ยกระดับชาวสวน สู่ศูนย์กลางยางแห่งแดนอีสาน
ข่าววันนี้ : เครื่องรีดยาง , เครื่องรีดยางพารา
ด้วยความพยายามกว่า 20 ปี ในการขยับขยายพื้นที่การปลูก " ยางพารา " ไปสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยหน่วยงานรัฐบาล อาทิ กรมส่งเสริมการเกษตร, สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง, สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม, สำนักงานเกษตรจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับท้องถิ่น ตลอดจนภาคเอกชน ที่ร่วมกันส่งเสริมอย่างแข็งขัน ส่งผลให้ทุกวันนี้การปลูกยางพาราในภาคอีสานเจริญเติบโตและออกดอกออกผลงดงาม โดยเฉพาะ "บึงกาฬ" จังหวัดน้องใหม่ ซึ่งกำลังจะกลายเป็นเมืองหลวงยางพาราแห่งภาคอีสาน พื้นที่ โดยรวมในจังหวัดบึงกาฬมีอยู่ราว 2.7 ล้านไร่ เป็นพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมด 1.6 ล้านไร่ ในจำนวนนี้เป็นพื้นที่ปลูกยางพาราที่ขึ้นทะเบียนไว้กับสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง จำนวน 8 แสนไร่และที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนอีกประมาณ 4 แสนไร่ รวมทั้งสิ้น 1.2 ล้านไร่ นับเป็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ราคาที่ดินพุ่งขึ้นสู่หลักหมื่นบาทต่อไร่ จากเดิมที่เพียงไม่กี่พันบาทเท่านั้น สาเหตุที่ทำให้การปลูกยางพาราใน จ.บึงกาฬ ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสภาพภูมิประเทศที่อยู่ในร่องมรสุมจากอ่าวตังเกี๋ยซึ่งพัดเอา ฝนเข้ามา ส่งผลให้มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 2,000-2,300 มิลลิเมตรต่อปี ประกอบกับได้รับความชื้นจากแม่น้ำโขงตลอดแนว รวมทั้งสภาพดินริมแม่น้ำโขงซึ่งเป็นแหล่งสะสมของปุ๋ยธรรมชาติที่พัดมากับน้ำ และตกตะกอน ทำให้พื้นที่นี้มีความชื้น เหมาะแก่การปลูกพืชทุกชนิด แม้แต่ในฤดูแล้งที่สำคัญ การปลูกยางพาราเป็นช่องทางใหม่ที่ทำให้เกษตรกรชาวสวนยางและผู้ประกอบการสามารถพึ่งตนเองได้ มีรายได้ที่ดีขึ้น มีบ้านหลังใหม่ มีรถขับ และมีเงินที่จะส่งเสียให้ลูกหลานให้มีการศึกษาที่ดี จึงไม่น่าแปลกใจที่ชาวบึงกาฬหันมาปลูกยางพารากว่า 52,000 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 60 ของจำนวนประชากรทั้งหมด
ด้วยเหตุนี้ จังหวัดบึงกาฬ จึงจับมือกับกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และบริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) ร่วมกันจัดงาน "วันยางพาราบึงกาฬ 2012 (Rubber Day 2012)" ขึ้น โดยมีผู้ให้การสนับสนุนอีกมากมาย ในวันประกาศความพร้อม การจัดงานที่จะมีขึ้น พินิจ จารุสมบัติ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นหนึ่งในเกษตรกร ผู้ปลูกยางพาราในจังหวัดบึงกาฬ ได้มาร่วมเล่าประสบการณ์ปลูก ยางพารา และได้เป็นแบบอย่างให้ชาวบึงกาฬในการทำสวนยางพารามากว่า 15 ปี อดีต รองนายกรัฐมนตรี บอกว่า สิ่งสำคัญซึ่งเป็นหัวใจในการจัดงาน "วันยางพาราบึงกาฬ 2012" คือเรื่องนวัตกรรมที่จะให้ความรู้และยกระดับเกษตรกร โดยความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่มีภูมิปัญญาในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเกษตรกร, กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์, บริษัทผู้จัดจำหน่ายเครื่องจักร และเทคโนโลยีการเกษตร ตลอดจนเครือมติชนซึ่งมีนิตยสาร "เทคโนโลยี ชาวบ้าน" ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการเกษตรโดยตรง "ปัจจุบัน ไทยเป็นผู้ส่งออกยางพาราเป็นอันดับหนึ่งของโลก โดยมีอินโดนีเซียและมาเลเซีย เป็นอันดับ 2 และ 3 แต่ผลผลิตต่อไร่ต่อปีของไทยยังเป็นรองมาเลเซีย ซึ่งมีอัตราผลผลิตอยู่ที่ 310 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี ส่วนของเราอยู่ที่ 285 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี คำถามสำคัญคือ ทำอย่างไรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ" เป็นคำถามชวนคิด ที่น่าร่วมกันค้นหาคำตอบ
