Browse
Home
» Archives for มิถุนายน 2013
ราคาเครื่องรีดยางเครป
เครื่องรีดยางเครป ขนาดลูกกลิ้ง 10 นิ้ว ลูกกลิ้งทำจากเหล็กหล่อตัน ( + เครื่องยนต์ดีเซล หรือ มอเตอร์เกียร์ ขนาด 14 แรง )
ราคา 250,000 บาท ( ยังไม่รวมค่าขนส่งและค่าติดตั้ง )
เครื่องรีดยางเครป ขนาดลูกกลิ้ง 6 นิ้ว ลูกกลิ้งทำจากเหล็กเกรดดี ( + เครื่องยนต์ดีเซล หรือ มอเตอร์เกียร์ ขนาด 11 แรง )
ราคา 200,000 บาท ( ยังไม่รวมค่าขนส่งและค่าติดตั้ง )
*****สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม 091-193-0354 ( หนิง )*****
เครื่องรีดยางเครป เครื่องยนต์ดีเซล |
เครื่องรีดยางเครป ขนาดลูกกลิ้ง 10 นิ้ว เครื่องยนต์ดีเซล 14 แรงม้า |
เครื่องรีดยางเครป ขนาดลูกกลิ้ง 10 นิ้ว มอเตอร์เกียร์ |
เครื่องรีดยางเครป ขนาดลูกกลิ้ง 6 นิ้ว มอเตอร์เกียร์ |
Browse
Home
» Archives for มิถุนายน 2013
อุตสาหกรรมการแปรรูปยางพารา มี 3 ประเภท ได้แก่
1.อุตสาหกรรมยางแผ่นดิบ แบ่งได้ 2 กลุ่ม คือ
กลุ่มแห้ง ได้แก่ ยางแผ่นรมควัน ซึ่งผลิตมากที่สุดประมาณร้อยละ 70 ตลาดหลักคือ ญี่ปุ่น รองลงมาคือ ยางแท่ง ที.ที.อาร์. ร้อยละ 16 ตลาดที่สำคัญ คือ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป นอกจากนั้นคือ ยางเครพ ยางแผ่นผึ่งแห้ง และยางสกิม
กลุ่มเหลว ได้แก่ น้ำยางข้น หรือยางลาเท็กซ์ แนวโน้มตลาดมีความต้องการมากขึ้นทั้งภายในและต่างประเทศ
2.อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง ประกอบด้วยอุตสาหกรรมการผลิตยางยานพาหนะ ซึ่งมีการผลิตมากที่สุดในปี 2542 จำนวน 76,606 ตัน คิดเป็นร้อยละ 33.83 รองลงมาคือ ถุงมือยาง จำนวน 38,405 ตัน ร้อยละ 16.7 และยางรัดของ จำนวน 20,985 ตัน ร้อยละ 9.2 โดยมีตลาดหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ยุโรป แคนาดา และญี่ปุ่น นอกจากนั้นยังมียางยืด ยางจักรยานยนต์ และอุตสาหกรรมรองเท้า
3.อุตสาหกรรมไม้ยางพารา เป็นอุตสาหกรรมที่พัฒนาพร้อมกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำให้คุณภาพดีตรงกับความต้องการของผู้ใช้ในรูปต่างๆ ได้แก่ ลังปลา ปาร์ติเกิลบอร์ด ของเด็กเล่น เฟอร์นิเจอร์ เครื่องเรือน ไม้อัด เครื่องประดับตกแต่งภายในอาคาร ปัจจุบันเป็นสินค้าส่งออกที่มีมูลค่าสูง และมีแนวโน้มขยายตัวมากยิ่งขึ้นจากจำนวน 74,110 ตัน ในปี 2541 เป็น 404,745 ตัน ในปี 2544 เพิ่มขึ้น 5.46 เท่าตัว โดยมีมูลค่าการส่งออกในปี 2544 เท่ากับ 2,311.07 ล้านบาท ตลาดหลักที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลี สิงคโปร์ และฮ่องกง
Browse
Home
» Archives for มิถุนายน 2013
ลักษณะตลาดยางพาราเป็นตลาดของผู้ซื้อ
เนื่องจากมีผู้ซื้อจำนวนน้อยราย ขณะที่เกษตรกรหรือผู้ขายซึ่งมีจำนวนมากมาย
และส่วนมากเป็นเจ้าของสวนยางขนาดเล็ก ตลาดภายในประเทศ ตลาดภายในประเทศ เกษตรกรชาวสวนยางจะขายยางในรูปของน้ำยางสด
ยางแผ่นดิบและขี้ยาง ให้กับพ่อค้าคนกลางในท้องถิ่น
จากนั้นพ่อค้าคนกลางจะนำยางไปขายให้กับตลาดกลางยางพารา
โรงงานรมควันและโรงงานยางแผ่นผึ่งแห้ง
หรือเกษตรกรนำยางไปขายให้กับตลาดกลางและโรงงานโดยตรง
การกำหนดราคายาง ราคายางในประเทศถูกกำหนดจากตลาดหลักของโลก โดยเฉพาะตลาดสิงคโปร์และมาเลเซีย โดยผ่านผู้ซื้อรายใหญ่ต่างประเทศไม่กี่บริษัท กำหนดราคารับซื้อโดยใช้ราคา F.O.B. ของยางแผ่นรมควันชั้น 3 ที่คาดว่าจะขายได้ หักด้วยค่าใช้จ่ายในการส่งออก ค่าอากรขาออก และค่าสงเคราะห์การปลูกแทน
ตลาดต่างประเทศ ตลาดยาง ที่สำคัญในต่างประเทศมี 6 ตลาด คือ ตลาดกัวลาลัมเปอร์ สิงคโปร์ ลอนดอน นิวยอร์ค และโอซาก้า ซื้อขายทั้งยางธรรมชาติและยางสังเคราะห์ ปัจจุบันมีการซื้อขายผ่านตลาดกลางประมาณร้อยละ 30 เท่านั้น นอกนั้นเป็นการซื้อขายโดยตรง ระหว่างผู้ซื้อซึ่งมักเป็นโรงงานผลิตภัณฑ์ยาง เช่น ผู้ผลิตยางรถยนต์และยางอื่นๆ กับผู้ส่งออกยางพารา
การส่งออกยางธรรมชาติของไทย ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา (2539 – 2543) การส่งออกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก 1.71 ล้านตัน ในปี 2539 เป็น 2.56 ล้านตัน ในปี 2543 เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 10.0 ต่อปี โดยในปี 2543 ยางแผ่นรมควันมีปริมาณส่งออกมากที่สุดจำนวน 1,123,149 ตัน คิดเป็นร้อยละ 43.8 รองลงมาคือ ยางแท่งจำนวน 853,852 ตัน ร้อยละ 33.3 และน้ำยางข้นจำนวน 430,174 ตัน ร้อยละ 16.7
ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทย ปี 2543 คือ ญี่ปุ่น สาธารณรัฐประชาชนจีน และ มาเลเซีย โดยส่งออกไปญี่ปุ่นมากที่สุด จำนวน 480,566 ตัน คิดเป็นร้อยละ 18.9 รองลงมาคือ สาธารณรัฐประชาชนจีน จำนวน 452,231 ตัน ร้อยละ 17.8 และมาเลเซีย จำนวน 400,836 ตัน ร้อยละ 15.7
ประเทศคู่แข่งที่สำคัญ ประเทศคู่แข่งที่สำคัญของไทย คือ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ซึ่งมีส่วนแบ่งในตลาดโลกปี 2542 ร้อยละ 32.4 และร้อยละ 9.4 ตามลำดับ ขณะที่ประเทศไทยมีส่วนแบ่ง ร้อยละ 39.9 ประเทศอินโดนีเซียมีการตั้งเป้าหมายจะเลื่อนอันดับมาเป็นประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติรายใหญ่ที่สุดของโลกแทนประเทศไทย ขณะที่มาเลเซียได้ลดพื้นที่ปลูกยางลงจากการขาดแคลนแรงงาน และหันมาสนับสนุนอุตสาหกรรมยางภายในประเทศ โดยเน้นการใช้ยางธรรมชาติที่ผลิตได้ในประเทศมากขึ้น
การนำเข้า การนำเข้ายางธรรมชาติมีจำนวนเพิ่มขึ้นจาก 937.4 ตัน ในปี 2542 เป็น 1,331.8 ตัน ในปี 2543 เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.0 การนำเข้าส่วนใหญ่มาจากประเทศมาเลเซีย เนื่องจากประเทศไทยไม่สามารถผลิตได้ และนำมาแปรรูปใช้ภายในประเทศและเพื่อการส่งออก ซึ่งยางนำเข้าจะอยู่ในรูปของน้ำยางข้น ยางเครพ และอื่นๆ
การกำหนดราคายาง ราคายางในประเทศถูกกำหนดจากตลาดหลักของโลก โดยเฉพาะตลาดสิงคโปร์และมาเลเซีย โดยผ่านผู้ซื้อรายใหญ่ต่างประเทศไม่กี่บริษัท กำหนดราคารับซื้อโดยใช้ราคา F.O.B. ของยางแผ่นรมควันชั้น 3 ที่คาดว่าจะขายได้ หักด้วยค่าใช้จ่ายในการส่งออก ค่าอากรขาออก และค่าสงเคราะห์การปลูกแทน
ตลาดต่างประเทศ ตลาดยาง ที่สำคัญในต่างประเทศมี 6 ตลาด คือ ตลาดกัวลาลัมเปอร์ สิงคโปร์ ลอนดอน นิวยอร์ค และโอซาก้า ซื้อขายทั้งยางธรรมชาติและยางสังเคราะห์ ปัจจุบันมีการซื้อขายผ่านตลาดกลางประมาณร้อยละ 30 เท่านั้น นอกนั้นเป็นการซื้อขายโดยตรง ระหว่างผู้ซื้อซึ่งมักเป็นโรงงานผลิตภัณฑ์ยาง เช่น ผู้ผลิตยางรถยนต์และยางอื่นๆ กับผู้ส่งออกยางพารา
การส่งออกยางธรรมชาติของไทย ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา (2539 – 2543) การส่งออกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก 1.71 ล้านตัน ในปี 2539 เป็น 2.56 ล้านตัน ในปี 2543 เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 10.0 ต่อปี โดยในปี 2543 ยางแผ่นรมควันมีปริมาณส่งออกมากที่สุดจำนวน 1,123,149 ตัน คิดเป็นร้อยละ 43.8 รองลงมาคือ ยางแท่งจำนวน 853,852 ตัน ร้อยละ 33.3 และน้ำยางข้นจำนวน 430,174 ตัน ร้อยละ 16.7
ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทย ปี 2543 คือ ญี่ปุ่น สาธารณรัฐประชาชนจีน และ มาเลเซีย โดยส่งออกไปญี่ปุ่นมากที่สุด จำนวน 480,566 ตัน คิดเป็นร้อยละ 18.9 รองลงมาคือ สาธารณรัฐประชาชนจีน จำนวน 452,231 ตัน ร้อยละ 17.8 และมาเลเซีย จำนวน 400,836 ตัน ร้อยละ 15.7
ประเทศคู่แข่งที่สำคัญ ประเทศคู่แข่งที่สำคัญของไทย คือ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ซึ่งมีส่วนแบ่งในตลาดโลกปี 2542 ร้อยละ 32.4 และร้อยละ 9.4 ตามลำดับ ขณะที่ประเทศไทยมีส่วนแบ่ง ร้อยละ 39.9 ประเทศอินโดนีเซียมีการตั้งเป้าหมายจะเลื่อนอันดับมาเป็นประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติรายใหญ่ที่สุดของโลกแทนประเทศไทย ขณะที่มาเลเซียได้ลดพื้นที่ปลูกยางลงจากการขาดแคลนแรงงาน และหันมาสนับสนุนอุตสาหกรรมยางภายในประเทศ โดยเน้นการใช้ยางธรรมชาติที่ผลิตได้ในประเทศมากขึ้น
การนำเข้า การนำเข้ายางธรรมชาติมีจำนวนเพิ่มขึ้นจาก 937.4 ตัน ในปี 2542 เป็น 1,331.8 ตัน ในปี 2543 เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.0 การนำเข้าส่วนใหญ่มาจากประเทศมาเลเซีย เนื่องจากประเทศไทยไม่สามารถผลิตได้ และนำมาแปรรูปใช้ภายในประเทศและเพื่อการส่งออก ซึ่งยางนำเข้าจะอยู่ในรูปของน้ำยางข้น ยางเครพ และอื่นๆ
Browse
Home
» Archives for มิถุนายน 2013
ยางพารา เป็นไม้ยืนต้น
มีถิ่นกำเนิดในป่าเขตร้อน ซึ่งมีฝนตกชุกแถบอเมริกาใต้ ได้แก่ ประเทศบราซิล เปรู
โคลัมเบีย เวเนซุเอลา และโบลิเวีย ปี พ.ศ. 2520
Sir Henry Wickhan ได้นำเมล็ดยางพารามาปลูกที่เปรัค
ประเทศ มาเลเซีย จำนวน 9 ต้น และอีก 13 ต้น ปลูกที่สวนพฤกษาชาติ
ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเป็นที่มาของต้นยางพาราในเอเชีย และแอฟริกาในทุกวันนี้ ประเทศไทย พระยารัษฎานุประดิษฐ์
เจ้าเมืองตรัง ได้นำพันธุ์ยางพารา
จากประเทศมาเลเซีย มาทดลองปลูกครั้งแรก ในปี พ.ศ.
