การเลื่อย คือ การตัดชิ้นงานออกด้วยใบเลื่อยที่มีคมเล็ก ๆ หลาย ๆ คม คล้ายคมสิ่วหรือคมสกัดจำนวนมาก เรียงกันเป็นแถว ฟันใบเลื่อยจะกัดชิ้นงานพร้อม ๆ กันทีละหลายฟันให้เป็นร่อง จนขาดออกจากัน
การเลื่อย จำแนกเป็นการเลื่อยด้วยมือ (Hand Sawing) คือเป็นงานเลื่อยชิ้นงานจำนวนไม่มาก และเลื่อยด้วยเลื่อยไฟฟ้า (Power Hack Saw) หรือเรียกว่า เครื่องเลื่อยกล (Sawing Machine) จำเป็นสำหรับงานเลื่อยชิ้นงานอุตสาหกรรม คือเลื่อยชิ้นงานจำนวนมาก ทั้งชิ้นงานขนาดเล็กและขนาดใหญ่ เครื่องเลื่อยกลแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ดังนี้
เครื่องเลื่อยกลแบ่งออกเป็น 4 ชนิด คือ
1. เครื่องเลื่อยชัก (Power Hack Saw)
2. เครื่องเลื่อยสายพานนอน (Horizontal Band Saw)
3. เครื่องเลื่อยสายพานตั้ง (Vertical Band Saw)
4. เครื่องเลื่อยวงเดือน (Radius Saw or Circular Saw)
1. เครื่องเลื่อยชัก (Power Hack Saw)
เครื่องเลื่อยแบบชักเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่อหลายในการเลื่อยตัดวัสดุงานให้ได้ขนาดและความยาวตามความต้องการ ระบบการขับเคลื่อนใบเลื่อย ใช้ส่งกำลังด้วยมอเตอร์ แล้ว
ใช้เฟืองเป็นตัวกลับทิศทางและใช้หลักการของข้อเหวี่ยงเป็นตัวขับเคลื่อนให้
ใบเลื่อยเคลื่อนที่กลับไปกลับมาในแนวเส้นตรงอย่างต่อเนื่องทำให้ใบเลื่อย
สามารถตัดงานได้
1.1 ส่วนประกอบของเครื่องเลื่อยชัก
ส่วนประกอบทุกส่วนมีความสำคัญเท่ากัน เพราะจะต้องทำหน้าที่ร่วมกันตลอดเวลา
ซึ่งประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้
1.1.1 โครงเลื่อย (Saw Frame) มีลักษณะเหมือนตัวยูคว่ำ โครงเลื่อยส่วนใหญ่ทำจากเหล็กหล่ออย่างดีใช้สำหรับใส่ใบเลื่อย โครงเลื่อยจะเคลื่อนที่ไป – มาอยู่ในร่องหางเหยี่ยวโดยการส่งกำลังจากล้อเฟือง ดังรูปที่ 1.2
1.1.2 ปากกาจับงาน (Vise) ใช้จับชิ้นงานเพื่อทำการเลื่อย สามารถปรับปรุงเอียงขวา-ซ้าย ได้ข้างละ 45 องศา และสามารถเลื่อนปากเข้า-ออกได้ด้วยเกลียวแขนหมุนล็อคแน่น
1.1.3 แขนตั้งระยะงาน (Cut Off Gage) มีหน้าที่ในการตั้งระยะของชิ้นงานที่ต้องการตัดจำนวนมาก ๆ เพื่อให้ชิ้นงานที่ตัดออกมามีความยาวเท่ากันทุกชิ้น ดังรูปที่ 1.4
1.1.4 ระบบป้อนตัด เครื่องเลื่อยชักมีระบบป้อนตัด 2 ชนิด คือ ชนิดใช้ลูกถ่วงน้ำหนัก และชนิดใช้น้ำมันไฮดรอลิกทั้ง 2 ชนิด ทำหน้าที่เหมือนกันคือการป้อนตัด แต่หลักการทำงานต่างกันตรงที่ชนิดลูกถ่วงน้ำหนักอาศัยแรงดึงดูดของโลก ส่วนชนิดไฮดรอลิกอาศัยแรงดันจากน้ำมันไฮดรอลิก