พินิจ กล่าวอีกว่า ขณะนี้การกำหนดราคายางขึ้นอยู่กับตลาดโลก ไม่มีใครสามารถทำการผูกขาดได้ ทุกวันนี้ กล้ายางพาราไทยส่งออกไปยังบริษัทชั้นนำไม่ว่าจะเป็น บริดจสโตน, มิชลิน หรือกูดเยียร์ เพราะฉะนั้น การจัดงานวันยางพาราจึงเป็นโอกาสอันดีที่จะส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเพื่อ สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับการปลูกยางพาราโดยอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน "ถ้าเราให้ความรู้ความเข้าใจ ช่วยกันวิจัยแล้วพัฒนาจะทำให้คุณค่าเพิ่มสูงขึ้น วันนี้ ธ.ก.ส.เข้ามาช่วยในเรื่องวิสาหกิจชุมชน อัพเกรดจากยางก้อนถ้วยไปทำเป็นยางแผ่น แทนที่จะได้ยางก้อนถ้วยกิโลละ 41-42 บาท แต่ ยางแผ่นดิบอบได้ 79 บาท เราจะหยุดอยู่แค่นี้ไม่ได้ ต้องพัฒนาไปถึงระดับสินค้าสำเร็จรูป (Finished Product) เช่น ที่รองโต๊ะ-เก้าอี้ "ความฝันของเราที่จะมีโรงงานยางรถยนต์ที่บึงกาฬ อันนี้ต้องมีแน่ ไม่ต้องห่วง จึงขอเชิญชวนผู้ที่สนใจเรื่องยางพารามาร่วมงาน งานนี้มีแต่ได้กับได้ ใครไม่มางานนี้แสดงว่าไม่ใช่ชาวสวนยาง" พินิจกล่าว ความตื่นตัวในการ ปลูก ยางพารา ไม่ได้มีเฉพาะแต่ในภาคอีสานเท่านั้น แต่ประเทศเพื่อนบ้านอย่าง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ก็ตื่นตัวไม่แพ้กัน คาดว่างานนี้จะมีชาวลาวเข้ามาร่วมงานเป็นจำนวนมาก
สงกรานต์ คำพิไสย์ กรรมการองค์การสวนยาง กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ กล่าวว่า เกษตรกรทั้งในประเทศไทยและลาวมีความสนใจที่จะเข้าร่วมงาน เพราะจะได้รับความรู้ตั้งแต่เริ่มปลูก คนที่อยากปลูกก็จะได้รู้ว่าควรเลือกพันธุ์ไหนไปปลูก คนที่ปลูกอยู่แล้วก็จะได้รู้ว่าจะบำรุงรักษาต้นยางอย่างไร ต้องใช้ปุ๋ยหรือวัตถุดิบอะไรเพื่อให้ยางเจริญงอกงาม คนที่ยางโตแล้วจะกรีด ก็จะได้เรียนรู้ว่าควรกรีดอย่างไร ส่วนคนที่ได้กรีดแล้ว ก็จะมีตัวเลือกว่าจะแปรรูปยางเป็นอะไร เป็นยางแผ่น ยางก้อนถ้วย หรือยางเครป "การ ทำสวนยางเป็นอาชีพหนึ่งที่คนรับจ้างได้ส่วนแบ่งมากกว่าเจ้าของกิจการ ส่วนใหญ่เขาจะแบ่งรายได้ 40:60 เจ้าของได้ 60 เปอร์เซ็นต์ คนรับจ้างได้ 40 เปอร์เซ็นต์ แต่จริงๆ แล้ว เจ้าของลงทุนซื้อที่ดิน ลงทุนปลูก ลงทุนบำรุงรักษามา 7 ปี เท่ากับว่าเจ้าของสวนได้ 40 เปอร์เซ็นต์ คนกรีดได้ 60 เปอร์เซ็นต์ ถือเป็นการกระจายรายได้ ชาวบ้านลืมตาอ้าปากและได้ประโยชน์มากที่สุด" สวกรานต์กล่าว
มาถึง ธงชัย ลืออดุลย์ พ่อเมืองจังหวัดน้องใหม่อย่างบึงกาฬ ธง ชัยบอกว่า งานวันยางพาราบึงกาฬจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 แล้ว ภายในงานจะมีการให้ความรู้ทางด้านวิชาการแก่เกษตรกรและการจัดสัมมนาทาง วิชาการ ตั้งแต่กระบวนการผลิตไปจนถึงกระบวนการขายและการตลาด นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมความบันเทิงโดยศิลปินชื่อดังจากค่ายแกรมมี่โกลด์ ถือเป็นงานใหญ่ประจำจังหวัดบึงกาฬที่ผู้เข้าชมจะได้ทั้งความรู้และความสุข "เรา คาดว่า ในอนาคตจังหวัดบึงกาฬจะเป็นจังหวัดที่จะพัฒนาการปลูกยางพาราให้เป็น อุตสาหกรรม ยางพารา ครบวงจร ทั้งด้านการผลิตยางรถยนต์ รวมถึงการขนส่งและระบบโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพ จากการสร้างสะพานมิตรภาพแห่งที่ 5 เชื่อมต่อไปยังเมืองปากซันในประเทศลาว ซึ่งน่าจะแล้วเสร็จภายในปี พ.ศ.2558 เปิดเส้นทางการขนส่งไปยังท่าเรือเมืองวิน ประเทศเวียดนาม ก่อนจะส่งออกไปสู่ประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้" พ่อเมืองบึงกาฬกล่าว
ทั้งนี้ งานจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 13-16 ธันวาคม พ.ศ.2555 ตั้งแต่เวลา 11.00-23.00 น. ณ ศาลากลางจังหวัดบึงกาฬ ภายในงานมีกิจกรรมน่าสนใจมากมาย อาทิ นิทรรศการ "ในหลวงกับจังหวัดบึงกาฬ ราชาแห่งเกษตรกรรม", กิจกรรมส่งเสริมความรู้และอาชีพ ทั้ง ในรูปแบบการแข่งขันและการสาธิตต่างๆ อาทิ การประกวดสวนยางสวยงาม, การประกวดยางแผ่น, มุม "คลินิกยาง" เพื่อให้คำปรึกษาเกษตรกร นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ด้านการเกษตร จากบริษัทชั้นนำต่างๆ รวมทั้งกิจกรรมความบันเทิงจากศิลปินชื่อดัง อาทิ นกน้อย อุไรพร, ไผ่-พงศธร, ปู-พงษ์สิทธิ์, ศิริพร อำไพพงษ์ เป็นต้น งานนี้ต้องบอกว่าพลาดไม่ได้ด้วยประการทั้งปวง!