2443 ที่อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง หลังจากนั้นจึงแพร่หลายไปทั่วทั้ง 14 จังหวัดของภาคใต้ และขยายไปสู่ภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สภาพการทำสวนยางพาราของไทย การปลูกยางพาราในช่วงแรกๆ นั้น (พ.ศ. 2443 - 2503) เป็นพันธุ์พื้นเมือง ปลูกร่วมกับไม้ผลและพืชผักอื่นๆ ในบริเวณเชิงเขาและที่ราบเชิงเขา ซึ่งเรียกว่า “ป่ายาง” โดยเมล็ดพันธุ์จะนำมาจากประเทศมาเลเซีย ซึ่งขณะนั้น เป็นประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติเป็นอันดับ 1 ของโลก มีการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ที่ให้ผลผลิตต่อไร่สูง และทำการปลูกทดแทนพันธุ์พื้นเมืองเดิมไปมาก ประเทศไทยจึงมีความพยายามพัฒนาการทำสวนยางพาราให้เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้จัดตั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องการทำสวนยางพารา เพื่อดำเนินการวิจัย ส่งเสริม และพัฒนา ทำให้พื้นที่ปลูกยางพาราขยายตัวอย่างต่อเนื่องจาก 7 ล้านไร่ ในปี 2503 เป็น 10 ล้านไร่ ในปี 2529 เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 1.3 ต่อปี โดยพื้นที่บางส่วนได้รับการส่งเสริมให้ปลูกยางพันธุ์ดีแทนยางพาราพันธุ์เก่าอายุ 25 ปีขึ้นไป โดยสงเคราะห์ให้เกษตรกรไร่ละ 6,800 ต่อปี เป็นระยะเวลา 6 ปี
ช่วงปี 2529 –
2534 การทำส่วนยางพารามีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบจาก “ป่ายางหรือสวนสมรม” ไปเป็นพืชเชิงเดียวที่มีเพียงต้นยางพาราอย่างเดียว
โดยปลูกทดแทนพันธุ์ พื้นเมืองเดิมด้วยยางพันธุ์ดีที่ให้ผลผลิตต่อไร่สูงกว่าและมีการบำรุงรักษามากขึ้น
ทำให้ผลผลิตยางพาราของไทยในช่วงเวลาดังกล่าว เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจาก 0.94 ล้านตัน
ในปี 2529 เป็น 1.5 ล้านตัน ในปี 2534 เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 9.7 ต่อปี
ประเทศไทยจึงเป็นผู้ผลิตยางธรรมชาติอันดับหนึ่งของโลก ปัจจุบันสวนยางพาราประเทศไทยมีประมาณ 11.5
ล้านไร่ ซึ่งประมาณร้อยละ 93.01
ของสวนยางทั้งหมด เป็นสวนยางขนาดเล็กมีเนื้อที่ระหว่าง 2-50 ไร่ โดยมีขนาดของสวนเฉลี่ย 13 ไร่
และส่วนใหญ่เป็นการปลูกลักษณะเชิงเดี่ยว
ทำให้เกิดความเสี่ยงขณะที่ภาวะราคายางพาราตกต่ำ ประกอบกับประเทศคู่แข่งที่สำคัญคือ
อินโดนีเซีย และเวียดนาม มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า
และมีแนวโน้มขยายพื้นที่การปลูกยางมากยิ่งขึ้น
พื้นที่การปลูกยางพารา พื้นที่ปลูกยางพาราของไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากจำนวน 10.8 ล้านไร่ ในปี 2531 เป็น 11.5 ล้านไร่ ในปี 2541 เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 0.6 ต่อปี โดยพื้นที่การปลูกยางพาราประมาณร้อยละ 85 อยู่ใน 14 จังหวัดภาคใต้ ซึ่งในปี 2541 จังหวัด สุราษฎร์ธานีมีพื้นที่ปลูกมากที่สุด จำนวน 1,772,324 ไร่ รองลงมาคือจังหวัดสงขลา และนครศรีธรรมราช จำนวน 1,631,058 ไร่ และ 1,289,047 ไร่ ตามลำดับ
ผลผลิตยางพารา ผลผลิตยางพาราเพิ่มสูงขึ้นตลอดจาก 1.15 ล้านตัน ในปี 2531 เป็น 2.16 ล้านตันในปี 2541 เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 6.50 ต่อปี เนื่องจากปัจจัยที่สำคัญ 2 ประการ คือ ประการแรก เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของพื้นที่ให้ผลผลิต ซึ่งเพิ่มจาก 9.24 ล้านไร่ ในปี 2531 เป็น 9.54 ล้านไร่ ในปี 2541 เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 0.32 ต่อปี ประการที่สอง เนื่องจากการขยายพื้นที่ปลูกทดแทนด้วยยางพันธุ์ดี ทำให้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นจาก 136 กก./ไร่ ในปี 2531 เป็น 225 กก./ไร่ ในปี 2541 ผลผลิตยางพารา ปี 2541 ส่วนใหญ่อยู่ในภาคใต้ คิดเป็นร้อยละ 90 ของผลผลิตทั้งประเทศ จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีปริมาณผลผลิตยางพาราสูงเป็นอันดับหนึ่ง จำนวน 368,667 ตัน รองลงมาคือ จังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดสงขลา จำนวน 278,674 ตัน และ 267,180 ตัน ตามลำดับ
สภาพการทำสวนยางพาราของไทย การปลูกยางพาราในช่วงแรกๆ นั้น (พ.ศ. 2443 - 2503) เป็นพันธุ์พื้นเมือง ปลูกร่วมกับไม้ผลและพืชผักอื่นๆ ในบริเวณเชิงเขาและที่ราบเชิงเขา ซึ่งเรียกว่า “ป่ายาง” โดยเมล็ดพันธุ์จะนำมาจากประเทศมาเลเซีย ซึ่งขณะนั้น เป็นประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติเป็นอันดับ 1 ของโลก มีการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ที่ให้ผลผลิตต่อไร่สูง และทำการปลูกทดแทนพันธุ์พื้นเมืองเดิมไปมาก ประเทศไทยจึงมีความพยายามพัฒนาการทำสวนยางพาราให้เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้จัดตั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องการทำสวนยางพารา เพื่อดำเนินการวิจัย ส่งเสริม และพัฒนา ทำให้พื้นที่ปลูกยางพาราขยายตัวอย่างต่อเนื่องจาก 7 ล้านไร่ ในปี 2503 เป็น 10 ล้านไร่ ในปี 2529 เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 1.3 ต่อปี โดยพื้นที่บางส่วนได้รับการส่งเสริมให้ปลูกยางพันธุ์ดีแทนยางพาราพันธุ์เก่าอายุ 25 ปีขึ้นไป โดยสงเคราะห์ให้เกษตรกรไร่ละ 6,800 ต่อปี เป็นระยะเวลา 6 ปี
พื้นที่การปลูกยางพารา พื้นที่ปลูกยางพาราของไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากจำนวน 10.8 ล้านไร่ ในปี 2531 เป็น 11.5 ล้านไร่ ในปี 2541 เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 0.6 ต่อปี โดยพื้นที่การปลูกยางพาราประมาณร้อยละ 85 อยู่ใน 14 จังหวัดภาคใต้ ซึ่งในปี 2541 จังหวัด สุราษฎร์ธานีมีพื้นที่ปลูกมากที่สุด จำนวน 1,772,324 ไร่ รองลงมาคือจังหวัดสงขลา และนครศรีธรรมราช จำนวน 1,631,058 ไร่ และ 1,289,047 ไร่ ตามลำดับ
ผลผลิตยางพารา ผลผลิตยางพาราเพิ่มสูงขึ้นตลอดจาก 1.15 ล้านตัน ในปี 2531 เป็น 2.16 ล้านตันในปี 2541 เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 6.50 ต่อปี เนื่องจากปัจจัยที่สำคัญ 2 ประการ คือ ประการแรก เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของพื้นที่ให้ผลผลิต ซึ่งเพิ่มจาก 9.24 ล้านไร่ ในปี 2531 เป็น 9.54 ล้านไร่ ในปี 2541 เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 0.32 ต่อปี ประการที่สอง เนื่องจากการขยายพื้นที่ปลูกทดแทนด้วยยางพันธุ์ดี ทำให้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นจาก 136 กก./ไร่ ในปี 2531 เป็น 225 กก./ไร่ ในปี 2541 ผลผลิตยางพารา ปี 2541 ส่วนใหญ่อยู่ในภาคใต้ คิดเป็นร้อยละ 90 ของผลผลิตทั้งประเทศ จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีปริมาณผลผลิตยางพาราสูงเป็นอันดับหนึ่ง จำนวน 368,667 ตัน รองลงมาคือ จังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดสงขลา จำนวน 278,674 ตัน และ 267,180 ตัน ตามลำดับ
Browse
Home
» Archives for มิถุนายน 2013
ข้อเสนอแนะต่อภาคอุตสาหกรรม
1. สร้างระบบฐานข้อมูลด้านผลผลิตใหม่ที่น่าเชื่อถือ โดยมีรายละเอียดของการผลิตทั้งปริมาณและคุณภาพ เพื่อความพร้อมในการบริหารอุปทานยาง
2. สนับสนุนการพัฒนาคุณภาพยางพาราของไทย รวมทั้งกระบวนการจัดชั้นแผ่นยาง และการรักษาคุณภาพของยางแท่งของไทยให้ได้คุณภาพและมาตรฐานที่มีความสม่ำเสมอ ภายใต้ต้นทุนที่ต่ำอยู่ได้
3. ให้การสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตสินค้าที่ใช้ยางพาราเป็นวัตถุดิบมากขึ้น หรือมีการปรับโครงสร้างภาษีที่เอื้อำนวยต่อการลงทุนในอุตสาหกรรมเหล่านี้มากขึ้น เนื่องจากในปัจจุบันประเทศไทยมีการนำเข้าสินค้าเหล่านี้เป็นจำนวนมาก ทั้งที่ไทยเป็นผู้ผลิตยางพาราเอง จึงกลายเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับต่างประเทศ
4. พัฒนาท่าเรือน้ำลึกให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากในปัจจุบันไทยมีการส่งออกยางพาราโดยทางเรือ ซึ่งแม้ว่าไทยจะมีแหลมฉบังเป็นท่าเรือที่สามารถส่งไปจีนได้โดยตรง แต่การขนส่งยางทางภาคใต้ของไทยนิยมส่งผ่านท่าปีนังของมาเลเซีย เนื่องจากอยู่ใกล้มากกว่า และมีค่าขนส่งที่ถูกกว่า ในขณะที่ท่าเรือที่ใกล้ที่สุดคือท่าเรือสงขลา แต่เป็นท่าเรือน้ำตื้น ทำให้เรือใหญ่ไม่สามารถเข้าได้ จึงจำเป็นต้องไปขนถ่ายต่ออีกทีหนึ่ง ทำให้ต้นทุนสูงขึ้น
5. ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนภายในประเทศ เพื่อลดสภาวะของการแข่งขันกันตัดราคายางพารา โดยมีภาครัฐเป็นหน่วยงานกลางในการประสานความร่วมมือ รวมทั้งมีการพัฒนาระบบการซื้อขายยางให้มีการปฏิบัติตามสัญญาทางการค้าอย่างถูกต้องมากขึ้น
ข้อเสนอแนะต่อภาครัฐในการเจรจาการค้า
1. ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือในกลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่งเป็นผู้ผลิตยางรายใหญ่ของโลกให้มีวัตถุประสงค์ในการค้าร่วมกัน และโดยเฉพาะร่วมกันบริการอุปทานของยางพาราที่มีไทยในฐานะผู้ผลิตยางพารารายใหญ่เป็นผู้นำของกลุ่มอเซียน
2. เร่งเจรจาเปิดเสรีทางการค้ากับจีน โดยเฉพาะการยกเลิกภาษีระบบโควต้าให้เร็วกว่าปี 2547 ที่จีนมีพันธะไว้กับ WTO เพราะจีนมีการนำเข้ายางมากกว่าโควต้าที่กำหนดไว้อยู่แล้ว
3. สนับสนุนการร่วมทุนระหว่างไทยและจีน เพราะจีนมีบุคลากรที่ค่อนข้างมีความพร้อมมากกว่าไทย เช่น การมีวิศวกรด้านยางโดยเฉพาะ ซึ่งการร่วมทุนน่าจะทำให้จีนมีการย้ายโรงงานมายังไทยมากขึ้น และหากมีนโยบายรัฐให้การสนับสนุนก็น่าจะทำให้ไทยสามารถพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทางด้านนี้ได้เอง