1.1.5 ระบบหล่อเย็น เครื่องเลื่อยชักมีความจำเป็นต้องใช้น้ำหล่อเย็น เพื่อช่วยระบายความร้อนเนื่องจากการเสียดสีระหว่างใบเลื่อยกับชิ้นงาน และยังช่วยยืดอายุการใช้งานของใบเลื่อยให้ยาวนาน
1.1.6 ฐานเครื่องเลื่อยชัก (Base) ทำหน้าที่รองรับส่วนต่าง ๆ ของเครื่องเลื่อยชักทั้งหมด ฐานเครื่องเลื่อยชักบางชนิดจะทำเป็นโพรงภายใน เพื่อเป็นที่เก็บถังน้ำหล่อเย็นและมอเตอร์
1.1.7 มอเตอร์ (Motor) เครื่องเลื่อยชักมีมอเตอร์ทำหน้าที่เป็นต้นกำลังขับมอเตอร์จะใช้กับกระแสไฟฟ้า 220 โวลต์หรือ 380 โวลต์ขึ้นอยู่กับผู้ผลิต
1.1.8 สวิตซ์เปิด-ปิด เครื่องเลื่อยชักมีสวิตช์เปิด-ปิด แบบกึ่งอัตโนมัติ คือ สวิตซ์เครื่องจะปิดโดยอัตโนมัติเมื่อใบเลื่อยตัดชิ้นงานขาด
1.1.9 ชุดเฟืองทด (Gear) ทำหน้าที่ในการทดส่งกำลังจากมอเตอร์ไปยังโครงเลื่อยเฟืองทดที่ใช้กับเครื่องเลื่อยชักมี 2 ชนิด คือ เฟืองเฉียง และเฟืองตรง
1.1.10 มู่ลี่ (Pulley) ทำหน้าที่ส่งกำลังผ่านสายพานไปยังชุดเฟืองทด ใช้กับสายพานตัววี
1.2 กลไกการทำงานของเครื่องเลื่อยชัก
กลไกการทำงานของเครื่องเลื่อยชัก เป็นกลไกส่งกำลังด้วยมอเตอร์ ส่งกำลังผ่านเฟืองขับ ซึ่งเป็นเฟืองทด เพื่อทดความเร็วรอบมอเตอร์ และเพื่อทดแรงขับของมอเตอร์ ที่ข้างเฟืองขับ มีจุดหมุนก้านต่ออยู่คนละศูนย์กับศูนย์กลางเฟือง เพื่อต่อก้านต่อไปขับโครงเลื่อย ให้ชักโครงเลื่อยเดินหน้าและถอยหลังได้
1.3 น้ำหนักกดโครงเลื่อย
สำหรับน้ำหนักกดโครงเลื่อย ยิ่งเลื่อนห่างออกจากหัวเครื่องมากเท่าใด จะกดให้ใบเลื่อยตัดเฉือนมากเท่านั้น ดังนั้น การเลื่อนปรับระยะน้ำหนักกด ให้สังเกตการตัดเฉือนของฟังเลื่อยด้วย
น้ำหนักกดใกล้หัวเครื่อง = น้ำหนักกดโครงเลื่อยน้อย
น้ำหนักกดห่างหัวเครื่อง = น้ำหนักกดโครงเลื่อยมาก
1.4 ใบเลื่อยเครื่อง (Saw Blade)
ใบเลื่อยเป็นอุปกรณ์ของเครื่องเลื่อยที่มีความสำคัญมาก ทำหน้าที่ตัดเฉือนชิ้นงาน ใบเลื่อยเครื่องทำจากเหล็กรอบสูง มีความเข็งแต่เปราะ ดังนั้นการประกอบใบเลื่อยเข้ากับโครงเลื่อย จะต้องประกอบให้ถูกวิธีและขันสกรูให้ใบเลื่อยตึงพอประมาณ เพื่อป้องกันไม่ให้ใบเลื่อยหัก ส่วนต่าง ๆ ของใบเลื่อยประกอบด้วยความกว้าง ความยาว ความหนา ความโตของรูใบเลื่อย และจำนวนฟันใบเลื่อย ซึ่งมีทั้งฟันหยาบและฟันละเอียด จำนวนฟันใยเลื่อยบอกเป็นจำนวนฟันต่อนิ้ว เช่น 10 ฟังต่อนิ้ว 14 ฟันต่อนิ้ว แต่ที่นิยมใช้งานทั่ว ๆ ไป คือ 10 ฟันต่อนิ้ว
ลักษณะของใบเลื่อย
1. ความยาวของใบเลื่อย การวัดความยาวของใบเลื่อยจะวัดจากจุดศูนย์กลางของรูยึดใบเลื่อยทั้งสอง เรียกว่าขนาดความยาวของใบเลื่อยจะมีขนาด 200 ม.ม. และขนาด 300 ม.ม.