ปิยะชาติ มงคลไชยสิทธิ์
กรรมการผู้จัดการ บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) "เรา มุ่งหวังที่จะเป็นสื่อช่วยเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับยางพารา ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญที่สร้างรายได้หลักเข้าสู่ประเทศ ตลอดจนเป็นการตอบสนองนโยบายของรัฐบาลในการช่วยผลักดันขับเคลื่อนการพัฒนาบึง กาฬสู่การเป็นหนึ่งในเมืองอุตสาหกรรมยางพารา เพื่อร่วมเสริมสร้างเศรษฐกิจของภาคอีสานและของประเทศไทยต่อไปในอนาคต"
ลักษณ์ วจนานวัช
ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ฯ "จังหวัด บึงกาฬถือเป็นเมืองหลวงของยางพาราแห่งภาคอีสาน มีการรวมตัวของเกษตรกรทั้งในระดับวิสาหกิจชุมชนและสหกรณ์กว่า 80 กลุ่ม และในภาพรวมนั้นมีห่วงโซ่ของการผลิต ยางพารา ที่ครบวงจรทั้งการผลิต การแปรรูป และการตลาด ซึ่ง ธ.ก.ส.ได้วางยุทธศาสตร์สนับสนุนเงินทุนให้แก่ทุกกลุ่ม ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เพื่อต่อยอดและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอุตสาหกรรมยางพาราที่กำลังขยายตัวได้"
ชัชวาลย์ ชัยเชาวรัตน์
ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ "ตั้งแต่ ประมาณปี พ.ศ.2530 ที่เราได้เริ่มบุกเบิกการปลูก ยางพารา ที่จังหวัดหนองคาย มาถึงวันนี้ อยากจะให้พี่น้อง โดยเฉพาะในอีก 19 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้มาดูต้นแบบที่บึงกาฬว่าเขาทำอย่างไรถึง ประสบความสำเร็จ สามารถพัฒนาชีวิตของเกษตรกรให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีรายได้ที่มั่นคง ผมเชื่อมั่นว่าในอนาคตยางพาราจะเป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจสำคัญของชาวอีสาน"
Browse
Home
» Archives for กุมภาพันธ์ 2013
ประเทศไทยกับการเป็นผู้นำการผลิตยางพาราโลก
ข่าววันนี้ : เครื่องรีดยาง , เครื่องรีดยางพารา
ความ ต้องการ ยางพารา ในตลาดโลกจะยังคงขยายตัวสูงแบบก้าวกระโดดในช่วง 10 ปีข้างหน้า โดยตลาดหลักสำคัญเป็นจีนและอินเดียที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ขณะที่ประเทศไทยจะเป็นผู้นำตลาดแบบไร้คู่แข่งจาก การเข้าร่วมประชุม Kerala Rubber Convention 2011 ที่รัฐเกรละ แหล่งปลูกยางพาราสำคัญของอินเดีย ในปี 2554 นี้คาดว่าผลผลิตยางพาราอินเดียจะไม่พอเพียงกับความต้องการ และต้องนำเข้าไม่น้อยกว่า 144,000 ตัน โดยจะมีการนำเข้าจากไทยและอินโดนีเซียเป็นหลัก
สาเหตุ
สำคัญเนื่องจากอุตสาหกรรมยานยนต์อินเดียมีการเติบโตสูง โดยในปี 2553
ขยายตัว 26% มียอดการผลิตถึง 15.5 ล้านคัน
ขณะที่ผลผลิตยางพาราในประเทศเพิ่มขึ้นไม่มากนัก
สำหรับแนวโน้มความต้องการยางพาราในตลาดโลกจะยังคงขยายตัวสูงอย่างต่อเนื่อง