1. สร้างระบบฐานข้อมูลด้านผลผลิตใหม่ที่น่าเชื่อถือ โดยมีรายละเอียดของการผลิตทั้งปริมาณและคุณภาพ เพื่อความพร้อมในการบริหารอุปทานยาง
2. สนับสนุนการพัฒนาคุณภาพยางพาราของไทย รวมทั้งกระบวนการจัดชั้นแผ่นยาง และการรักษาคุณภาพของยางแท่งของไทยให้ได้คุณภาพและมาตรฐานที่มีความสม่ำเสมอ ภายใต้ต้นทุนที่ต่ำอยู่ได้
3. ให้การสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตสินค้าที่ใช้ยางพาราเป็นวัตถุดิบมากขึ้น หรือมีการปรับโครงสร้างภาษีที่เอื้อำนวยต่อการลงทุนในอุตสาหกรรมเหล่านี้มากขึ้น เนื่องจากในปัจจุบันประเทศไทยมีการนำเข้าสินค้าเหล่านี้เป็นจำนวนมาก ทั้งที่ไทยเป็นผู้ผลิตยางพาราเอง จึงกลายเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับต่างประเทศ
4. พัฒนาท่าเรือน้ำลึกให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากในปัจจุบันไทยมีการส่งออกยางพาราโดยทางเรือ ซึ่งแม้ว่าไทยจะมีแหลมฉบังเป็นท่าเรือที่สามารถส่งไปจีนได้โดยตรง แต่การขนส่งยางทางภาคใต้ของไทยนิยมส่งผ่านท่าปีนังของมาเลเซีย เนื่องจากอยู่ใกล้มากกว่า และมีค่าขนส่งที่ถูกกว่า ในขณะที่ท่าเรือที่ใกล้ที่สุดคือท่าเรือสงขลา แต่เป็นท่าเรือน้ำตื้น ทำให้เรือใหญ่ไม่สามารถเข้าได้ จึงจำเป็นต้องไปขนถ่ายต่ออีกทีหนึ่ง ทำให้ต้นทุนสูงขึ้น
5. ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนภายในประเทศ เพื่อลดสภาวะของการแข่งขันกันตัดราคายางพารา โดยมีภาครัฐเป็นหน่วยงานกลางในการประสานความร่วมมือ รวมทั้งมีการพัฒนาระบบการซื้อขายยางให้มีการปฏิบัติตามสัญญาทางการค้าอย่างถูกต้องมากขึ้น
ข้อเสนอแนะต่อภาครัฐในการเจรจาการค้า
1. ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือในกลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่งเป็นผู้ผลิตยางรายใหญ่ของโลกให้มีวัตถุประสงค์ในการค้าร่วมกัน และโดยเฉพาะร่วมกันบริการอุปทานของยางพาราที่มีไทยในฐานะผู้ผลิตยางพารารายใหญ่เป็นผู้นำของกลุ่มอเซียน
2. เร่งเจรจาเปิดเสรีทางการค้ากับจีน โดยเฉพาะการยกเลิกภาษีระบบโควต้าให้เร็วกว่าปี 2547 ที่จีนมีพันธะไว้กับ WTO เพราะจีนมีการนำเข้ายางมากกว่าโควต้าที่กำหนดไว้อยู่แล้ว
3. สนับสนุนการร่วมทุนระหว่างไทยและจีน เพราะจีนมีบุคลากรที่ค่อนข้างมีความพร้อมมากกว่าไทย เช่น การมีวิศวกรด้านยางโดยเฉพาะ ซึ่งการร่วมทุนน่าจะทำให้จีนมีการย้ายโรงงานมายังไทยมากขึ้น และหากมีนโยบายรัฐให้การสนับสนุนก็น่าจะทำให้ไทยสามารถพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทางด้านนี้ได้เอง
Browse
Home
» Archives for มิถุนายน 2013
ภายหลังการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนจีนนั้น หมายถึง จีนจะทำการเก็บภาษีศุลกากรจากไทยและกลุ่มประเทศในอาเซียนในอัตราร้อยละศูนย์ ในขณะที่ไทยและกลุ่มประเทศในอาเซียนก็จะทำการเก็บภาษีศุลกากรกับจีนในอัตราร้อยละศูนย์เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ มาตรการต่างๆ ที่มิใช่ภาษีศุลกากรก็จะหมดไปจนกระทั่งมีการค้าแบบเสรีอย่างสมบูรณ์ภายในกลุ่มประเทศอาเซียนและจีน
การตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน จีนในส่วนของอุตสาหกรรมยางธรรมชาตินั้น การลดภาษีนำเข้าและการยกเลิกโควต้าจะก่อให้เกิดผลดีต่อประเทศในด้านราคาขายยางพาราในจีนที่ถูกลง เนื่องจากการลดภาษีนำเข้า โดยมีการคาดการณ์ของสมาคมยางพาราไทยว่าในปี 2550 จีนจะมีการใช้ยาง 1.40 ล้านตัน และเพิ่มเป็น 1.65 ล้านตันในปี 2555 ในขณะที่การผลิตยางธรรมชาติของจีนค่อนข้างคงที่ ประมาณ 470,000 ตัน จึงน่าจะเป็นโอกาสทางการค้าที่ดีมากของไทย
เมื่อพิจารณาโดยรวมกลับพบว่าผลกระทบของการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีนทำให้ผลกระทบโดยรวมต่อไทยโดยภาพรวมซับซ้อนมากขึ้น เนื่องจากไทยมีการนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากยางมากกว่าที่จีนนำเข้ายางธรรมชาติจากไทย การเปิดเสรีจึงเป็นการสนับสนุนสินค้าที่ทำจากยางของจีนไปในตัวด้วย
Browse
Home
» Archives for มิถุนายน 2013
ปริมาณการบริโภคยางพาราของจีน ในปี 2543 มีอัตราการเติบโตอย่างมากจากการเติบโตทางเศรษฐกิจ การลงทุนด้านสาธารณูปโภค และการกระตุ้นการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเป็นผลดีต่อทุกอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยาง ที่ได้รับผลจากการที่มีรถยนต์มากขึ้นทำให้มีการใช้ล้อยางมากขึ้น ความต้องการยางธรรมชาติจึงเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว ทำให้ในปี 2543 จีนมีการบริโภคยาง 1.08 ล้านตัน ส่วนในปี 2544 จีนมีการบริโภคยางทั้งสิ้น 1.07 ล้านตัน ลดลงจากปี 2543 เล็กน้อย
จีนมีความต้องการยางธรรมชาติเป็นจำนวนมากในการผลิตยางล้อที่มีทั้ง ยางรถจักรยานยนต์ ยางรถจักรยาน และยางรถยนต์ ส่วนผลิตภัณฑ์ยางมียางรัดของ ท่อยาง รองเท้ายาง และยางรัดกางเกงหรือชุดชั้นใน ซึ่งการผลิตผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดต้องการวัตถุดิบต่างกัน คือ
- ยางแท่งและยางแผ่น ใช้ในการผลิตยางล้อ เป็นส่วนประกอบใน mold เพื่อผลิตส่วนประกอบรถยนต์ และ consumer product เช่น ขอบประตู หน้าต่าง ยางรองคอสะพาน เป็นต้น
- น้ำยางข้น ใช้ในการผลิต ถุงมือยาง พื้นรองเท้า หมอน ฟูก กาว เป็นต้น
การใช้ยางธรรมชาติเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ยางทั้งหมดของจีนนั้นแบ่งได้เป็น 2 ตลาดหลัก คือ ตลาดเพื่อใช้ในการทำท่อยาง และตลาดเพื่อใช้ในการทำยางล้อ โดยสามารถแบ่งได้เป็นยางล้อจำนวนร้อยละ 60 ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 40 เป็นยางอื่นๆ เช่น ท่อยาง เทปยาง สายยางปะเก็นน้ำมัน และยางแท่นกันสะเทือน เป็นต้น
การใช้ยางธรรมชาติในอุตสาหกรรมท่อยาง เมื่อเทียบระหว่างตลาดอุตสาหกรรมยานยนต์และตลาดเพื่อทำท่อยางจะพบว่า ตลาดยางธรรมชาติเพื่อใช้ในการทำท่อยางมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยในปี 2543 จีนมีความต้องการใช้ท่อยางจำนวน 170 ล้านเมตร และมีการคาดการณ์ว่าจะมีการใช้ท่อยาง 178 ล้านเมตรในปี 2545 คิดเป็นการเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 2.3 ต่อปี ซึ่งการพัฒนาอุตสาหกรรมท่อยางของจีนในปัจจุบันจะเน้นการพัฒนาท่อยางเจาะน้ำมันที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดใหญ่ ท่อยางแรงดันสูง และท่อยางที่ใช้ในรถยนต์
การใช้ยางธรรมชาติในอุตสาหกรรมการผลิตยางล้อในจีน จีนมีความต้องการยางธรรมชาติเป็นจำนวนมากในการผลิตยางล้อที่ประกอบด้วย ยางรถจักรยานยนต์ ยางรถจักรยาน และยางรถยนต์ โดยยางรถยนต์แยกเป็นยางรถบรรทุก ยางรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ยางรถที่ใช้ในการเกษตร และยางล้อเครื่องบิน ซึ่งปัจจุบันจีนสามารถผลิตยางยานพาหนะได้มากกว่า 1,200 ชนิด โดยมีมาตรฐานถึง 8,500 มาตรฐาน ซึ่งมณฑลที่มีการผลิตยางล้อมากที่สุดในปี 2538 อยู่ที่ Shandong คิดเป็นร้อยละ 45.2 ของการผลิตยางล้อทั้งประเทศ รองลงมา คือ มณฑลกวางตุ้งร้อยละ 15.8 เซี่ยงไฮ้ ร้อยละ 13.4 ฟูเจียนร้อยละ 13.1 เจียงซู ร้อยละ 10.6 ยูนนานร้อยละ 1.5 และไหหลำร้อยละ 0.4 ในปี 2539 จีนมีโรงงานผลิตยางล้อรถประมาณ 300 โรง และใช้ยางในการผลิตยางล้อจำนวนทั้งสิ้น 957,000 ตัน ปี 2543 มีการใช้เพิ่มขึ้นเป็น 1 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ยจากปี 2539 ปีละ 6% โดยเป็นการผลิตยางล้อทั้งสิ้น 60.6 ล้านเส้นในปี 2539 ในขณะที่ปี 2540 ผลิตได้ 69 ล้านเส้น ปี 2543 ผลิตได้ 80 ล้านเส้น ซึ่งสามารถแบ่งเป็นยางแต่ละประเภท ดังนี้
จีนผลิตยางรถจักรยานได้ 16 ล้านเส้นในปี 2539 โดย ปี 2543 ผลิตได้ 45 ล้านเส้น ในขณะที่ในปี 2539 ผลิตยางรถจักรยานยนต์ได้ 120 ล้านเส้น และเพิ่มเป็น 220 ล้านเส้นในปี 2543 มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยปีละ 7-8 % ในด้านของยางเรเดียล ปี 2539 จีนผลิตได้ 9.9 ล้านเส้นหรือคิดเป็น ร้อยละ 15 ของการผลิตยางล้อทั้งหมด โดยในปี 2540 เพิ่มเป็น 12.8 ล้านเส้น และในปี 2543สัดส่วนการผลิตยางเรเดียลจะเพิ่มขึ้นเป็น
ร้อยละ 35 ซึ่งถือว่ามีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว เพราะการขยายตัวของการลงทุนจากบริษัทผลิตยางเรเดียลของจีนเองและจากต่างประเทศ เช่น บริดจสโตน มิชลิน และกู๊ดเยียร์ ในปี 2543 -2544 จำนวนรถยนต์ของจีนเพิ่มขึ้น 2.3 ล้านคัน โดยเป็นรถโดยสาร 1.25-1.28 ล้านคัน โดยเป็นการใช้ยางรถโดยสารเพิ่มขึ้น 60.3 ล้านเส้น และยางเรเดียล 40 ล้านเส้น และจากสถิติของ International Rubber Study Group ดังตารางที่ 20 พบว่าจีนมีการผลิตยางรถยนต์ซึ่งรวมทั้งรถส่วนตัวและรถบรรทุกจำนวน 121.60 ล้านเส้นในปี 2543 ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นใน 3 ไตรมาสแรกของปี 2544 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2543 ด้วย และในปี 2544 มีการประมาณการว่าจะมีการผลิตล้อยางไม่ต่ำกว่า 135 ล้านเส้น
ในการผลิตยางล้อนั้นในอดีตนิยมใช้ยางแผ่นในการผลิต โดยยางแผ่นที่ใช้เป็นยางแผ่นคุณภาพต่ำ(ยางแผ่นเกรด 3 ซึ่งเป็นยางแผ่นเกรดที่ไทยสามารถผลิตได้มากที่สุด) แต่ในปัจจุบันเริ่มมีการเปลี่ยนมาใช้ยางแท่งในการผลิตยางรถยนต์มากขึ้น เนื่องจาก โรงงานผลิตยางรถยนต์สมัยใหม่สามารถใช้ทั้งยางแท่งและยางแผ่นรมควันเป็นวัตถุดิบ ต่างจากเทคโนโลยีสมัยเก่าที่เน้นการใช้ยางแผ่นรมควันมากกว่า การเติบโตของอุตสาหกรรมล้อยางนี้ขึ้นอยู่กับ 2 องค์ประกอบหลักคือ นโยบายทางด้านคมนาคมของจีนทีเกี่ยวกับการสร้างถนนเชื่อมโยงโดยเฉพาะระหว่างเมืองและมณฑลต่าง ๆ และนโยบายสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์เพื่อให้เป็นพาหนะของประชาชนที่มีอำนาจในการซื้อ