2. ความกว้างของใบเลื่อย กว้าง 12.7 ม.ม. หรือ 1/2 นิ้ว
3. ความหนาของใบเลื่อย หนา 0.64 ม.ม. หรือ 0.025 นิ้ว
4. การวัดจำนวนฟันของใบเลื่อย คือ วัดระยะห่างของยอดฟันหนึ่งถึงยอดฟันหนึ่ง
- ในระบบเมตริก เรียกว่าระยะพิต Pitch (P)
- ในระบบอังกฤษ จะวัดขนาดความถี่ห่างของฟันเลื่อยนิยมบอกเป็นจำนวนฟันต่อความยาว 1 นิ้ว
2 การเลือกใบเลื่อยให้เหมาะกับงาน
1.5 มุมฟันเลื่อย
ฟันเลื่อยแต่ละฟันมีลักษณะคล้ายกับลิ่ม ทำหน้าที่จิกเข้าไปในเนื้อวัสดุ ฟันแต่ละฟันประกอบด้วยมุมที่สำคัญ 3 มุม ได้แก่
- มุมคมตัด (b) เป็นมุมคมตัดของฟันเลื่อย
- มุมคายเศษ (g) เป็นมุมที่ใช้ดันเศษโลหะออกจากฟันเลื่อย
- มุมหลบ (a) เป็นมุมที่ทำให้ลดการเสียดสีระหว่างฟันเลื่อยกับชิ้นงาน และช่วยให้เกิดมุมคมตัด
3 มุมรวมกัน
.9 มุมฟันเลื่อย
1.6 คลองเลื่อย (Free Cutting Action)
คลองเลื่อย คือ ความกว้างของร่องบนวัสดุงาน หลังจากที่มีการตัดเฉือน ปกติคลองเลื่อยจะมีขนาดความหนามากกว่าใบเลื่อย ทั้งนี้ ถ้าไม่มีคลองเลื่อย ขณะทำการเลื่อยใบเลื่อยก็จะติด ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ใบเลื่อยหัก
ลักษณะของคลองเลื่อย
1. คลองเลื่อยฟันสลับ ลักษณะฟันเลื่อยจะสลับซ้ายกับขวาตลอดใบเลื่อย ฟันเลื่อยลักษณะนี้เหมาะสำหรับใช้กับเครื่องเลื่อยกล
2. คลองเลื่อยแบบฟันคลื่น ลักษณะฟันเลื่อยจะเลื้อยเป็นคลื่น ฟันเลื่อยลักษณะนี้เหมาะสำหรับใช้งานกับเลื่อยมือ
3. คลองเลื่อยแบบตอก ลักษณะฟันเลื่อยจะมีมุมฟรีทั้งสองข้าง ฟันเลื่อยลักษณะนี้เหมาะสำหรับใช้งานกับเลื่อยวงเดือน
ทิศทางการตัดเฉือน
การทำงานของคมเลื่อยประกอบด้วยทิศทางที่สำคัญ 2 ทิศ ได้แก่ ทิศทางการกดลงและทิศทางการดันไป ดูตามลูกศร ทิศทางทั้ง 2 เป็นตัวทำให้เกิดการตัดเฉือนขึ้น แรงที่กระทำการกดและการดันจะต้องสัมพันธ์กัน ถ้าแรงใดมากเกินไปหรือฝืนอาจจะทำให้ใบเลื่อยหักได้
1.8 การประกอบใบเลื่อยเข้าโครงเลื่อย
การประกอบใบเลื่อยเข้ากับโครงเลื่อยต้องระวังทิศทางของฟันเลื่อย จะต้องใส่ให้ถูกทิศทางเนื่องจากจังหวะถอยกลับของโครงเลื่อย จะเป็นจังหวะที่ทำการตัดเฉือน เพื่อตัดเฉือนชิ้นงานการประกอบใบเลื่อยต้องผ่อนตัวดึงใบเลื่อยให้ยื่นออกแล้วใส่ใบเลื่อยเข้าไปให้รูของใบเลื่อยตรงกับสลักร้อยทั้ง 2 ข้าง ของโครงเลื่อย จากนั้นปรับตัวดึงใบเลื่อยให้พอตึง ๆ แล้วปรับขยับใบเลื่อยให้ตั้งฉากโดยการใช้ค้อนเคาะเบา ๆ ให้ใบเลื่อยแนบสนิทกับตัวดึงใบเลื่อย จึงขันให้ตึงอีกครั้งด้วยแรงมือ