ต่อไปในอีก 10 ปีข้างหน้า โดยในปี 2558 คาดว่าจะมีความต้องการ 13.1 ล้านตัน
และ ในปี 2563 จะเพิ่มเป็น 15.4 ล้านตัน จากปัจจุบันที่มีความต้องการ 11
ล้านตัน
สำหรับสถานการณ์ตลาด ยางพารา โลกที่สำคัญ มีดังนี้
1. การบริโภคยางในตลาดโลก ความต้องการยางพาราในตลาดโลกในปี 2554 มีราว 10.97
ล้านตัน ขยายตัว 4.6% ผู้บริโภครายใหญ่ ได้แก่ จีน (3.75 ล้านตัน) อินเดีย
(1.06 ล้านตัน ) สหรัฐ (879,000ตัน) และญี่ปุ่น (769,000 ตัน)
โดยปัจจัยเกื้อหนุนที่สำคัญ คือ
อุตสาหกรรมยานยนต์ที่เติบโตสูงในจีนและอินเดีย
แนวโน้มความต้องการยางพาราในตลาดโลกจะยังคงขยายตัวสูงอย่างต่อเนื่องใน 10
ปีข้างหน้า โดยในปี 2558 คาดว่าจะมีความต้องการ 13.1 ล้านตัน และ ในปี 2563
จะเพิ่มเป็น 15.4 ล้านตัน ขณะที่ผลผลิตจะมีเพียง13.8 ตัน
จึงเป็นที่เกรงกันว่าอาจเกิดการขาดแคลนยางพาราในอนาคตอันใกล้
ใน
ส่วนของจีน ในปี 2553 จีนมีการบริโภคยางพารา 3.75 ล้านตัน
แต่กลับมีผลผลิตในประเทศเพียง 20% ของความต้องการ
และมีแนวโน้มลดต่ำกว่าความต้องการสูงยิ่งขึ้น
จีนจึงต้องนำเข้ายางพาราเป็นหลัก และต้องเข้าไปลงทุนปลูกยางในเวียดนามด้วย
ผู้บริโภคสำคัญในจีนเป็นอุตสาหกรรมผลิตยางรถยนต์คิดเป็น 70%
ของการบริโภครวม ปัจจุบันจีนมีพื้นที่ปลูกยางรวมทั้งสิ้นกว่า 6 .5 ล้านไร่
ผลิต ยางพารา ได้ 687,000 ตันต่อปี สมาคมยางธรรมชาติของจีน (CNRA)
คาดว่าอุปสงค์ยางพาราของในจีนปี 2558 จะพุ่งสูงเกิน 4.8 ล้านตัน
เฉพาะอุตสาหกรรมผลิตยางรถยนต์เพียงอุตสาหกรรมเดียวจะต้องการยางพารากว่า 3.3
ล้านตันในปี 2558
2.
ผลผลิตยางพาราโลก สถาบัน International Rubber Productivity รายงานว่า
ผลผลิตยางพาราโลก ในปี 2554 จะมีราว 10.99 ล้านตัน โดยผู้ผลิตสำคัญ ได้แก่
ไทย (3.44 ล้านตัน) อินโดนิเซีย (2.86 ล้านตัน) มาเลเซีย (1.11 ล้านตัน)
อินเดีย (916,000 ตัน) และเวียดนาม (795,000 ตัน -เป็นการลงทุนโดยจีน)
ไทยยังคงครองความเป็นผู้นำในการผลิตยางพาราไว้ได้อย่างเหนียวแน่น
เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของอากาศโลก ทำให้ภาคอีสานของไทยมีความชื้นสูงขึ้น
เหมาะแก่การปลูกยางพารา กล่าวโดยสรุป ประเทศไทย ณ
ปัจจุบันสามารถปลูก ยางพารา ได้ทุกพื้นที่ของประเทศในทุกๆ จังหวัด
3.
พื้นที่เพาะปลูกยางอินเดีย อินเดียมีพื้นที่ปลูกยาง 4.3 ล้านไร่ (ไทย 16
ล้านไร่) ผลผลิตต่อไร่ของอินเดีย 285.44 กิโลกรัม/ไร่ (ไทย ประมาณ 280
กิโลกรัม/ไร่) อย่างไรก็ตามพื้นที่เพาะปลูกยางของอินเดียส่วนใหญ่ 76%
กระจุกตัวอยู่ที่รัฐเกรละเป็นหลัก โดยเป็นรัฐที่ผลิตยางพาราได้ถึง 92%
ของ
อินเดียแม้ว่าจะมีความพยายามปลูกที่รัฐอื่นเพิ่มเติม
แต่ผลผลิตต่อไร่ก็ไม่สูงเท่าเกรละ (ฤดูฝนของเกรละเป็นช่วง มิย.-ส.ค.)