เรียบเรียงโดย : เครื่องรีดยาง
จีนมีความต้องการยางธรรมชาติเป็นจำนวนมากในการผลิตยางล้อที่มีทั้ง ยางรถจักรยานยนต์ ยางรถจักรยาน และยางรถยนต์ ส่วนผลิตภัณฑ์ยางมียางรัดของ ท่อยาง รองเท้ายาง และยางรัดกางเกงหรือชุดชั้นใน ซึ่งการผลิตผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดต้องการวัตถุดิบต่างกัน คือ
- ยางแท่งและยางแผ่น ใช้ในการผลิตยางล้อ เป็นส่วนประกอบใน mold เพื่อผลิตส่วนประกอบรถยนต์ และ consumer product เช่น ขอบประตู หน้าต่าง ยางรองคอสะพาน เป็นต้น
- น้ำยางข้น ใช้ในการผลิต ถุงมือยาง พื้นรองเท้า หมอน ฟูก กาว เป็นต้น
การใช้ยางธรรมชาติเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ยางทั้งหมดของจีนนั้นแบ่งได้เป็น 2 ตลาดหลัก คือ ตลาดเพื่อใช้ในการทำท่อยาง และตลาดเพื่อใช้ในการทำยางล้อ โดยสามารถแบ่งได้เป็นยางล้อจำนวนร้อยละ 60 ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 40 เป็นยางอื่นๆ เช่น ท่อยาง เทปยาง สายยางปะเก็นน้ำมัน และยางแท่นกันสะเทือน เป็นต้น
การใช้ยางธรรมชาติในอุตสาหกรรมท่อยาง เมื่อเทียบระหว่างตลาดอุตสาหกรรมยานยนต์และตลาดเพื่อทำท่อยางจะพบว่า ตลาดยางธรรมชาติเพื่อใช้ในการทำท่อยางมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยในปี 2543 จีนมีความต้องการใช้ท่อยางจำนวน 170 ล้านเมตร และมีการคาดการณ์ว่าจะมีการใช้ท่อยาง 178 ล้านเมตรในปี 2545 คิดเป็นการเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 2.3 ต่อปี ซึ่งการพัฒนาอุตสาหกรรมท่อยางของจีนในปัจจุบันจะเน้นการพัฒนาท่อยางเจาะน้ำมันที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดใหญ่ ท่อยางแรงดันสูง และท่อยางที่ใช้ในรถยนต์
การใช้ยางธรรมชาติในอุตสาหกรรมการผลิตยางล้อในจีน จีนมีความต้องการยางธรรมชาติเป็นจำนวนมากในการผลิตยางล้อที่ประกอบด้วย ยางรถจักรยานยนต์ ยางรถจักรยาน และยางรถยนต์ โดยยางรถยนต์แยกเป็นยางรถบรรทุก ยางรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ยางรถที่ใช้ในการเกษตร และยางล้อเครื่องบิน ซึ่งปัจจุบันจีนสามารถผลิตยางยานพาหนะได้มากกว่า 1,200 ชนิด โดยมีมาตรฐานถึง 8,500 มาตรฐาน ซึ่งมณฑลที่มีการผลิตยางล้อมากที่สุดในปี 2538 อยู่ที่ Shandong คิดเป็นร้อยละ 45.2 ของการผลิตยางล้อทั้งประเทศ รองลงมา คือ มณฑลกวางตุ้งร้อยละ 15.8 เซี่ยงไฮ้ ร้อยละ 13.4 ฟูเจียนร้อยละ 13.1 เจียงซู ร้อยละ 10.6 ยูนนานร้อยละ 1.5 และไหหลำร้อยละ 0.4 ในปี 2539 จีนมีโรงงานผลิตยางล้อรถประมาณ 300 โรง และใช้ยางในการผลิตยางล้อจำนวนทั้งสิ้น 957,000 ตัน ปี 2543 มีการใช้เพิ่มขึ้นเป็น 1 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ยจากปี 2539 ปีละ 6% โดยเป็นการผลิตยางล้อทั้งสิ้น 60.6 ล้านเส้นในปี 2539 ในขณะที่ปี 2540 ผลิตได้ 69 ล้านเส้น ปี 2543 ผลิตได้ 80 ล้านเส้น ซึ่งสามารถแบ่งเป็นยางแต่ละประเภท ดังนี้
จีนผลิตยางรถจักรยานได้ 16 ล้านเส้นในปี 2539 โดย ปี 2543 ผลิตได้ 45 ล้านเส้น ในขณะที่ในปี 2539 ผลิตยางรถจักรยานยนต์ได้ 120 ล้านเส้น และเพิ่มเป็น 220 ล้านเส้นในปี 2543 มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยปีละ 7-8 % ในด้านของยางเรเดียล ปี 2539 จีนผลิตได้ 9.9 ล้านเส้นหรือคิดเป็น ร้อยละ 15 ของการผลิตยางล้อทั้งหมด โดยในปี 2540 เพิ่มเป็น 12.8 ล้านเส้น และในปี 2543สัดส่วนการผลิตยางเรเดียลจะเพิ่มขึ้นเป็น
ร้อยละ 35 ซึ่งถือว่ามีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว เพราะการขยายตัวของการลงทุนจากบริษัทผลิตยางเรเดียลของจีนเองและจากต่างประเทศ เช่น บริดจสโตน มิชลิน และกู๊ดเยียร์ ในปี 2543 -2544 จำนวนรถยนต์ของจีนเพิ่มขึ้น 2.3 ล้านคัน โดยเป็นรถโดยสาร 1.25-1.28 ล้านคัน โดยเป็นการใช้ยางรถโดยสารเพิ่มขึ้น 60.3 ล้านเส้น และยางเรเดียล 40 ล้านเส้น และจากสถิติของ International Rubber Study Group ดังตารางที่ 20 พบว่าจีนมีการผลิตยางรถยนต์ซึ่งรวมทั้งรถส่วนตัวและรถบรรทุกจำนวน 121.60 ล้านเส้นในปี 2543 ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นใน 3 ไตรมาสแรกของปี 2544 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2543 ด้วย และในปี 2544 มีการประมาณการว่าจะมีการผลิตล้อยางไม่ต่ำกว่า 135 ล้านเส้น
ในการผลิตยางล้อนั้นในอดีตนิยมใช้ยางแผ่นในการผลิต โดยยางแผ่นที่ใช้เป็นยางแผ่นคุณภาพต่ำ(ยางแผ่นเกรด 3 ซึ่งเป็นยางแผ่นเกรดที่ไทยสามารถผลิตได้มากที่สุด) แต่ในปัจจุบันเริ่มมีการเปลี่ยนมาใช้ยางแท่งในการผลิตยางรถยนต์มากขึ้น เนื่องจาก โรงงานผลิตยางรถยนต์สมัยใหม่สามารถใช้ทั้งยางแท่งและยางแผ่นรมควันเป็นวัตถุดิบ ต่างจากเทคโนโลยีสมัยเก่าที่เน้นการใช้ยางแผ่นรมควันมากกว่า การเติบโตของอุตสาหกรรมล้อยางนี้ขึ้นอยู่กับ 2 องค์ประกอบหลักคือ นโยบายทางด้านคมนาคมของจีนทีเกี่ยวกับการสร้างถนนเชื่อมโยงโดยเฉพาะระหว่างเมืองและมณฑลต่าง ๆ และนโยบายสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์เพื่อให้เป็นพาหนะของประชาชนที่มีอำนาจในการซื้อ
เรียบเรียงโดย : เครื่องรีดยาง
Browse
Home
» Archives for มิถุนายน 2013
การผลิตยางพาราของจีนในปี 2539 ให้ผลผลิต 163 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งประสิทธิภาพการผลิตก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงปี 2542 ที่ได้ผลผลิต 187.6 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 15 ภายใน 4 ปี แต่ในปี 2543 ประสิทธิภาพการผลิตยางพาราของจีนลดลงเป็น ได้ผลผลิต 182.8 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งลดลงร้อยละ 2.6 ส่วนในปี 2544 จีนสามารถผลิตยางพาราได้ 185.7 กิโลกรัมต่อไร่ แต่ก็ยังน้อยกว่าผลผลิตต่อไร่ที่ได้ในปี 2542 ซึ่งเมื่อเทียบกับผลผลิตต่อไร่ของไทยที่ได้ผลผลิตประมาณ 247 กิโลกรัมต่อไร่ในปี 2544 แล้ว จะพบว่าไทยมีประสิทธิภาพในการผลิตยางพารามากกว่าจีนค่อนข้างมาก และการผลิตยางธรรมชาติในจีนก็มีต้นทุนการผลิตสูง
สาเหตุที่จีนมีต้นทุนการผลิตยางธรรมชาติสูง เนื่องจากสาเหตุหลายประการ ได้แก่
1. พื้นที่ปลูกยางธรรมชาตี่สำคัญของจีน คือ ที่เกาะไหหลำและเขตสิบสองปันนา (Xishuangbanna) ในยูนนานอยู่ในบริเวณที่บางครั้งต้องประสบกับภาวะอุณหภูมิไม่เหมาะสมกับการเติบโตของยางทำให้กว่าที่ยางจะโตจนกรีดเอาน้ำยางได้ยาวนานกว่าปกติที่กินเวลา 5 – 6 ปี เป็น 7 – 8 ปี ดังตารางที่ 18 ทำให้เสียโอกาสการหารายได้จากการปลูกพืชชนิดอื่น
2. มีโอกาสสูงที่จะไม่ได้ผลตอบแทนจากการปลูกยาง เนื่องจากต้นยางถูกโค่นล้มจากลมพายุ ต้นยางตายจากสภาพน้ำค้างแข็งตั้งแต่ยังไม่ให้ผลผลิต หรือยางที่เก็บได้เสียหายจากอากาศหนาว โดยเฉพาะในบริเวณเขตสิบสองปันนา (Xishuangbanna) ที่เพิ่งพบกับสภาพอากาศหนาวมากในปี 2542 ถึง 2543
3.โครงสร้างพื้นฐานที่เชื่อมโยงพื้นที่ปลูกยางทุกที่กับโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้ยางเป็นวัตถุดิบขาดความพร้อมและค่าขนส่งยางไปขายในส่วนอื่นๆของจีนก็แพง
4. ที่เขตสิบสองปันนา (Xishuangbanna) ในยูนนาน สามารถกรีดยางได้เพียงปีละ 7 เดือนน้อยกว่าที่เกาะไหหลำที่สามารกรีดยางได้ 9 – 10 เดือน
5. การผลิตยางของจีนยากที่จะรักษาคุณภาพให้สม่ำเสมอ เนื่องจากมีวิธีการเก็บน้ำยางแตกต่างกันไป และต้องขนส่งเป็นระยะทางไกลกว่าจะถึงโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปยาง โรงงานทำล้อยางส่วนใหญ่จะอยู่ที่เซียงไฮ้และต้าเหลียน ซึ่งห่างไกลออกไปมากจากแหล่งยางธรรมชาติของจีน
เรียบเรียงโดย : เครื่องรีดยาง
สาเหตุที่จีนมีต้นทุนการผลิตยางธรรมชาติสูง เนื่องจากสาเหตุหลายประการ ได้แก่
1. พื้นที่ปลูกยางธรรมชาตี่สำคัญของจีน คือ ที่เกาะไหหลำและเขตสิบสองปันนา (Xishuangbanna) ในยูนนานอยู่ในบริเวณที่บางครั้งต้องประสบกับภาวะอุณหภูมิไม่เหมาะสมกับการเติบโตของยางทำให้กว่าที่ยางจะโตจนกรีดเอาน้ำยางได้ยาวนานกว่าปกติที่กินเวลา 5 – 6 ปี เป็น 7 – 8 ปี ดังตารางที่ 18 ทำให้เสียโอกาสการหารายได้จากการปลูกพืชชนิดอื่น
2. มีโอกาสสูงที่จะไม่ได้ผลตอบแทนจากการปลูกยาง เนื่องจากต้นยางถูกโค่นล้มจากลมพายุ ต้นยางตายจากสภาพน้ำค้างแข็งตั้งแต่ยังไม่ให้ผลผลิต หรือยางที่เก็บได้เสียหายจากอากาศหนาว โดยเฉพาะในบริเวณเขตสิบสองปันนา (Xishuangbanna) ที่เพิ่งพบกับสภาพอากาศหนาวมากในปี 2542 ถึง 2543
3.โครงสร้างพื้นฐานที่เชื่อมโยงพื้นที่ปลูกยางทุกที่กับโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้ยางเป็นวัตถุดิบขาดความพร้อมและค่าขนส่งยางไปขายในส่วนอื่นๆของจีนก็แพง
4. ที่เขตสิบสองปันนา (Xishuangbanna) ในยูนนาน สามารถกรีดยางได้เพียงปีละ 7 เดือนน้อยกว่าที่เกาะไหหลำที่สามารกรีดยางได้ 9 – 10 เดือน
5. การผลิตยางของจีนยากที่จะรักษาคุณภาพให้สม่ำเสมอ เนื่องจากมีวิธีการเก็บน้ำยางแตกต่างกันไป และต้องขนส่งเป็นระยะทางไกลกว่าจะถึงโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปยาง โรงงานทำล้อยางส่วนใหญ่จะอยู่ที่เซียงไฮ้และต้าเหลียน ซึ่งห่างไกลออกไปมากจากแหล่งยางธรรมชาติของจีน
เรียบเรียงโดย : เครื่องรีดยาง
Browse
Home
» Archives for มิถุนายน 2013