1.9 การจับยึดชิ้นงานสำหรับงานเลื่อย
การจับงานที่ผิดวิธีในกรณีชิ้นงานสั้น ปากของปากกาไม่สามารถจะจับชิ้นงานให้แน่นได้ แรงกดของเกลียวจะดันชิ้นงานหลุด ถ้าฝืนเลื่อย ใบเลื่อยจะหัก การจับงานที่ถูกวิธี ปากของปากกาจะต้องกดขนานกันทั้ง 2 ปาก การจับชิ้นงานสั้น ใช้เหล็กหนุนช่วยในการจับ ดันปากของปากกาให้ขนาน กดชิ้นงานแน่นเมื่อขันเกลียวจะทำให้ชิ้นงานไม่หลุด
1.10 การวัดตัดชิ้นงาน
การเลื่อยชิ้นงานขนาดเดียวกันจำนวนมาก ๆ ถ้าตั้งวัดงานทุกครั้งที่ทำการตัด จะใช้เวลามากและขนาดของชิ้นงานจะไม่เท่ากัน มีโอกาสคลาดเคลื่อนได้ วิธีการแก้ไขในการตัดชิ้นงานขนาดเดียวกันจำนวนมาก ๆ โดยการตั้งวัดระยะงานชิ้นแรก แล้วใช้แขนตั้งระยะช่วยในการเลื่อยชิ้นงานชิ้นต่อไป
1.11 การใช้แขนตั้งระยะ
แขนตั้งระยะ ช่วยในการวัดชิ้นงานที่ต้องการตัดจำนวนมาก ๆ ให้ได้ขนาดเดียวกันทุกชิ้นแขนตั้งระยะสามารถปรับระยะได้ โดยการขันสกรูยึดให้แน่น และมือหมุนขันแน่น เมื่อปรับได้ที่แล้วต้องขันแน่นทั้ง 2 จุด เพราะเมื่อดันชิ้นงานเข้ามาตัดใหม่จะเกิดการกระแทก อาจทำให้ขนาดเปลี่ยนแปลงไปได้
ข้อควรจำ ไม่ดันชิ้นงานกระแทกเขนตั้งระยะแรงจนเกินไป จะทำให้ขนาดความยาวชิ้นงานที่ตัดมีขนาดความยาวเคลื่อนไปจากที่ตั้งระยะไว้
1.12 ขั้นตอนการใช้เครื่องเลื่อยชัก เครื่องเลื่อยชักมีขั้นตอนการใช้ดังนี้
1.12.1 ตรวจสอบความพร้อมของเครื่องเลื่อยชักและอุปกรณ์
1.12.2 ตรวจความพร้อมสภาพร่างกายของผู้ปฏิบัติงาน
1.12.3 เปิดสวิตซ์เมนใหญ่ให้กระแสไฟฟ้าเข้าเครื่องเลื่อยชัก
1.12.4 ยกโครงเลื่อยค้างไว้ก่อนตัด
1.12.5 บีบจับชิ้นงานด้วยปากกาจับงานไม่ต้องแน่น ให้สามารถเลื่อนปรับชิ้นงานได้
1.12.6 ปรับโครงเลื่อยลงให้ฟันของใบเลื่อยห่างจากชิ้นงานประมาณ 10 มิลลิเมตร
1.12.7 ตั้งระยะความยาวชิ้นงานโดยใช้บรรทัดเหล็กวัดขนาด
1.12.8 บีบจับชิ้นงานด้วยปากกาจับงานให้แน่น
1.12.9 ปรับแขนตั้งระยะให้ยาวเท่ากับความยาวของชิ้นงาน
1.12.10 เปิดสวิตซ์เดินเครื่องเลื่อยชักทำงาน
1.12.11 ค่อย ๆ ปรับระบบป้อนตัดไฮดรอลิกให้โครงเลื่อยเลื่อนลงช้า ๆ
1.12.12 ปรับท่อน้ำหล่อเย็นให้น้ำฉีดตรงคลองเลื่อยเพื่อช่วยระบายความร้อน
1.12.13 คอยจนกว่าเลื่อยตัดชิ้นงานขาด
1.13 การบำรุงรักษาเครื่องเลื่อยชัก