ซึ่งเป็นรัฐเดียวที่มีภูมิประเทศและฝนตกชุกคล้ายภาคใต้ของไทย
แม้จะมีความพยายามพัฒนาสายพันธุ์ยางฯ
ให้ทนอากาศร้อนและสามารถปลูกนอกเกรละแต่ก็ไม่ได้ผลเท่าที่ควร
อินเดียกำลังพิจารณาลงทุนปลูกยางพาราในแอฟริกาเพื่อตอบรับกับปัญหายางพารา
ที่จะขาดแคลนในอนาคต
4. อุตสาหกรรมยานยนต์อินเดียเป็นผู้บริโภคยางพารารายใหญ่ โดยมีสัดส่วนถึง 62% ใน
ปี 2553 อินเดียมีการผลิตยานยนต์ 15.5 ล้านคัน ขยายตัว 26% (จีน 18.1
ล้านคัน ขยายตัว 32% สำหรับในปี 2554 คาดว่าจะขยายตัว 15%)
ทั้งนี้การผลิตยานยนต์อินเดียแบ่งเป็น จักรยานยนต์ 76% รถยนต์นั่งส่วนบุคคล
16.25% รถบัสและรถบรรทุก 4.36% รถสามล้อเครื่อง 3.39% อุตสากรรมหลักที่มีการบริโภคยางพารา ได้แก่ ยางรถยนต์/จักรยานยนต์
(55%)ยางจักรยาน/ยางใน (11%) รองเท้า (10%) สายยาง (5%) และอื่นๆ (19%)
5. อุปสงค์-อุปทาน ยางพารา ในอินเดีย ใน
ปี 2554 คาดว่าอินเดียจะบริโภคยางพารา 1.06 ล้านตัน (ขยายตัว 5.2%)
ขณะที่คาดว่าจะมีผลผลิตเพียง 916,000 ตัน จึงต้องมีการนำเข้าประมาณ 144,000
ตัน (เพิ่มขึ้น 105%)
อินเดียมีแนวโน้มต้องนำเข้ายางพาราเพิ่มมากขึ้นแบบก้าวกระโดด โดยปี 2553
อินเดียมีการนำเข้ายางจากต่างประเทศเป็นปริมาณมากกว่า 70,000 ตัน เพิ่มขึ้น
42% แหล่งนำเข้าสำคัญอันดับ 1 คือ อินโดนีเซีย(48%) รองลงมาเป็น ไทย
(37%) และศรีลังกา (7%) ตามลำดับ โดยเป็นการนำเข้าจากไทย 196
ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นสูงถึง 78% ทั้งนี้สมาคมผู้ผลิตยางรถยนต์
(Atma)
ให้ความเห็นว่าความต้องการนำเข้ายางพาราที่แท้จริงของอินเดียมีสูงถึง
200,000 ตันต่อปี ทั้งนี้รัฐบาลสนับสนุนให้มีการรีไซเคิลยางมากขึ้น
แต่นั่นไม่ใช่การแก้ปัญหาที่แท้จริงในขณะที่อุตสาหกรรมยานยนต์มีการเติบโต
สูงถึง 26% ต่อปี
6.
การเปิดตลาดยางพาราในอินเดีย อินเดียมีผู้ผลิตยางรถยนต์ รายใหญ่ 7 ราย
มีส่วนแบ่งตลาด 85% ของตลาดยางรถยนต์ ประกอบด้วยยี่ห้อ MRF, Apollo, JK
Inds, CEAT, Goodyear, Bridgestone และ Falcon
ซึ่งบริษัทดังกล่าวได้เข้าร่วมพบปะกับผู้ประกอบการยางพาราและไม้ยางพาราจาก
จังหวัดตรังนำโดยพาณิชย์จังหวัด นายสุรัตน์ธาดา พิชยาภรณ์
ที่เยือนเมืองเจนใน ระหว่างวันที่ 10-12 กรกฎาคม 2554
ประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง คาดว่าในปี 2554
นี้ยอดการส่งออกไม้ยางพาราจะเพิ่มขึ้นเป็น 20,000 ล้านบาท หรือขยายตัว
หรือขยายตัว 20% เมื่อเทียบกับปี 2553
อันเป็นผลโดยตรงจากการเปิดตลาดยางในอินเดียในครั้งนี้ ในส่วนของยางแผ่น
ก็ได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการยางรถยนต์กันอย่างคับคั่งไม่แพ้กัน
เนื่องจากปัจจุบันอินเดียผลิตยานยนต์ได้ถึงปีละ 15 ล้านคัน ขยายตัวปีละ 25%
ขณะที่การผลิตยางพาราในประเทศกลับไม่พอกับกับความต้องการของอุตสาหกรรมยาน
ยนต์
จึงนับเป็นโอกาสดีที่จะสามารถขยายช่องทางตลาดสำคัญอย่างอินเดียเพื่อรองรับ
การขยายพื้นที่ปลูกยางเพิ่มขึ้นอีก 1 ล้านไร่ของไทยในปัจจุบัน
กล่าว
โดยสรุป ประเทศไทยมีความได้เปรียบในการแข่งขันสูงในตลาด ยางพารา โลก
ในขณะที่ความต้องการยางพารายังคงทะยานสูงขึ้นอย่างไม่มีท่าทีจะลดลงในอนาคต
อันใกล้ จึงกล่าวได้ว่าในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า
หากสถานการณ์ยังไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก
จะยังคงเป็นปีทองของผู้ประกอบการยางพาราไทยอย่างแน่นอน
ดร. ไพศาล มะระพฤกษ์วรรณ
ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าฯ
ณ เมืองเจนไน
Browse
Home
» Archives for กุมภาพันธ์ 2013
พันธุ์ยางที่แนะนำสำหรับเกษตรกร
ข่าววันนี้ : เครื่องรีดยาง , เครื่องรีดยางพารา
พันธุ์ยางที่แนะนำสำหรับเกษตรกรทั่วไป
สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร ได้ออกคำแนะนำพันธุ์ยางปี 2536 สำหรับเกษตรกรทั่วไปไว้ดังนี้
พันธุ์ยางชั้น 1 ได้แก่ ยางพันธุ์ดีแนะนำให้เกษตรกรปลูกโดยไม่จำกัดพื้นที่ปลูก