ปริมาณการผลิตยางธรรมชาติ นับตั้งแต่ปี 2492 เป็นต้นมาจีนผลิตยางพาราได้ 199 ตัน ก่อนเพิ่มเป็นถึง 35,562 ตันในปี 2522 ผลผลิตยางพาราของจีนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตั้งแต่ปี 2522 ที่ผลิตได้ถึง 111,693 ตัน จนปี 2525 จีนผลิตยางได้ทั้งสิ้น 140,000 ตัน ส่วนในปี 2526 การผลิตยางพาราของจีนส่วนใหญ่ยังอยู่ที่เกาะไหหลำ คือ ประมาณ 110,000 ตัน รัฐบาลจีนได้พยายามเพิ่มผลผลิตยางพาราโดยขอกู้เงินจากธนาคารโลก จำนวน 100 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2526 โดยมีเป้าหมายจะเพิ่มผลผลิตให้ได้ 560,000 – 600,000 ตันในปี 2543 ซึ่งส่งผลทำให้ ในปี 2532 หลังจากดำเนินการตามแผนได้ 6 ปี จีนสามารถผลิตยางพาราได้เป็น 2 เท่า คือ 242,453 ตัน ต่อมาในปี 2533 จีนมีผลผลิตยางพารารวม 260,850 ตัน และเพิ่มเป็น 430,000 ตันในปี 2539 หลังจากปี 2539 เป็นต้นมา จีนสามารถผลิตยางพาราเพิ่มขึ้นปีละประมาณ 15,000-20,000 ตันทุกปี ในช่วงปี 2540-2543 ทำให้ปี 2543 จีนสามารถผลิตยางพาราได้ 478,000 ตัน ซึ่งน้อยกว่าที่ทางการจีนตั้งเป้าหมายไว้ที่ 560,000 – 600,000 ตัน ตามโครงการเพิ่มผลผลิตยางพาราในประเทศ ส่วนในปี 2544 การผลิตยางพาราของจีนเพิ่มขึ้นเป็น 486,000 ตัน ซึ่งเพิ่มขึ้นเพียง 8,000 ตันจากปีก่อน คิดเป็นเพียงร้อยละ 1.7 เท่านั้น และคิดเป็นประมาณร้อยละ 7 ของปริมาณผลผลิตที่ผลิตได้ทั่วโลก (ตามข้อมูลในตารางที่ 10 ) โดยในปี 2544 จีนมีการผลิตยางธรรมชาติมากเป็นอันดับ 5 ของโลกรองจาก ไทย อินโดนีเซีย อินเดียและ
มาเลเซีย
เรียบเรียงโดย : เครื่องรีดยาง
เรียบเรียงโดย : เครื่องรีดยาง
Browse
Home
» Archives for มิถุนายน 2013
1.1 สถานการณ์ยางพาราของจีน จีนผลิตยางพาราได้ปีละประมาณ 4.5 แสนตัน (ปี 2540-2544) ในแถบมณฑลไหหนาน ยูนนาน
ฟูเจียน กวางตุ้งและกวางสี ในขณะทีมีความต้องการยางพาราปีละประมาณ 8.5-9.5 แสนตัน และมี
แนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น จึงต้องนำเข้ายางพาราจากต่างประเทศไม่น้อยกว่า 4 แสนตันต่อปี
1.2 การผลิต พื้นที่ปลูก จีนเริ่มปลูกยางพาราตั้งแต่ปี 2447 ในมณฑลกวางตุ้ง (Guangdong) แต่มีการพัฒนาอย่างจริงจังในปี 2494 โดยขยายพื้นที่ปลูกยางพาราไปยังมณฑลไหหลำ (Hainan) รวมถึงมณฑลยูนนาน (Yunnan) และกวางสี (Guangxi) ทางตอนใต้ของประเทศ จากนั้นขยายไปสู่มณฑลฟูเจียน (Fujean) ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ โดยแหล่งปลูกยางที่สำคัญ คือ เกาะไหหลำ และ เขตสิบสองปันนา (Xishuangbanna Prefecture) ในมณฑลยูนนาน ปัจจุบัน การปลูกยางในมณฑลกวางตุ้งนั้นมีน้อยลง เพราะมีการปลูกพืชอื่น ๆ ที่มีผลตอบแทนสูงกว่ามาทดแทน โดยจีนมีการปลูกยางในมณฑลยูนนานร้อยละ 24 กวางตุ้งร้อยละ 11.7 และเกาะไหหนานประมาณร้อยละ 6 ในช่วงหลังผลผลิตยางพาราของจีนเริ่มจะอิ่มตัว เพราะต้นทุนการลผิตของจีนสูง เนื่องจากสถานที่ปลูกของจีนอยู่นอกเขต Traditional Zone ทำให้การเติบโตของยางไม่ดี เช่นที่เกาะไหหลำมีมรสุมทำให้ต้นยางโค่นบ่อย ที่มณฑลยูนนานมีน้ำค้างแข็งตัวในฤดูหนาวจึงทำลายหน้ายางและพื้นที่เป็นภูเขาสูงกว่า 600 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลที่เหมาะแก่การปลูกยาง อีกทั้งต้องปลูกยางแบบขั้นบันได (ทางเชียงรายและน่านจึงปลูกได้ดีกว่า) นอกจากนั้นทางตอนใต้ของจีนส่วนใหญ่ยังเป็นพื้นที่ปลูกผลไม้ เช่น ที่กวางเจา ซึ่งการปลูกผลไม้ให้ผลตอบแทนสูงกว่าจึงไม่นิยมปลูกยาง ดังนั้นสรุปแล้วพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการปลูกยางของจีนมีน้อยและการปลูกยังมีต้นทุนสูง ทำให้ผลผลิตยางธรรมชาติมีจำนวนน้อยและจำกัด พื้นที่ปลูกยางพาราที่ให้ผลผลิตของจีนในปี 2539 มี 2,469,000 ไร่ โดยพื้นที่ให้ผลผลิตยางของจีนมีการเพิ่มขึ้นค่อนข้างมากในปี 2540 และ 2542 ที่มีการเพิ่มขึ้นเป็น 2,546,000 และ 2,612,000 ไร่ตามลำดับ ซึ่งเป็นการเพิ่มพื้นที่ให้ผลผลิตยางพาราเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 และ 2.5 ตามลำดับ ส่วนในปี 2543และ 2544 จีนมีพื้นที่ให้ผลผลิตยางพาราเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเป็น 2,634,000 และ 2,638,000 ไร่ ตามลำดับ
เรียบเรียงโดย : เครื่องรีดยาง
1.2 การผลิต พื้นที่ปลูก จีนเริ่มปลูกยางพาราตั้งแต่ปี 2447 ในมณฑลกวางตุ้ง (Guangdong) แต่มีการพัฒนาอย่างจริงจังในปี 2494 โดยขยายพื้นที่ปลูกยางพาราไปยังมณฑลไหหลำ (Hainan) รวมถึงมณฑลยูนนาน (Yunnan) และกวางสี (Guangxi) ทางตอนใต้ของประเทศ จากนั้นขยายไปสู่มณฑลฟูเจียน (Fujean) ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ โดยแหล่งปลูกยางที่สำคัญ คือ เกาะไหหลำ และ เขตสิบสองปันนา (Xishuangbanna Prefecture) ในมณฑลยูนนาน ปัจจุบัน การปลูกยางในมณฑลกวางตุ้งนั้นมีน้อยลง เพราะมีการปลูกพืชอื่น ๆ ที่มีผลตอบแทนสูงกว่ามาทดแทน โดยจีนมีการปลูกยางในมณฑลยูนนานร้อยละ 24 กวางตุ้งร้อยละ 11.7 และเกาะไหหนานประมาณร้อยละ 6 ในช่วงหลังผลผลิตยางพาราของจีนเริ่มจะอิ่มตัว เพราะต้นทุนการลผิตของจีนสูง เนื่องจากสถานที่ปลูกของจีนอยู่นอกเขต Traditional Zone ทำให้การเติบโตของยางไม่ดี เช่นที่เกาะไหหลำมีมรสุมทำให้ต้นยางโค่นบ่อย ที่มณฑลยูนนานมีน้ำค้างแข็งตัวในฤดูหนาวจึงทำลายหน้ายางและพื้นที่เป็นภูเขาสูงกว่า 600 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลที่เหมาะแก่การปลูกยาง อีกทั้งต้องปลูกยางแบบขั้นบันได (ทางเชียงรายและน่านจึงปลูกได้ดีกว่า) นอกจากนั้นทางตอนใต้ของจีนส่วนใหญ่ยังเป็นพื้นที่ปลูกผลไม้ เช่น ที่กวางเจา ซึ่งการปลูกผลไม้ให้ผลตอบแทนสูงกว่าจึงไม่นิยมปลูกยาง ดังนั้นสรุปแล้วพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการปลูกยางของจีนมีน้อยและการปลูกยังมีต้นทุนสูง ทำให้ผลผลิตยางธรรมชาติมีจำนวนน้อยและจำกัด พื้นที่ปลูกยางพาราที่ให้ผลผลิตของจีนในปี 2539 มี 2,469,000 ไร่ โดยพื้นที่ให้ผลผลิตยางของจีนมีการเพิ่มขึ้นค่อนข้างมากในปี 2540 และ 2542 ที่มีการเพิ่มขึ้นเป็น 2,546,000 และ 2,612,000 ไร่ตามลำดับ ซึ่งเป็นการเพิ่มพื้นที่ให้ผลผลิตยางพาราเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 และ 2.5 ตามลำดับ ส่วนในปี 2543และ 2544 จีนมีพื้นที่ให้ผลผลิตยางพาราเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเป็น 2,634,000 และ 2,638,000 ไร่ ตามลำดับ
เรียบเรียงโดย : เครื่องรีดยาง
Browse
Home
» Archives for มิถุนายน 2013
เวียดนาม เวียดนามมีการปลูกยางมาเป็นเวลานับ 100 ปี ในตอนกลางของประเทศจากการนำเข้ามาปลูกของฝรั่งเศสในช่วงที่เป็นอาณานิคม ซึ่งฝรั่งเศสได้มีการวางรากฐานและตั้งสถาบันวิจัยยางที่ดีขึ้นในเวียดนาม แต่จากการมีสงครามเป็นเวลานานของเวียดนามจึงทำให้อุตสาหกรรมยางพาราของเวียดนามไม่พัฒนาเท่าที่ควร และเพิ่งมีการกลับมาปลูกยางใหม่อีกครั้งหลังสงครามซึ่งต้นยางเหล่านี้เพิ่งให้น้ำยางและคุณภาพค่อนข้างดีมาก นอกจากนี้ก็มีการปรับปรุงสภาบันวิจัยยางพาราและนำเทคโนโลยีการผลิตยางแท่งของมาเลเซียมาใช้ และเนื่องจากยังเป็นประเทศสังคมนิยมจึงสามารถจัดระบบการผลิตยางพาราได้เป็นอย่างดี โดยการมีโรงงานอยู่ใกล้กับสวนยางทำให้สามารถนำน้ำยางดิบมาผลิตเป็นยางแท่งได้ทันทีทำให้ได้ยางคุณภาพดี และราคายางของเวียดนามก็ราคาถูก
ปัจจุบันเวียดนามสามารถผลิตยางพาราได้ประมาณ 300,000 ตันต่อปี โดยบางส่วนขายในรูปของยางข้น ตลาดส่งออกที่สำคัญของเวียดนามคือ จีนซึ่งส่วนใหญ่เป็นการค้าผ่านชายแดนที่เสียภาษีนำเข้าน้อย จึงได้เปรียบประเทศผู้ส่งออกยางพาราอื่นๆ และ สหภาพยุโรป เช่นเยอรมัน การที่ยางพาราของเวียดนามมีคุณภาพดีมากและราคาถูกจึงเป็นที่ต้องการของตลาดค่อนข้างมากจนผลผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการ ต้องมีการขยายพื้นที่ปลูกไปยังที่ราบสูงซึ่งให้ผลผลิตไม่ดีเท่าที่ควร
นอกจากนี้ เวียดนามได้พัฒนาการผลิตยางแท่ง SVR3L SVR20 และน้ำยางข้น ที่มีคุณภาพดี ราคาถูก โดยยางบางส่วนของเวียดนามส่งผ่านชายแดนไปขายจีน เพื่อผลิตยางล้อและผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ ยางบางส่วนส่งไปขายยุโรป แต่ขีดจำกัดของเวียดนาม คือยังผลิตยางได้ไม่มากเท่าที่ควร ซึ่งส่วนหนึ่งก็ถูกนำมาใช้ในประเทศ แต่เวียดนามก็ยังน่าจะสามารถขยายการผลิตได้ในอนาคต
เรียบเรียงโดย : เครื่องรีดยาง
ปัจจุบันเวียดนามสามารถผลิตยางพาราได้ประมาณ 300,000 ตันต่อปี โดยบางส่วนขายในรูปของยางข้น ตลาดส่งออกที่สำคัญของเวียดนามคือ จีนซึ่งส่วนใหญ่เป็นการค้าผ่านชายแดนที่เสียภาษีนำเข้าน้อย จึงได้เปรียบประเทศผู้ส่งออกยางพาราอื่นๆ และ สหภาพยุโรป เช่นเยอรมัน การที่ยางพาราของเวียดนามมีคุณภาพดีมากและราคาถูกจึงเป็นที่ต้องการของตลาดค่อนข้างมากจนผลผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการ ต้องมีการขยายพื้นที่ปลูกไปยังที่ราบสูงซึ่งให้ผลผลิตไม่ดีเท่าที่ควร
นอกจากนี้ เวียดนามได้พัฒนาการผลิตยางแท่ง SVR3L SVR20 และน้ำยางข้น ที่มีคุณภาพดี ราคาถูก โดยยางบางส่วนของเวียดนามส่งผ่านชายแดนไปขายจีน เพื่อผลิตยางล้อและผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ ยางบางส่วนส่งไปขายยุโรป แต่ขีดจำกัดของเวียดนาม คือยังผลิตยางได้ไม่มากเท่าที่ควร ซึ่งส่วนหนึ่งก็ถูกนำมาใช้ในประเทศ แต่เวียดนามก็ยังน่าจะสามารถขยายการผลิตได้ในอนาคต
เรียบเรียงโดย : เครื่องรีดยาง
Browse
Home
» Archives for มิถุนายน 2013