เครื่องเลื่อยชักเป็นเครื่องจักรกลพื้นฐานที่มีความจำเป็นมาก ดังนั้นเพื่อยืดอายุการใช้งานให้ยาวนานจำเป็นจะต้องมีการบำรุงรักษาเครื่องดังต่อไปนี้
1.13.1 ก่อนใช้เครื่องเลื่อยชักทุกครั้งควรหยอดน้ำมันหล่อลื่นตรงบริเวณจุดที่เคลื่อนที่
1.13.2 หลังเลิกใช้งานทุกครั้งควรทำความสะอาด และใช้ผ้าคลุมเครื่องป้องกันฝุ่นละออง
1.13.3 ควรเปลี่ยนน้ำหล่อเย็นทุก ๆ สัปดาห์
1.13.4 ตรวจสอบกระบอกสูบน้ำมันไฮดรอลิกส์ว่ารั่วซึมหรือไม่
1.13.5 ตรวจสอบ สายพาน มู่เล่ เฟืองทด ปั๊มน้ำหล่อเย็นเพื่อให้ใช้งานได้ตลอด
1.14 ความปลอดภัยในการใช้เครื่องเลื่อยชัก
เครื่องจักรทุกชนิดมีประโยชน์แต่ก็มีโทษมากเช่นกัน ดังนั้นก่อนใช้งานทุกครั้งต้องคำนึงถึงความปลอดภัยเสมอ การใช้เครื่องเลื่อยชักก็เช่นกันสามารถเกิดอันตรายได้ เพื่อความปลอดภัยจึงต้องรู้วิธีใช้ดังนี้
1.14.1 ก่อนใช้เครื่องเลื่อยชักทุกครั้งต้องตรวจสอบความพร้อมของเครื่องเสมอ
1.14.2 บีบปากกาจับชิ้นงานให้แน่นก่อนเปิดสวิตซ์เครื่องทำงาน
1.14.3 ห้ามตัดชิ้นงานที่มีความยาวน้อยกว่าปากของปากกาจับงาน เพราะจะทำให้ใบเลื่อยหัก
1.14.4 เมื่อต้องการตัดชิ้นงานยาว ๆ ควรมีฐานรองรับงานมารองรับปลายชิ้นงานทุกครั้ง
1.14.5 ก่อนเปิดสวิทซ์เดินเครื่องเลื่อยชักต้องยกใบเลื่อยให้ห่างจากชิ้นงานประมาณ 10 มิลลิเมตร
1.14.6 การป้อนตัดด้วยระบบไฮดรอลิคมากเกินไปจะทำให้ใบเลื่อยหัก
1.14.7 เหล็กหล่อ ทองเหลือง ทองแดง และอะลูมิเนียมควรหล่อเย็นให้ถูกประเภท
1.14.8 ไม่ควรก้มหน้าเข้าใกล้โครงเลื่อยชักขณะจะเปิดสวิตซ์เดินเครื่องเลื่อยทำงาน
1.14.9 ขณะเครื่องเลื่อยชักกำลังตัดชิ้นงานห้ามหมุนถอยปากกาจับงานออกเป็นอันขาด
1.14.10 เพื่อความปลอดภัยให้คิดก่อนทำเสมอ
2. เครื่องเลื่อยสายพานแนวนอน (Horizontal Band Saw)
เป็นเครื่องเลื่อยที่มีใบเลื่อยยาวติดต่อกันเป็นวงกลม การเคลื่อนที่ของใบเลื่อย มีลักษณะการส่งกำลังด้วยสายพาน คือมีล้อขับและล้อตาม ทำให้คมตัดของใบเลื่อยสามารถเลื่อยตัดงานได้ตลอด เนื่องตลอดทั้งใบ การป้อนตัดงานใช้ระบบไฮดรอลิกส์ควบคุมความตึงของใบเลื่อย ปรับด้วยมือหมุน หรือใช้ไฮดรอลิกปรับระยะห่างของล้อ มีโครงสร้างแข็งแรง ตัวเครื่องสามารถติดตั้งได้กับพื้นโรงงาน
3. เครื่องเลื่อยสายพานแนวตั้ง (Vertical Band Saw)