พันธุ์ยางชั้น 2 ได้แก่ ยางพันธุ์ดี แนะนำให้เกษตรกรปลูกโดยจำกัดพื้นที่ปลูก ปลูกได้ไม่เกินร้อยละ 30 ของพื้นที่ปลูกยางที่ถือครองแต่ละพันธุ์ควรปลูกไม่น้อยกว่า 7 ไร่
พันธุ์ยางชั้น 3 ได้แก่ ยางพันธุ์ดี แนะนำให้เกษตรกรปลูกโดยกำจัดพื้นที่ปลูก ปลูกได้ไม่เกินร้อยละ 20 ของพื้นที่ปลูกยางที่ถือครองแต่ละพันธุ์ควรปลูกไม่น้อยกว่า 7 ไร่
พันธุ์ยางที่แนะนำให้ปลูกในแหล่งปลูกยางเดิม (ภาคใต้และภาคตะวันออก)
พันธุ์ยางชั้น 1 BPM 24, สงขลา 36 2/, RRIM 600, GT 1, PR 255, PR 261
พันธุ์ยางชั้น 2 PB 217, RRIC 110, RRIC 100, PB 260, PB 255, PB 235
พันธุ์ยางชั้น 3 KRS 251, PR 305, PR 302, RRIC 101, BPM 1, RRIM 712, KRS 250, KRS 226, KRS 225, KRS 218, PB 311, RRIC 121
พันธุ์ยางที่แนะนำให้ปลูกในแหล่งปลูกยางใหม่ (ภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
พันธุ์ยางชั้น 1 RRIM 600, GT 1, สงขลา 36, BPM 24, PR 255
พันธุ์ยางชั้น 2 PB 235, PB 260
ข่าววันนี้ : เครื่องรีดยาง , เครื่องรีดยางพารา
พันธุ์ยางที่แนะนำสำหรับเกษตรกรทั่วไป
สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร ได้ออกคำแนะนำพันธุ์ยางปี 2536 สำหรับเกษตรกรทั่วไปไว้ดังนี้
พันธุ์ยางชั้น 1 ได้แก่ ยางพันธุ์ดีแนะนำให้เกษตรกรปลูกโดยไม่จำกัดพื้นที่ปลูก
พันธุ์ยางชั้น 2 ได้แก่ ยางพันธุ์ดี แนะนำให้เกษตรกรปลูกโดยจำกัดพื้นที่ปลูก ปลูกได้ไม่เกินร้อยละ 30 ของพื้นที่ปลูกยางที่ถือครองแต่ละพันธุ์ควรปลูกไม่น้อยกว่า 7 ไร่
พันธุ์ยางชั้น 3 ได้แก่ ยางพันธุ์ดี แนะนำให้เกษตรกรปลูกโดยกำจัดพื้นที่ปลูก ปลูกได้ไม่เกินร้อยละ 20 ของพื้นที่ปลูกยางที่ถือครองแต่ละพันธุ์ควรปลูกไม่น้อยกว่า 7 ไร่
พันธุ์ยางที่แนะนำให้ปลูกในแหล่งปลูกยางเดิม (ภาคใต้และภาคตะวันออก)
พันธุ์ยางชั้น 1 BPM 24, สงขลา 36 2/, RRIM 600, GT 1, PR 255, PR 261
พันธุ์ยางชั้น 2 PB 217, RRIC 110, RRIC 100, PB 260, PB 255, PB 235
พันธุ์ยางชั้น 3 KRS 251, PR 305, PR 302, RRIC 101, BPM 1, RRIM 712, KRS 250, KRS 226, KRS 225, KRS 218, PB 311, RRIC 121
พันธุ์ยางที่แนะนำให้ปลูกในแหล่งปลูกยางใหม่ (ภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
พันธุ์ยางชั้น 1 RRIM 600, GT 1, สงขลา 36, BPM 24, PR 255
พันธุ์ยางชั้น 2 PB 235, PB 260
Browse
Home
» Archives for กุมภาพันธ์ 2013
อนาคตยางพาราไทย ภายใต้ AEC เลิกกองทุนสงเคราะห์สวนยาง
ข่าววันนี้ : เครื่องรีดยาง , เครื่องรีดยางพารา
ผศ.ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์และผู้อำนวยการศูนย์ศึกษา การค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอ การค้าไทยได้เสนอแนะนโยบายเร่งด่วนเพื่อพัฒนายางพาราไทย ภายใต้ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียนและอาเซียน +3 (เกาหลี ใต้ ญี่ปุ่น และจีน) โดยให้ไทยเป็นศูนย์ กลางยางพารา (HUB) เนื่องจากว่าไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกรายใหญ่ซึ่งเป็นจุดแข็งในการสร้างอำนาจ ต่อรองและเป็นผู้กำหนดราคา อีกทั้งยังจะทำให้ไทยเป็นศูนย์ กลางในการผลิตอุตสาหกรรมปลายน้ำของยางพาราและอุตสาหกรรมที่สร้างมูลค่าเพิ่ม จากการแปรรูปยางพาราอีกทางหนึ่งด้วย รัฐต้องปล่อยให้ราคายางเป็นไปตามกลไกตลาดไม่แทรกแซง แต่ควรหันไปส่งเสริมอุตสาหกรรมปลายน้ำและการสร้างมูลค่าเพิ่มในผลิตภัณฑ์ยาง ต่างๆเพื่อช่วยแก้ปัญหาทั้งราคาและการพึ่งพิงตลาดต่างประเทศ อีกทั้งจะต้องเร่งการจัดตั้งการยางแห่งประเทศไทย ด้วยการยก ร่างพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทยให้ยกเลิกกองทุนสงเคราะห์การทาสวนยาง และองค์การสวนยางและให้จัดตั้ง การยางแห่งประเทศไทย เพื่อทาหน้าที่บริหารจัดการยางพาราของประเทศทั้งระบบอย่างครบวงจร
อีกส่วนหนึ่งคือต้องเร่งพัฒนาตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า หรือ AFET ให้เข้มแข็ง เพื่อเป็นแหล่งรองรับสินค้าในราคายุติธรรม สร้างศักยภาพการแข่งขันให้กับเกษตรกร และรัฐควรส่งเสริมให้ผู้ประกอบการหาตลาดใหม่ๆ เพิ่มเติมเช่นตลาดในกลุ่ม BRIC (บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน) ซึ่งเป็นประเทศที่เศรษฐกิจเติบโตอย่างรวดเร็ว