อินโดนีเซีย อินโดนีเซียมีการผลิตยางพาราประมาณ 1.6 – 1.7 ล้านตัน บนพื้นที่ปะมาณ 23 ล้านไร่ โดยในปี 2540 มีการผลิตยางพาราชนิดต่างๆ ตามสัดส่วน คือ มีการผลิตยางแท่งมากกว่า 88 % ของผลิตภัณฑ์ยางทั้งหมด รองลงมา คือยางแผ่นมากกว่า 4% ส่วนที่เหลือจึงเป็นการผลิตน้ำยางข้นและยางเครฟอย่างละเท่าๆกัน โดยยางแท่งที่ผลิตได้ส่วนใหญ่เป็นยางแท่งชั้น SIR 20 (ตามมาตรฐานอุตสาหกรรมของอินโดนีเซีย) ขณะที่ยางแผ่นส่วนใหญ่เป็นยางแผ่นชั้น 1 การบรรจุหีบห่อของผลิตภัณฑ์ยางของอินโดนีเซียทำได้ค่อนข้างดี คือ ร้อยละ 80 ของยางแท่งที่ผลิตได้ห่อด้วยพลาสติกแล้วใช้ไม้รองจึงไม่มีปัญหาเกี่ยวกับการเกิดแป้ง ส่วนยางแผ่นถูกอัดเป็นก้อนหนัก 33.3 หรือ 35 กิโลกรัม แล้วห่อด้วยพลาสติก ช่วยแก้ปัญหาด้านน้ำหนักและการเกิดแป้ง
ท่าเรือหลักที่ใช้ในการส่งออกยางพาราของอินโดนีเซีย คือ ท่าเรือเบลาวัน ปาเลมบัง จัมบี และ ปอนเตียแนค แต่ท่าเรือที่ดีที่สุดในการส่งออก คือ ท่าเรือเบลาวัน โดยการส่งออกยางพาราของอินโดนีเซียส่วนใหญ่จะถูกส่งผ่านไปยังสิงคโปร์ก่อน ทำให้สิงคโปร์มีบทบาทมากต่อการส่งออกยางพาราของอินโดนีเซีย คู่ค้าหลักของอินโดนีเซียคือ สหรัฐอเมริกาที่นำยางแท่งของอินโดนีเซียไปทำยางล้อ
การผลิตยางพาราของอินโดนีเซียจะอยู่ในบริเวณ ตอนเหนือและตอนใต้ของเกาะสุมาตรา จัมบี ริอู เกาะกาลิมันตัน ทางตะวันออกของอินโดนีเซียที่เรียกว่าเกาะเซราม และอาเรนจายา โดยในปี 2539 อินโดนีเซียมีพื้นที่ปลูกยางพารารวม 22 ล้านไร่ ส่วนใหญ่อยู่ทางตอนเหนือและใต้ของเกาะสุมาตรา ซึ่งให้ผลผลิต 75 % ของผลผลิตทั้งประเทศ รองลงมาคือบริเวณเกาะกาลิมันตันที่ให้ผลผลิต 20 % ขณะที่พื้นที่ปลูกยางทางตอนเหนือของเกาะสุมาตราและริอูกำลังมีการเปลี่ยนไปปลูกปาล์มแทน
ในปี 2540 โครงสร้างการปลูกยางของอินโดนีเซียส่วนใหญ่ประมาณ 84% เป็นสวนยางขนาดเล็กซึ่งมีส่วนแบ่งการผลิตยาง 78 % ซึ่งเป็นการปลูกยางแบบไม่เป็นระบบและเป็นยางพันธุ์พื้นเมือง การปลูกแทนด้วยยางพันธุ์ดีมีน้อย และรัฐยังดูแลไม่ทั่วถึง เนื่องจากขาดแคลนงบประมาณและปัญหาการเมืองภายใน การพัฒนาขึ้นมาเป็นผู้นำในการผลิตยางจึงทำได้ค่อนข้างยากในอนาคตจึงมีโครงการให้เกาะกาลิมันตันเป็นพื้นที่หลักในการปลูกยางแทนอย่างมีแผนการพัฒนาการปลูกยางที่ชัดเจน จากการแบ่งสวนยางออกเป็นสวนขนาดใหญ่และขนาดเล็ก โดยให้สวนยางขนาดใหญ่เป็นศูนย์กลางของสวนยางขนาดเล็กเพื่อพัฒนาตลาดและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
เรียบเรียงโดย : เครื่องรีดยาง
ท่าเรือหลักที่ใช้ในการส่งออกยางพาราของอินโดนีเซีย คือ ท่าเรือเบลาวัน ปาเลมบัง จัมบี และ ปอนเตียแนค แต่ท่าเรือที่ดีที่สุดในการส่งออก คือ ท่าเรือเบลาวัน โดยการส่งออกยางพาราของอินโดนีเซียส่วนใหญ่จะถูกส่งผ่านไปยังสิงคโปร์ก่อน ทำให้สิงคโปร์มีบทบาทมากต่อการส่งออกยางพาราของอินโดนีเซีย คู่ค้าหลักของอินโดนีเซียคือ สหรัฐอเมริกาที่นำยางแท่งของอินโดนีเซียไปทำยางล้อ
การผลิตยางพาราของอินโดนีเซียจะอยู่ในบริเวณ ตอนเหนือและตอนใต้ของเกาะสุมาตรา จัมบี ริอู เกาะกาลิมันตัน ทางตะวันออกของอินโดนีเซียที่เรียกว่าเกาะเซราม และอาเรนจายา โดยในปี 2539 อินโดนีเซียมีพื้นที่ปลูกยางพารารวม 22 ล้านไร่ ส่วนใหญ่อยู่ทางตอนเหนือและใต้ของเกาะสุมาตรา ซึ่งให้ผลผลิต 75 % ของผลผลิตทั้งประเทศ รองลงมาคือบริเวณเกาะกาลิมันตันที่ให้ผลผลิต 20 % ขณะที่พื้นที่ปลูกยางทางตอนเหนือของเกาะสุมาตราและริอูกำลังมีการเปลี่ยนไปปลูกปาล์มแทน
ในปี 2540 โครงสร้างการปลูกยางของอินโดนีเซียส่วนใหญ่ประมาณ 84% เป็นสวนยางขนาดเล็กซึ่งมีส่วนแบ่งการผลิตยาง 78 % ซึ่งเป็นการปลูกยางแบบไม่เป็นระบบและเป็นยางพันธุ์พื้นเมือง การปลูกแทนด้วยยางพันธุ์ดีมีน้อย และรัฐยังดูแลไม่ทั่วถึง เนื่องจากขาดแคลนงบประมาณและปัญหาการเมืองภายใน การพัฒนาขึ้นมาเป็นผู้นำในการผลิตยางจึงทำได้ค่อนข้างยากในอนาคตจึงมีโครงการให้เกาะกาลิมันตันเป็นพื้นที่หลักในการปลูกยางแทนอย่างมีแผนการพัฒนาการปลูกยางที่ชัดเจน จากการแบ่งสวนยางออกเป็นสวนขนาดใหญ่และขนาดเล็ก โดยให้สวนยางขนาดใหญ่เป็นศูนย์กลางของสวนยางขนาดเล็กเพื่อพัฒนาตลาดและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
เรียบเรียงโดย : เครื่องรีดยาง
Browse
Home
» Archives for มิถุนายน 2013
สำหรับโครงสร้างอุตสาหกรรมยางพาราในมาเลเซียจะมีความสมบูรณ์มากกว่าของไทย คือ สามารถเปลี่ยนจากการเป็นประเทศส่งออกวัตถุดิบยางพารา เป็นประเทศที่ส่งออกผลิตภัณฑ์ยางพาราที่มีมูลค่าเพิ่มสูงกว่าโดยเฉพาะ dipping product
เรียบเรียงโดย : เครื่องรีดยาง
Browse
Home
» Archives for มิถุนายน 2013
1.3 การค้า ในแต่ละปีมีการค้ายางในตลาดโลกประมาณ 5 ล้านกว่าตัน คิดเป็นร้อยละ 78.20 ของยางที่ผลิตได้ทั้งหมดของโลก ซึ่งในระยะ 4 ปีที่ผ่านมา (2540 – 2544) มีการค้ายางเพิ่มขึ้นในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 1.5 ต่อปี กล่าวคือ จาก 5.221 ล้านตันในปี 2540 เป็น 5.455 ล้านตันในปี 2544 แม้ว่าในปี 2544 ปริมาณการค้ายางของโลกจะลดลงร้อยละ 4.3 จากปี 2543 โดยเป็นการค้ายางแท่งมากที่สุด รองลงมาคือ ยางแผ่นรมควัน และน้ำยางข้น คิดเป็นร้อยละ 50 ร้อยละ19 และ ร้อยละ10.7 ตามลำดับ
ปัจจุบันถึงแม้ว่ามาเลเซียจะมีการผลิตยางธรรมชาติลดลงแต่มาเลเซียก็ยังเป็นประเทศที่มีอิทธิพลต่อตลาดยางธรรมชาติของโลก เนื่องจากมาเลเซียได้รับการวางรากฐานเกี่ยวกับอุตสาหกรรมยางเป็นอย่างดี ตั้งแต่สมัยยังเป็นอาณานิคมของอังกฤษ โดยมีการพัฒนาคนและการวิจัยเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ยางเป็นอย่างดี และส่งคนไปยังประเทศต่างๆทั่วโลกเพื่อศึกษาความเหมาะสมของยางธรรมชาติในการผลิตผลิตภัณฑ์ยางแต่ละชนิด ทำให้ประเทศที่มีอุตสาหกรรมยางทั่วโลกยอมรับยางธรรมชาติมาตรฐานของมาเลเซีย มากกว่าของประเทศอื่นๆ แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อมาเลเซียผลิตยางธรรมชาติได้น้อยลงผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ยางจึงเริ่มมีการปรับตัวเพื่อใช้ยางมาตรฐานของประเทศผู้ส่งออกอื่นๆมากขึ้น
1.3.1 การส่งออกในตลาดโลก ประเทศผู้ส่งออกยางธรรมชาติที่สำคัญของโลกคือ ไทย ร้อยละ 44.8 อินโดนีเซีย ร้อยละ 26 มาเลเซีย ร้อยละ 15.1 รวม 3 ประเทศมีสัดส่วนการส่งออกถึงร้อยละ 86 ของการส่งออกยางทั้งหมด ซึ่งมีประมาณ 4.6 - 5 ล้านตันต่อปี โดยมีประเทศผู้ส่งออกที่สำคัญอื่น ๆ คือ ไนจีเรีย ศรีลังกา เวียดนาม กัมพูชา ไลบีเรีย แต่มีบทบาทในตลาดโลกน้อยมาก โดยส่วนใหญ่ประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติจะผลิตยางธรรมชาติการส่งออกเป็นหลัก มีการใช้ในประเทศเพียงเล็กน้อย ประมาณร้อยละ 10 เท่านั้น ยกเว้นสาธารณรัฐประชาชนจีนที่ผลิตได้ไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ในประเทศ อย่างไรก็ตาม ประเทศผู้ผลิตหลายประเทศทั้งมาเลเซีย ไทย อินโดนีเซีย ได้ใช้ยางธรรมชาติที่ผลิตได้เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ยางในประเทศมากขึ้น โดยประเทศผู้ส่งออกหลัก 3 ประเทศ มีการส่งออกยางธรรมชาติในปี 2544 ดังนี้ ไทยส่งออกยางธรรมชาติรวม 2.45 ล้านตัน เป็นยางแผ่นรมควันจำนวน 981,000 ตัน คิดเป็นร้อยละ 94.7 ของการค้ายางแผ่นทั่วโลก ยางแท่ง 898,000 ตัน และน้ำยางข้น 410,500 ตัน คิดเป็นร้อยละ 70.4 ของการค้าน้ำยางข้นทั่วโลก ไทยจึงเป็นผู้ส่งออกยางแผ่นรมควันและน้ำยางข้นมากที่สุดในโลก อินโดนีเซียส่งออกยางธรรมชาติรวม 1.49 ล้านตัน เป็นยางแท่ง 1.36 ล้านตัน เป็นประเทศที่ส่งออกยางแท่งมากที่สุดในโลก มากกว่าร้อยละ 45 ของการค้ายางแท่งทั้งหมดของโลก ส่วนมาเลเซียส่งออกยางแท่งเป็นส่วนมาก โดยมีการส่งออกยางแท่ง 716,000 ตัน มากกว่าร้อยละ 87 ของการส่งออกยางธรรมชาติของมาเลเซียทั้งหมด
แต่อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาการแข่งขันของประเทศผู้ส่งออกยางพาราทั้ง 4 ประเทศ คือ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม จะพบว่าทั้งสี่ประเทศมีการแบ่งตลาดยางพารากันค่อนข้างชัดเจน คือ ไทยส่วนใหญ่ส่งออกน้ำยางข้น และยางแผ่นรมควัน ซึ่งตลาดหลักคือ ตลาดญี่ปุ่น และจีนที่เทคโนโลยีการผลิตยางรถยนต์(ผลิตภัณฑ์หลักที่ใช้วัตถุดิบยางพารา) ยังนิยมใช้ยางแผ่นรมควันของไทยที่เป็นที่ยอมรับว่ามีความยืดหยุ่นสูง คุณภาพดีและราคาเหมาะสม
มาเลเซีย ส่วนใหญ่ส่งออกยางแท่ง ไปยังยุโรปและอเมริกา ที่นิยมใช้ยางแท่งในการผลิตยางรถยนต์ แต่ในช่วงหลังเริ่มเปลี่ยนมาเป็นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ยางแทนการส่งออกวัตถุดิบ อินโดนีเซีย ส่วนใหญ่ผลิตยางแท่งเช่นเดียวกับมาเลเซีย แต่ตลาดหลักอยู่ที่สหรัฐอเมริกา เนื่องจากกู๊ดเยียร์ใช้อินโดนีเซียเป็นแหล่งวัตถุดิบสำคัญ เวียดนาม ผลิตยางแท่งและน้ำยางข้น ที่มีคุณภาพดีเหมาะกับการผลิตสินค้าที่ต้องการยางคุณภาพดีเช่นท่อยาง หรือยางที่เป็นส่วนประกอบในรถยนต์ การส่งออกส่วนใหญ่ไปยังจีนและสหภาพยุโรป ซึ่งประเทศผู้ส่งออกยางที่สำคัญแต่ละประเทศมีโครงสร้างการผลิตและการค้ายางธรรมชาติแตกต่างกันไป
เรียบเรียงโดย : เครื่องรีดยาง
ปัจจุบันถึงแม้ว่ามาเลเซียจะมีการผลิตยางธรรมชาติลดลงแต่มาเลเซียก็ยังเป็นประเทศที่มีอิทธิพลต่อตลาดยางธรรมชาติของโลก เนื่องจากมาเลเซียได้รับการวางรากฐานเกี่ยวกับอุตสาหกรรมยางเป็นอย่างดี ตั้งแต่สมัยยังเป็นอาณานิคมของอังกฤษ โดยมีการพัฒนาคนและการวิจัยเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ยางเป็นอย่างดี และส่งคนไปยังประเทศต่างๆทั่วโลกเพื่อศึกษาความเหมาะสมของยางธรรมชาติในการผลิตผลิตภัณฑ์ยางแต่ละชนิด ทำให้ประเทศที่มีอุตสาหกรรมยางทั่วโลกยอมรับยางธรรมชาติมาตรฐานของมาเลเซีย มากกว่าของประเทศอื่นๆ แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อมาเลเซียผลิตยางธรรมชาติได้น้อยลงผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ยางจึงเริ่มมีการปรับตัวเพื่อใช้ยางมาตรฐานของประเทศผู้ส่งออกอื่นๆมากขึ้น