เครื่องเลื่อยสายพานแนวตั้ง เป็นเครื่องเลื่อยที่มีใบเลื่อยเป็นแบบสายพานในแนวตั้ง ซึ่งจะหมุนตัดชิ้นงานอย่างต่อเนื่อง ใช้ตัดงานเบาได้ทุกลักษณะ เช่น ตัดเหล็กแบน หรือเหล็กบางให้ขาด หรือตัดเป็นรูปทรงต่าง ๆ ซึ่งเครื่องเลื่อยชนิดอื่น ๆ ไม่สามารถทำได้
เครื่องเลื่อยสายพานแตกต่างจากเครื่องเลื่อยชัก ที่สามารถตัดชิ้นงานเป็นแบบต่อเนื่อง ในขณะที่เครื่องเลื่อยชักทำหน้าที่ตัดงานเฉพาะช่วงชักตัดเท่านั้น และยังใช้ประโยชน์ของใบเลื่อยในช่วงจำกัดอีกด้วย คือ จะใช้ประโยชน์เฉพาะส่วนกลางของใบเลื่อยเท่านั้น
ใบเลื่อยสายพานจะมีความหนาน้อยกว่าใบเลื่อยชนิดอื่น ๆ จึงทำให้มีการสูญเสียวัสดุน้อยกว่า
เลื่อยสายพานแนวตั้ง ให้ลักษณะเด่นในการทำงานหลายประการ คล้ายกับงานฉลุด้วยมือ ซึ่งจะไม่พบในเครื่องเลื่อยโลหะชนิดอื่น ๆ เช่น งานตัดชิ้นงานเป็นรูปทรงเรขาคณิต
4. เครื่องเลื่อยวงเดือน (Circular Saw or Radius Saw)
เครื่องเลื่อยวงเดือน เป็นเครื่องเลื่อยที่ใบเลื่อยเป็นวงกลม มีฟันรอบ ๆ วง สามารถตัดชิ้นงานได้อย่างต่อเนื่อง มักเป็นชิ้นงานบาง ๆ เช่น อะลูมิเนียม สามารถตัดงานได้ทั้งลักษณะตรงและเอียงเป็นมุม
คามปลอดภัยในการใช้เลื่อยวงเดือน
- เลื่อยวงเดือนเกิดอันตรายได้ง่ายมาก ให้ใส่ฝาครอบใบเลื่อยเสมอ
- อย่าใจร้อน ออกแรงควบคุมตัดเกินพิกัด
- ให้ระวังก่อนชิ้นงานขาด ใช้แรงควบคุมตัดเพียงเล็กน้อย เพราะขาดง่าย
- ให้หมั่นตรวจการแต่กร้าวของใบเลื่อย หรือการยึดติดคมเลื่อย
การหล่อเย็นชิ้นงานขณะตัดเฉือนโลหะ
งานตัดกลึงโลหะมักใช้ใบมีดในการเจาะ เซาะ เฉือนเนื้อโลหะ หรือใช้หินขัดในการเจียร์เพื่อให้ชิ้นงานนั้นได้รูปร่างหรือขนาดตามที่ต้องการ ในขณะที่การเจาะเซาะหรือเฉือนหรือเจียร์นั้น ความร้อนจะเกิดขึ้นสูงมาก โดยอาจสูงถึง 7000C หรือสูงกว่า ซึ่งความร้อนี้เกิดจากการเสียดสี ระหว่างใบมีดกับชิ้นงานและจากการเปลี่ยนรูปของเนื้อโลหะ (Deformation) หากความร้อนที่เกิดขึ้นนี้ไม่ได้รับการระบายออกโดยเร็วก็จะเกิดการสะสมทำให้ใบมีดและชิ้นงานร้อนจัดใบมีดจะสูญเสียความแข็ง และสึกหรอได้ ในที่สุดส่วนชิ้นงานอาจบิดเบี้ยวทำให้ไม่ได้รูปร่างหรือขนาดตามที่ต้องการและอาจเกิดการหลอมติดของเศษโลหะที่บริเวณปลายใบมีด ซึ่งเรียกว่าเกิด Built Up Edge หรือเรียกโดยย่อว่า BUE ทำให้ใบมีดสึกเร็วและอาจถึงขั้นแตกหักได้
หน้าที่ของน้ำมันหล่อเย็น
น้ำมันหล่อเย็นมีหน้าที่หลัก 4 ประการ คือ
1. ระบายความร้อน