นอกจากนี้ จะต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสร้างสัดส่วนการใช้ประโยชน์ในประเทศให้สูง ขึ้น ด้วยการลงทุนวิจัยเพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพ การแข่งขันให้เกิดการใช้ยางในประเทศ เพิ่มขึ้น ลดความเสี่ยงในการส่งออก คิด ค้นและพัฒนาผลผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อสร้าง มูลค่าเพิ่มให้เกิดขึ้น เช่น การพัฒนาวัตถุดิบ ยางไปสู่อุตสาหกรรมใหม่ซึ่งเป็นนวัตกรรม แบบก้าวกระโดด (Radical Innovation) เช่น อุตสาหกรรมเครื่องสาอางจากสารสกัดเปลือกไม้ยางพารา เป็นต้น
ปัจจุบันจีนนับเป็นประเทศผู้ใช้ ยางพารา รายใหญ่ที่สุดในโลก เฉลี่ย 5 ปีที่ผ่านมาคิดเป็นร้อยละ 32.23 ของปริมาณการใช้ยางพาราของทั้งโลก 60% เป็นการ ใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์ ปี 2553 จีนผลิตรถยนต์ 18.26 ล้านคัน ปี 2554 ผลิต รถยนต์ 18.42 ล้านคันเป็นอันดับ 1 ของโลก มณฑลที่นำเข้ายางพารามากที่สุดคือ ชานตง ซึ่งเป็นศูนย์กลางผลิตยางรถ ยนต์และอุตสาหกรรมแปรรูปยางที่สำคัญของจีน
ขณะที่พื้นที่ปลูกยางของไทยอินโดนีเซียและมาเลเซียมีมากกว่า 60% ของ โลก แต่ปัจจุบันพื้นที่ปลูกยางมาเลเซียลดลงเพราะหันไปปลูกปาล์มแทน ถึงกระนั้นตั้งแต่ปี 2549-2554 พื้นที่ปลูกยางโลกก็เพิ่มขึ้น 14.26% เฉลี่ยปีละ 2.71% กลุ่มการศึกษายางระหว่างประเทศ (International Rubber Study Group : IRSG) ศึกษาพบว่าในอนาคตประเทศผู้ผลิตยาง ไทยและมาเลเซียสนใจปลูกยางในประเทศ อื่น เช่น พม่า ลาว กัมพูชา เพราะที่ดินใน ประเทศไม่เพียงพอ
ที่มา : สยามธุรกิจ
Browse
Home
» Archives for กุมภาพันธ์ 2013
ผู้ปลูกยางพารามีความวิตกกังวล
ข่าววันนี้ : เครื่องรีดยาง , เครื่องรีดยางพารา
แม่โจ้โพลล์ผู้ปลูกยางพารา ร้อยละ 91.5 วิตกกังวลต่อการแข่งขันกับต่างประเทศเมื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ส่วนร้อยละ 44.2 ยังไม่ทราบว่าจะมีการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558
ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของไทย ปัจจุบันมีการปลูกทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ แต่เกษตรกรผู้ปลูกยางพาราส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ในการผลิตที่ถูกต้อง ซึ่งอาจมีผลต่อการแข่งขันด้านคุณภาพกับต่างประเทศ เมื่อประเทศไทยต้องเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 ดังนั้น ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตร โดยแม่โจ้โพลล์ จึงได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราทั่วประเทศ จำนวน 1,577 ราย ต่อความคิดเห็นเรื่อง “ทิศทางยางพาราไทย กับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” เพื่อให้ทราบถึงปัญหาและความต้องการในการพัฒนาการผลิตและการตลาดยางพาราไทย ระหว่างวันที่ 16 ก.ค.-10 ส.ค. 2555 สรุปผลดังนี้
เมื่อสอบถามเกษตรกรผู้ปลูก ยางพารา ถึงการ เข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 นั้น พบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ ร้อยละ 55.8 ทราบว่าจะมีการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และร้อยละ 44.2 ยังไม่ทราบว่าจะมีการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ด้านความคิดเห็นต่อราคายางพารา เมื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน พบว่า ร้อยละ 47.2 เห็นว่าราคายางพาราน่าจะสูงขึ้น ร้อยละ 28.5 เห็นว่าราคายางพาราน่าจะคงที่ และร้อยละ 24.3 เห็นว่าราคายางพาราน่าจะมีแนวโน้มลดลงด้านการสอบถามถึงการแข่งขันกับต่างประเทศ เมื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ส่วนใหญ่ ร้อยละ 91.5 มีความวิตกกังวลต่อการแข่งขันกับต่างประเทศ โดยวิตกกังวลในเรื่องดังต่อไปนี้ อันดับที่ 1 ร้อยละ 68.1 วิตกกังวลต่อความไม่แน่นอนของนโยบายภาครัฐในการสนับสนุนการปลูกและการผลิต