1.3.1 การส่งออกในตลาดโลก ประเทศผู้ส่งออกยางธรรมชาติที่สำคัญของโลกคือ ไทย ร้อยละ 44.8 อินโดนีเซีย ร้อยละ 26 มาเลเซีย ร้อยละ 15.1 รวม 3 ประเทศมีสัดส่วนการส่งออกถึงร้อยละ 86 ของการส่งออกยางทั้งหมด ซึ่งมีประมาณ 4.6 - 5 ล้านตันต่อปี โดยมีประเทศผู้ส่งออกที่สำคัญอื่น ๆ คือ ไนจีเรีย ศรีลังกา เวียดนาม กัมพูชา ไลบีเรีย แต่มีบทบาทในตลาดโลกน้อยมาก โดยส่วนใหญ่ประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติจะผลิตยางธรรมชาติการส่งออกเป็นหลัก มีการใช้ในประเทศเพียงเล็กน้อย ประมาณร้อยละ 10 เท่านั้น ยกเว้นสาธารณรัฐประชาชนจีนที่ผลิตได้ไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ในประเทศ อย่างไรก็ตาม ประเทศผู้ผลิตหลายประเทศทั้งมาเลเซีย ไทย อินโดนีเซีย ได้ใช้ยางธรรมชาติที่ผลิตได้เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ยางในประเทศมากขึ้น โดยประเทศผู้ส่งออกหลัก 3 ประเทศ มีการส่งออกยางธรรมชาติในปี 2544 ดังนี้ ไทยส่งออกยางธรรมชาติรวม 2.45 ล้านตัน เป็นยางแผ่นรมควันจำนวน 981,000 ตัน คิดเป็นร้อยละ 94.7 ของการค้ายางแผ่นทั่วโลก ยางแท่ง 898,000 ตัน และน้ำยางข้น 410,500 ตัน คิดเป็นร้อยละ 70.4 ของการค้าน้ำยางข้นทั่วโลก ไทยจึงเป็นผู้ส่งออกยางแผ่นรมควันและน้ำยางข้นมากที่สุดในโลก อินโดนีเซียส่งออกยางธรรมชาติรวม 1.49 ล้านตัน เป็นยางแท่ง 1.36 ล้านตัน เป็นประเทศที่ส่งออกยางแท่งมากที่สุดในโลก มากกว่าร้อยละ 45 ของการค้ายางแท่งทั้งหมดของโลก ส่วนมาเลเซียส่งออกยางแท่งเป็นส่วนมาก โดยมีการส่งออกยางแท่ง 716,000 ตัน มากกว่าร้อยละ 87 ของการส่งออกยางธรรมชาติของมาเลเซียทั้งหมด
แต่อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาการแข่งขันของประเทศผู้ส่งออกยางพาราทั้ง 4 ประเทศ คือ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม จะพบว่าทั้งสี่ประเทศมีการแบ่งตลาดยางพารากันค่อนข้างชัดเจน คือ ไทยส่วนใหญ่ส่งออกน้ำยางข้น และยางแผ่นรมควัน ซึ่งตลาดหลักคือ ตลาดญี่ปุ่น และจีนที่เทคโนโลยีการผลิตยางรถยนต์(ผลิตภัณฑ์หลักที่ใช้วัตถุดิบยางพารา) ยังนิยมใช้ยางแผ่นรมควันของไทยที่เป็นที่ยอมรับว่ามีความยืดหยุ่นสูง คุณภาพดีและราคาเหมาะสม
มาเลเซีย ส่วนใหญ่ส่งออกยางแท่ง ไปยังยุโรปและอเมริกา ที่นิยมใช้ยางแท่งในการผลิตยางรถยนต์ แต่ในช่วงหลังเริ่มเปลี่ยนมาเป็นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ยางแทนการส่งออกวัตถุดิบ อินโดนีเซีย ส่วนใหญ่ผลิตยางแท่งเช่นเดียวกับมาเลเซีย แต่ตลาดหลักอยู่ที่สหรัฐอเมริกา เนื่องจากกู๊ดเยียร์ใช้อินโดนีเซียเป็นแหล่งวัตถุดิบสำคัญ เวียดนาม ผลิตยางแท่งและน้ำยางข้น ที่มีคุณภาพดีเหมาะกับการผลิตสินค้าที่ต้องการยางคุณภาพดีเช่นท่อยาง หรือยางที่เป็นส่วนประกอบในรถยนต์ การส่งออกส่วนใหญ่ไปยังจีนและสหภาพยุโรป ซึ่งประเทศผู้ส่งออกยางที่สำคัญแต่ละประเทศมีโครงสร้างการผลิตและการค้ายางธรรมชาติแตกต่างกันไป
เรียบเรียงโดย : เครื่องรีดยาง
Browse
Home
» Archives for มิถุนายน 2013
1.2 การบริโภค จากรายงานของ LMC พบว่าความต้องการบริโภคยางของโลกในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา (2541-2544) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอัตราเฉลี่ยประมาณร้อยละ 2 กล่าวคือ จาก 6.494 ล้านตันในปี 2540 เป็น 6.889 ล้านตันในปี 2544 ประเทศที่พัฒนาแล้วเช่นสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นมีการบริโภคยางธรรมชาติในอัตราที่ไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก ในขณะที่ประเทศที่กำลังพัฒนาและมีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจแบบต่อเนื่องมีการบริโภคยางเพิ่มสูงขึ้น เช่นจีนและอินเดีย ระหว่างปี 2541 ถึงปี 2544 จีนมีการบริโภคยางเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 20 ทั้งนี้เพราะอุตสาหกรรมรถยนต์ในจีนเติบโตอย่างรวดเร็ว พร้อมกับมีการสร้างทางขึ้นเพื่อการติดต่อระหว่างมณฑล โดยยางธรรมชาติได้ถูกแปรรูปเป็นยางล้อรถยนต์และยางคอสะพานของถนนที่สร้างใหม่ในจีน
ยางธรรมชาติที่ผลิตได้ในโลกถูกใช้เป็นผลิตภัณฑ์ยางหลากหลายชนิด ซึ่งยางธรรมชาติในรูปยางแผ่นรมควันและยางแท่งถึงร้อยละ 70 ที่ผลิตได้ในโลกใช้ผลิตยางรถยนต์ โดยในยางรถยนต์แต่ละชนิดจะมีปริมาณยางธรรมชาติในสัดส่วนที่แตกต่างกันระหว่างร้อยละ 6 – 36 ของน้ำหนักผลิตภัณฑ์ ดังตารางที่ 3 ตลาดการใช้ยางเพื่อผลิตยางรถยนต์จึงมีอิทธิพลในการกำหนดราคายางของตลาดโลก ซึ่งในการผลิตยางรถยนต์นั้นมีบริษัทขนาดใหญ่ 3 บริษัทที่สามารถสร้างอิทธิพลโดยการจับมือกันซื้อยางจากส่วนกลาง คือ บริดจสโตน มิชลิน และกู๊ดเยียร์ ซึ่งเข้าข่ายกรณีตลาดของผู้ซื้อ (monopsony market)
ส่วนน้ำยางข้นใช้ในการผลิต dipping product ซึ่งที่สำคัญได้แก่ ถุงมือยาง และถุงยางอนามัย ซึ่งในระยะหลังตลาดมีการเติบโตค่อนข้างสูงมาก เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์และผู้บริโภคจึงนิยมใช้ผลิตภัณฑ์ถุงมือยางทางการแพทย์และถุงยางอนามัยกันมากขึ้น
เรียบเรียงโดย : เครื่องรีดยาง
ยางธรรมชาติที่ผลิตได้ในโลกถูกใช้เป็นผลิตภัณฑ์ยางหลากหลายชนิด ซึ่งยางธรรมชาติในรูปยางแผ่นรมควันและยางแท่งถึงร้อยละ 70 ที่ผลิตได้ในโลกใช้ผลิตยางรถยนต์ โดยในยางรถยนต์แต่ละชนิดจะมีปริมาณยางธรรมชาติในสัดส่วนที่แตกต่างกันระหว่างร้อยละ 6 – 36 ของน้ำหนักผลิตภัณฑ์ ดังตารางที่ 3 ตลาดการใช้ยางเพื่อผลิตยางรถยนต์จึงมีอิทธิพลในการกำหนดราคายางของตลาดโลก ซึ่งในการผลิตยางรถยนต์นั้นมีบริษัทขนาดใหญ่ 3 บริษัทที่สามารถสร้างอิทธิพลโดยการจับมือกันซื้อยางจากส่วนกลาง คือ บริดจสโตน มิชลิน และกู๊ดเยียร์ ซึ่งเข้าข่ายกรณีตลาดของผู้ซื้อ (monopsony market)
ส่วนน้ำยางข้นใช้ในการผลิต dipping product ซึ่งที่สำคัญได้แก่ ถุงมือยาง และถุงยางอนามัย ซึ่งในระยะหลังตลาดมีการเติบโตค่อนข้างสูงมาก เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์และผู้บริโภคจึงนิยมใช้ผลิตภัณฑ์ถุงมือยางทางการแพทย์และถุงยางอนามัยกันมากขึ้น
เรียบเรียงโดย : เครื่องรีดยาง
Browse
Home
» Archives for มิถุนายน 2013
1.1 การผลิต
ผลผลิตยางธรรมชาติประมาณร้อยละ 70 มาจากแหล่งผลิตที่สำคัญ คือ ไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย โดยไทยเป็นประเทศที่ผลิตยางธรรมชาติรายใหญ่ที่สุด ซึ่งเน้นที่การผลิตยางแผ่นรมควันและน้ำยางข้น ยางแผ่นที่ไทยสามารถผลิตได้มากที่สุด คือ ยางแผ่นรมควันชั้น 3 อินโดนีเซียเป็นผู้ผลิตยางธรรมชาติรายใหญ่รองลงมาเป็นอันดับ 2 และผลิตยางแท่งมากที่สุดในโลก สำหรับมาเลเซียเป็นประเทศผู้ผลิตอันดับสามของโลกโดยเน้นที่การผลิตยางแท่งเช่นเดียวกับอินโดนีเซีย แต่อย่างไรก็ตามทั้งอินโดนีเซียและมาเลเซียก็มีการผลิตยางแผ่นรมควัน แต่ส่วนใหญ่เป็นยางแผ่นรมควันชั้น 1 ในปัจจุบันศักยภาพการผลิตยางธรรมชาติของมาเลเซียเริ่มลดลง เนื่องจากขาดแรงงานและมีการลดพื้นที่การปลูกยางมาปลูกปาล์มน้ำมันแทน และหันมาสนับสนุนอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางภายในประเทศ โดยเน้นการใช้ยางธรรมชาติที่ผลิตได้ในประเทศ ซึ่งปัจจุบันไม่เพียงพอกับความต้องการจึงต้องนำเข้าน้ำยางดิบจากประเทศไทยบางส่วน
จากรายงานผลผลิตยางธรรมชาติของโลกในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา (2541-2544) ของ League Management Committee (LMC) พบว่าปริมาณการผลิตยางธรรมชาติมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอัตราเฉลี่ยประมาณร้อยละ 0.5 ต่อปี กล่าวคือ จาก 6.821 ล้านตันในปี 2541 เป็น 6.979 ล้านตันในปี 2544 ซึ่งในปี 2544 มีปริมาณการผลิตยางแทบจะเท่ากับในปี 2543 แม้ว่าในปี 2543 จะมีการผลิตยางมากกว่าปี 2542 ร้อยละ 2.2 โดยปริมาณการผลิตยางของมาเลเซียและอินโดนีเซียลดลงในปี 2542 ขณะที่ไทยและเวียดนามมีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นจากการขยายพื้นที่การเพาะปลูกยาง ซึ่งเวียดนามได้มีแผนพัฒนาการปลูกยางว่าจะขยายพื้นที่ปลูกยางจาก 1.875 ล้านไร่ในปี 2542 เป็น 4.375 ล้านไร่ในปี 2548 ทางด้านมาเลเซียก็กำลังพยายามหาทางขยายการปลูกยางในประเทศกินี ทวีปแอฟริกาตะวันตก ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์และต้นทุนถูกกว่า แต่ในปี 2544 ปริมาณการผลิตยางของไทยก็ลดลงขณะที่อินโดนีเซียมีการผลิตยางเพิ่มขึ้นชดเชย
เรียบเรียงโดย : เครื่องรีดยาง
จากรายงานผลผลิตยางธรรมชาติของโลกในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา (2541-2544) ของ League Management Committee (LMC) พบว่าปริมาณการผลิตยางธรรมชาติมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอัตราเฉลี่ยประมาณร้อยละ 0.5 ต่อปี กล่าวคือ จาก 6.821 ล้านตันในปี 2541 เป็น 6.979 ล้านตันในปี 2544 ซึ่งในปี 2544 มีปริมาณการผลิตยางแทบจะเท่ากับในปี 2543 แม้ว่าในปี 2543 จะมีการผลิตยางมากกว่าปี 2542 ร้อยละ 2.2 โดยปริมาณการผลิตยางของมาเลเซียและอินโดนีเซียลดลงในปี 2542 ขณะที่ไทยและเวียดนามมีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นจากการขยายพื้นที่การเพาะปลูกยาง ซึ่งเวียดนามได้มีแผนพัฒนาการปลูกยางว่าจะขยายพื้นที่ปลูกยางจาก 1.875 ล้านไร่ในปี 2542 เป็น 4.375 ล้านไร่ในปี 2548 ทางด้านมาเลเซียก็กำลังพยายามหาทางขยายการปลูกยางในประเทศกินี ทวีปแอฟริกาตะวันตก ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์และต้นทุนถูกกว่า แต่ในปี 2544 ปริมาณการผลิตยางของไทยก็ลดลงขณะที่อินโดนีเซียมีการผลิตยางเพิ่มขึ้นชดเชย