น้ำมันตัดกลึงโลหะมีหน้าที่ระบายความร้อนออกจากบริเวณใบมีดและชิ้นงานเพื่อไม่ให้ใบมีดสูญเสียความแข็งหรืออ่อนตัว อันเนื่องมาจากความร้อน ป้องกันไม่ให้เกิดการหลอมติดของเศษโลหะที่ปลายใบมีด (BUE) ทำให้สามารถทำงานตัดกลึงได้เร็วชิ้นงานได้ขนาดและคุณภาพผิดตามต้องการ
2. หล่อลื่นลดแรงเสียดทาน
น้ำมันตัดกลึงโลหะทำหน้าที่หล่อลื่นลดแรงเสียทานระหว่าง ระหว่างชิ้นงานกับใบมีด รวมทั้งเศษโลหะที่เคลื่อนที่ผ่านหน้าใบมีด การตัดกลึงใช้กำลังน้อยลง ลดการสึกหรอของใบมีดช่วยป้องกันการเกิดปัญหา BUE
3. ซะล้างและพาเศษโลหะ
น้ำมันตัดกลึงโลหะทำหน้าที่ในการชะล้างและพาเศษโลหะที่เกิดจากการตัดเฉือนออกไปจากบริเวณตัดเฉือน และชิ้นงาน
4. ป้องกันสนิม
น้ำมันตัดกลึงโลหะทำหน้าที่ป้องกันสนิม ให้แก่ชิ้นงานที่ถูกตัดเฉือนใหม่ ซึ่งผิวโลหะส่วนนี้มักไวต่อการเกิดสนิมมากและยังทำหน้าที่ป้องกันสนิม ให้แก่เครื่องจักรและรางแท่น (Slideways) ด้วย
น้ำมันหล่อเย็น
น้ำมันหล่อเย็น หรือในภาษาอังกฤษว่า “Water Emulsifiable Cutting Fluid” จะผสมน้ำใช้งานที่อัตราส่วนผสม แตกต่างกันไปตามคุณสมบัติของน้ำมันหล่อเย็นหรือตามความต้องการใช้งาน โดยปกติจะผสมใช้งานยอู่ในช่วง 2% ถึง 10% ในน้ำ ซึ่งนิยมแบ่งน้ำมันหล่อเย็นออกเป็น 3 ประเภทตาม % สัดส่วนผสมของน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานประเภทน้ำมันแร่ในผลิตภัณฑ์ก่อนผสมน้ำ คือ
1. น้ำมันสบู่
น้ำมันหล่อเย็นประเภทน้ำมันสบู่ หรือเรียกในภาษาอังกฤษว่า Soluble Oil มีองค์ประกอบที่สำคัญคือ น้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานประเภทน้ำมันแร่ (Mineral Oil) กับสาร Emulsifier ซึ่งทำหน้าที่ให้น้ำมันแร่สามารถกระจายและอยู่ตัวได้ในน้ำ โดยมีสัดส่วนผสมของน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานประเภทน้ำมันแร่ในผลิตภัณฑ์ก่อนผสมน้ำประมาณ 75% หรือมากกว่า เมื่อผสมน้ำแล้วจะมีสีขาวคล้ายน้ำนม จึงมักถูกเรียกอีกว่าเป็นน้ำมันหล่อเย็นประเภท “น้ำนม” หรือ “Milky” ทั้งนี้เพราะน้ำมันสบู่มี % สัดส่วนผสมของน้ำมันแร่อยู่สูงอนุภาคของน้ำมันแร่ที่กระจายอยู่ในน้ำ จึงมีขนาดใหญ่เกิดการทึบแสง และมองเห็นเป็นสีขาว
น้ำมันหล่อเย็นชนิดน้ำมันสบู่มีข้อดีที่เด่นชัด คือ ราคาต่อลิตไม่สูง และใช้งานได้กับงานทั่วไปที่ไม่หนัก หรือไม่มีความต้องการพิเศษ แต่ข้อเสียโดยทั่วไป คือการอยู่ตัวในน้ำ (Stability) ไม่ค่อยดี และมีอายุการใช้งานสั้นจนถึงอาจเกิดการหนิมได้ง่าย