ยางพาราภายในประเทศ อันดับที่ 2 ร้อยละ 50.2 วิตกกังวลต่อผลผลิตยางต่างประเทศที่จะเข้ามาตีตลาดในประเทศ อันดับที่ 3 ร้อยละ 37.3 วิตกกังวลต่อแรงงานที่มีทักษะในการกรีดยางมีค่าแรงที่สูงขึ้น อันดับที่ 4 ร้อยละ 28.6 วิตกกังวลที่โรงงานแปรรูปยางที่มีมาตรฐานในพื้นที่มีน้อย อันดับที่ 5 ร้อยละ 23.1 วิตกกังวลต่อระบบโลจิสติกส์ (การขนส่ง) ที่ไม่มีประสิทธิภาพ และอันดับที่ 6 ร้อยละ 21.0 วิตกกังวลต่อการซื้อขายยางในตลาดล่วงหน้า ส่วน การไม่มีความวิตกกังวลต่อการแข่งขันกับต่างประเทศ ร้อยละ 8.5 โดยให้เห็นผลว่า 1) เป็นโอกาสดีในการขยายตลาดรับซื้อยางพารา 2) เป็นโอกาสดีในการแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดความรู้ระหว่างกันทำให้การผลิตยางมี คุณภาพมากขึ้น 3) เป็นพืชเศรษฐกิจที่ทางภาครัฐให้ความสำคัญและช่วยเหลือสนับสนุนอย่างต่อ เนื่อง และ 4) ยางพาราเป็นสินค้าที่มีความต้องการสูงอยู่แล้ว เนื่องจากเป็นวัตถุดิบที่ใช้ผลิตสินค้าได้หลายชนิด
และเมื่อ สอบถามถึงความมั่นใจต่ออาชีพปลูก ยางพารา ว่าจะยังเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ หลักของครอบครัว เมื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนนั้น พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ ร้อยละ 65.1 มีความมั่นใจว่าอาชีพปลูกยางพารา จะยังเป็นอาชีพที่สร้างรายได้หลักของครอบครัว โดยให้เหตุผลว่า เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีอายุการเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ยาวนาน (ร้อยละ 31.0) การรวมกลุ่มสามารถเพิ่มอำนาจในการต่อรองกับประเทศคู่ค้าได้ (ร้อยละ 21.0) เป็นโอกาสดีในการขยายตลาดรับซื้อยางพารา (ร้อยละ 20.0) ในขณะที่ร้อยละ 34.9 ไม่มีความมั่นใจ โดยให้เหตุผลว่า ต่างประเทศมีการส่งเสริมการปลูกยางพาราเพิ่มขึ้น ทำให้ไทยอาจเสียส่วนแบ่งทางการตลาดได้ (ร้อยละ 34.8) นโยบายส่งเสริมยางพาราไม่มีความต่อเนื่องและการจัดการนโยบายของภาครัฐขาด ประสิทธิภาพ (ร้อยละ 33.0)
ด้าน ความต้องการให้ทางภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือ เมื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน นั้น อันดับที่ 1 ร้อยละ 71.1 ต้องการให้มีการประกันราคาผลผลิตยางพารา อันดับที่ 2 ร้อยละ 55.0 ต้องการให้มีการพัฒนาด้านการตลาดเพื่อรองรับผลผลิตยางที่เพิ่มขึ้น อันดับที่ 3 ร้อยละ 54.6 ควรพัฒนาสายพันธุ์ยางพาราที่ให้ผลผลิตที่มีคุณภาพและเป็นที่ยอมรับของตลาด อันดับที่ 4 ร้อยละ 50.7 ควรมีการควบคุมราคาปัจจัยการผลิตต่างๆไม่ให้สูงเกินไป อันดับที่ 5 ร้อยละ 49.0 ควรมีการสนับสนุนแหล่งเงินทุนในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำแก่เกษตรกรผู้ปลูก ยางพารา จากผลสำรวจขั้นต้นสะท้อนให้เห็นว่าเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา ได้มีการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งส่วนใหญ่เชื่อมั่นว่า ยางพาราน่าจะได้รับราคาราคาขายสูงขึ้นและมีเสถียรภาพของราคาดีขึ้น แต่ยังคงมีความวิตกกังวลต่อความไม่แน่นอนของนโยบายภาครัฐ ผลผลิต ยางพารา ต่างประเทศเข้ามาตีตลาดในไทย รวมทั้งแรงงานที่มีทักษะในการกรีดยางที่อาจมีค่าแรงที่สูงขึ้น ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีมาตรการในการรองรับปัญหาต่างๆ ทั้งเร่งให้ความรู้ด้านการผลิต การตลาด ภายในภายนอกประเทศ เพื่อให้แก่เกษตรกรมีความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่จะมา ถึงในปี 2558 ได้อย่างมั่นคง
ที่มา: ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Browse
Home
» Archives for กุมภาพันธ์ 2013
บริษัท เอเซียเกียร์ริ่ง จำกัด ผลิตและจำหน่าย เครื่องรีดยาง เครื่องรีดยางพารา เครื่องรีดยางเครป
เครื่องจักร เครื่องจักรกล เครื่องจักรมือสอง
เครื่องรีดยางมือสอง
เครื่องรีดยางมือสอง |
ราคา 350,000 บาท
ตัวอย่าง เครื่องรีดยาง ที่ลูกค้าสั่งทำ
เครื่องเตรียมส่งลูกค้า |
เครื่องเตรียมส่งลูกค้า |