เรียบเรียงโดย : เครื่องรีดยาง
Browse
Home
» Archives for มิถุนายน 2013
อุตสาหกรรมยางพาราเป็นอุตสาหกรรมการแปรรูปยางพาราขั้นต้นที่นำเอาน้ำยางสดที่กรีดได้จากต้นยางพารามาแปรรูปให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมและสะดวกในการนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์ยาง ยางพาราที่ผลิตได้แบ่งออกได้เป็น 5 ขนิด ได้แก่
- ยางแผ่นรมควัน
- ยางแท่ง
- ยางเครป
- ยางผึ่งแห้ง
- น้ำยางข้น
by เครื่องทำยางแผ่น |
Browse
Home
» Archives for มิถุนายน 2013
จีนเป็นอีกประเทศสมาชิกในกลุ่มประเทศอาเซียน +3 และเป็นประเทศที่มีความสัมพันธ์เชิงเศรษฐกิจกับไทยอย่างสูง ทั้งในด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว โดยการค้าระหว่างไทยกับจีนได้มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "ยางพารา" ของไทยที่ส่งออกไปยังจีน เนื่องจากประเทศจีนเป็นประเทศที่มีการผลิตยางรถยนต์มากที่สุดในโลก ทำให้มีความจำเป็นในการใช้ยางพาราเพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตยางรถยนต์ในปริมาณที่สูงมากที่สุดในโลกเช่นกัน สถานกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจว ได้เสนอข้อมูลเกี่ยวกับตลาดยางพาราจีนว่า อุตสาหกรรมยางรถยนต์ในจีนเป็นอุตสาหกรรมที่มีการกระจุกตัวสูง ผู้ผลิตรายใหญ่ 10 รายแรก มีผลผลิตรวมกันถึงร้อยละ 77 ของผลผลิตยางรถยนต์ทั้งหมด ปัจจุบันจีนอาศัยการนำเข้ายางพาราจากต่างประเทศในการผลิตยางรถยนต์ โดยร้อยละ 70 ของยางรถยนต์จีนผลิตจากยางพาราต่างประเทศ ในขณะเดียวกัน การเติบโตอย่างรวดเร็วของอุตสาหกรรมรถยนต์ทำให้จีนต้องเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกยางพาราภายในประเทศ ตลอดจนเพิ่มการลงทุนธุรกิจยางพาราในต่างประเทศ เช่น ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ทั้งนี้ ผลผลิตจากยางพาราในประเทศจีน ปี 2554 มีเพียง 0.78 ล้านตัน ในขณะที่จีนมีความต้องการใช้ยางพาราและผลิตภัณฑ์จากยางพาราสูงถึงเกือบ 4.8 ล้านตัน ทั้งนี้ แหล่งเพาะปลูกยางพาราที่สำคัญของจีนอยู่ที่มณฑลไห่หนาน และยูนนาน ไทยมีส่วนแบ่งในตลาดยางพาราธรรมชาติของจีนมากกว่าครึ่งของการนำเข้าทั้งหมดในปีที่ผ่านมา โดยสามารถส่งออกไปยังจีนประมาณ 1.1 ล้านตัน รองลงมาเป็นการส่งออกยางสังเคราะห์ปริมาณ 1.4 ล้านตัน ปริมาณที่ไทยส่งออกยางพาราไปยังจีนนั้นคิดเป็นสัดส่วน 1 ใน 3 ของปริมาณการส่งออกทั้งหมด คาดว่าในปี 2563 จีนจะมีความต้องการใช้ยางธรรมชาติเพิ่มขึ้นสูงปีละ 11.5 ล้านตัน เป็นสัดส่วน 1 ใน 3 ของผลผลิตยางพาราโลก
ทั้งนี้ จีนไม่มีมาตรการจำกัดปริมาณการนำเข้ายางธรรมชาติ แต่ผู้นำเข้าต้องเป็นบริษัทที่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาล โดยที่ไม่ได้รับสิทธิประโยชน์จากข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน เนื่องจากจีนจัดให้ยางธรรมชาติเป็นสินค้าที่มีความอ่อนไหว จึงมีการเก็บอัตราภาษีนำเข้ายางธรรมชาติ ยางแผ่นรมควัน และยางแท่งอยู่ที่ร้อยละ 20 น้ำยางข้นเก็บภาษีนำเข้าร้อยละ 7.5 อีกทั้งการนำเข้ายางทุกประเภทจะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอีกร้อยละ 17 สำหรับในมณฑลกวางตุ้ง มีนำเข้ายางธรรมชาติคิดเป็นร้อยละ 2.5 จากการนำเข้ายางธรรมชาติทั้งหมดของจีน โดยมีรัฐวิสาหกิจหลักที่ดำเนินธุรกิจด้านยางพารา คือ บริษัท Guangdong Agribusiness Group Corporation ที่มีสาขาในมณฑลต่าง ๆ และต่างประเทศ ด้วยรูปแบบการลงทุนที่แตกต่างกันออกไปมากกว่า 260 แห่ง ตลอดจนมีสาขาในต่างประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย เบนิน รวมไปถึงประเทศไทยด้วย
เรียบเรียงข่าวโดย : เครื่องรีดยาง
ทั้งนี้ จีนไม่มีมาตรการจำกัดปริมาณการนำเข้ายางธรรมชาติ แต่ผู้นำเข้าต้องเป็นบริษัทที่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาล โดยที่ไม่ได้รับสิทธิประโยชน์จากข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน เนื่องจากจีนจัดให้ยางธรรมชาติเป็นสินค้าที่มีความอ่อนไหว จึงมีการเก็บอัตราภาษีนำเข้ายางธรรมชาติ ยางแผ่นรมควัน และยางแท่งอยู่ที่ร้อยละ 20 น้ำยางข้นเก็บภาษีนำเข้าร้อยละ 7.5 อีกทั้งการนำเข้ายางทุกประเภทจะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอีกร้อยละ 17 สำหรับในมณฑลกวางตุ้ง มีนำเข้ายางธรรมชาติคิดเป็นร้อยละ 2.5 จากการนำเข้ายางธรรมชาติทั้งหมดของจีน โดยมีรัฐวิสาหกิจหลักที่ดำเนินธุรกิจด้านยางพารา คือ บริษัท Guangdong Agribusiness Group Corporation ที่มีสาขาในมณฑลต่าง ๆ และต่างประเทศ ด้วยรูปแบบการลงทุนที่แตกต่างกันออกไปมากกว่า 260 แห่ง ตลอดจนมีสาขาในต่างประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย เบนิน รวมไปถึงประเทศไทยด้วย
เรียบเรียงข่าวโดย : เครื่องรีดยาง
Browse
Home
» Archives for มิถุนายน 2013
สำนักงานสถิติแห่งชาติฟิลิปปินส์ (NSO) เปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อของฟิลิปปินส์ในเดือนตุลาคมชะลอตัวลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ
4 เดือน ที่ 3.4% จากราคาที่ลดลงของอาหารและสินค้าใช้สอย ซึ่งเป็นผลทำให้ดัชนีซึ่งใช้อาหารและเครื่องดื่มที่ไม่ใช่แอลกอฮอล์ในการคำนวณส่วนใหญ่นั้น
ลดลงแตะที่2.5% ในเดือนตุลาคม จากราคาที่ลดลงของน้ำมันพืช ข้าว ปลา และผัก NSO
ยังระบุว่า
อัตราเก็บค่าไฟที่ลดลงและราคาน้ำมันเบนซิลและดีเซลที่ลดลง ยังเป็นปัจจัยที่ทำให้ราคาอยู่ในช่วงขาลงอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ในส่วนของอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ซึ่งไม่รวมสินค้าอาหารและพลังงานบางชนิด
ชะลอตัวแตะ 3.6% ในเดือนตุลาคมเช่นกัน
Browse
Home
» Archives for มิถุนายน 2013
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า จากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนักธุรกิจ สถาบัน และสมาคมธุรกิจในสาขาต่าง ๆ ทั่วประเทศ 257 ราย ในช่วงไตรมาส 3/55 เกี่ยวกับแนวโน้ม ภาคธุรกิจในไตรมาส 4/55 พบว่า ผู้ประกอบการยังต้องติดตามความเสี่ยงที่อาจเพิ่มขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ที่เน้นแรงงานเป็นหลักจะได้รับผลกระทบมากที่สุด จากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาททั่วประเทศ ทำให้ธุรกิจบางรายย้ายฐานการผลิตไปประเทศเพื่อนบ้าน คาดว่าจะมีอีกหลายรายอาจต้องทยอยย้ายฐานการผลิตในอนาคต โดยผู้ประกอบการส่วนใหญ่คาดว่าในไตรมาส 4 นี้ตลาดแรงงานยังตึงตัวต่อเนื่อง และหลังจากนโยบายปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท มีผลบังคับใช้ทั่วประเทศ จะทำให้ปัญหาขาดแคลนแรงงานยังคงมีอยู่และอาจรุนแรงขึ้นในต้นปีหน้า เพราะแรงงานจะกลับคืนภูมิลำเนาเดิมมากขึ้น ภาคธุรกิจจะหาแรงงานยากขึ้นจนอาจทำให้บางธุรกิจที่ไม่สามารถใช้เครื่องจักรทดแทนแรงงานได้ เช่น ธุรกิจตัดเย็บเสื้อผ้าและรองเท้า อาจต้องย้ายฐานการผลิตไปประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มขึ้น แต่ระยะยาวผู้ประกอบการยังเชื่อมั่นว่าแรงงานจะย้ายกลับมาใช้พื้นที่อุตสาหกรรมตามเดิม เพราะไม่มีอุตสาหกรรมรองรับในภูมิลำเนา
อย่างไรก็ตาม
ได้มีการประเมินว่านโยบายปรับขึ้นค่าจ้าง 300 บาททั่วประเทศในต้นปี 2556 จะไม่ส่งผลให้เกิดการเลิกจ้างงานในวงกว้าง
เพราะธุรกิจส่วนใหญ่ขาดแคลนแรงงานและจ่ายค่าแรงสูงกว่าอยู่แล้ว
แต่ทั้งนี้ธุรกิจก็จำเป็นต้องปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตเพิ่มขึ้น
เพื่อบริหารจัดการกับต้นทุนแรงงานที่เพิ่มขึ้น
เรียบเรียงข่าวโดย : เครื่องรีดยาง
Browse
Home
» Archives for มิถุนายน 2013
นางศรีรัตน์ รัษฐปานะ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมฯจะประชุมร่วมกับภาคเอกชนจากสภาหอการค้า แห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และภาคเอกชนในสาขาอุตสาหกรรมต่างๆ ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2555 ณ โรงแรมอิสติน แกรนด์ สาธร เพื่อระดมความคิดเห็นว่ากรมฯ ควรจะปรับเพิ่มบทบาทในการส่งเสริมและผลักดันการส่งออกเพิ่มเติมอย่างไร และควรจะเพิ่มภารกิจในการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยออกไปลงทุนในต่างประเทศหรือไม่ ในฐานะที่กรมฯ รับผิดชอบหน่วยงานด้านการค้าอย่างสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศมากถึง 63 แห่งทั่วโลก กรมฯ ต้องการรับฟังความคิดเห็นจากภาคเอกชน และอยากให้เอกชนช่วยบอกสิ่งที่เอกชนต้องการ เพื่อให้การวางแผนในการผลักดันการส่งออกทำได้สอดคล้องกับ สิ่งที่ภาคเอกชนต้องการมากที่สุด และกรมฯ จะได้นำข้อเสนอแนะ ข้อคิดเห็น มาปรับใช้ในการ ทำแผนการทำงานของกรมฯ ในระยะ 3-5 ปีข้างหน้าด้วย
อย่างไรก็ตาม กรมฯจะมีการหารือกับภาคเอกชนว่าควรจะมีการกำหนดกำไรความร่วมมือระหว่างกรมฯ
และภาคเอกชนโดยตรงหรือไม่
เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาการค้าระหว่างประเทศและการผลักดันการส่งออก
เรียบเรียงข่าวโดย : เครื่องรีดยางพารา