2. น้ำมันสังเคราะห์
น้ำมันหล่อเย็นชนิดน้ำมันสังเคราห์หรือเรียกในภาษาอังกฤษว่า “Synthetic Fluid” นี้ผลิตจากน้ำมันพื้นฐานหรือสารเคมีที่มาจากการสังเคราะห์ทั้งหมด โดยที่ไม่มีสัดส่วนของน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานประเภทน้ำมันแร่ ผสมอยู่เลยมักนิยมใช้สำหรับงานเจียร์คุณภาพสูง โดยใช้งานที่อัตราส่วนผสมน้ำขั้นต่ำประมาณ 2% หรืออัตราส่วนน้ำมันต่อน้ำ 1 ต่อ 49 ทั้งนี้ เพราะลักษณะงานเจียร์ต้องการการระบายความร้อนเป็นสำคัญ และไม่ต้องการคุณสมบัติการหล่อลื่นมากนัก การที่ไม่มีน้ำมันแร่อยู่เลย ทำให้หน้าหินไม่บอดง่ายจากการที่เศษผงโลหะขนาดเล็กที่เกิดจากการเจียร์เกาะติดอุดหน้าหิน
ข้อพึงระวังจากการใช้นัมันหล่อเย็นชนิดสังเคราะห์โดยทั่วไป คือ ปัญหาเรื่องสนิมที่มักเกิดขึ้นกับเครื่องจักร และร่างแทน (Slideways) โดยเฉพาะน้ำมันในอัตราส่วนที่สูงมาก เกิดการสิ้นเปลือง เมื่อมีการหยุดเครื่อง หรือหากไม่เกิดสนิมก็อาจต้องผสม
3. น้ำมันกึ่งสังเคราะห์
น้ำมันหล่อเย็นประเภทกึ่งสังเคราะห์จะมีน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานผสมกันระหว่างน้ำมันสังเคราะห์ และน้ำมันแร่หรือเรียกในภาษาอังกฤษว่า “Semi Synthetic Fluld” โดยมีสัดส่วนผสมของน้ำมันแร่อยู่ในช่วงระหว่าง 20% ถึง 60% ทั้ง
นี้เพื่อผสมผสานคุณสมบัติด้านการหล่อลื่นที่ดีของน้ำมันแร่กับคุณสมบัติ
พิเศษที่ต้องากรของน้ำมันสังเคราะห์ให้เหมาะกับความต้องการของการใช้งาน
น้ำมันชนิดกึ่งสังเคราะห์โดยทั่วไปเมื่อผสมน้ำจะมีสีขุ่นไม่ทึบแสง (Translucent) เพราะมีปริมาณน้ำมันแร่ต่ำกว่าน้ำมันสบู่อนุภาคน้ำมันที่กระจายในน้ำจึงมีขนาดเล็กกว่า ยิ่งไปกว่านั้นปริมาณสาร Emulsifier
ที่ต้องการก็มีน้อยกว่าเมื่อเทียบกับน้ำมันสบู่ น้ำมันหล่อเย็นชนิดกึ่งสังเคราะห์โดยทั่วไปจึงมีคุณสมบัติต้านทานแบคทีเรียในเบื้องต้นดีกว่า
ขาย เครื่องจักรกล มือสอง เครื่องกลึง เครื่องcnc เครื่องมิลลิ่ง เครื่องกระทุ้ง เครื่องไวร์คัท เครื่องพับเหล็ก เครื่องรีดยาง เครื่องสับยาง
รับ งานไวร์คัท ชิ้นส่วนอะไหล่ ตามต้องการ รับตัดชิ้นส่วนอะไหล่ เหล็ก อลูมิเนียม ทองเหลือง ทองแดง รับพ่นทรายกันสนิมงานต่างๆตามต้องการ รับตัดโลหะด้วยเครื่องไวร์คัท ตามตัวอย่าง/ตามแบบที่ต้องการ
ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร 088-202-0410,038-942-501