1.2 การผลิต พื้นที่ปลูก จีนเริ่มปลูกยางพาราตั้งแต่ปี 2447 ในมณฑลกวางตุ้ง (Guangdong) แต่มีการพัฒนาอย่างจริงจังในปี 2494 โดยขยายพื้นที่ปลูกยางพาราไปยังมณฑลไหหลำ (Hainan) รวมถึงมณฑลยูนนาน (Yunnan) และกวางสี (Guangxi) ทางตอนใต้ของประเทศ จากนั้นขยายไปสู่มณฑลฟูเจียน (Fujean) ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ โดยแหล่งปลูกยางที่สำคัญ คือ เกาะไหหลำ และ เขตสิบสองปันนา (Xishuangbanna Prefecture) ในมณฑลยูนนาน ปัจจุบัน การปลูกยางในมณฑลกวางตุ้งนั้นมีน้อยลง เพราะมีการปลูกพืชอื่น ๆ ที่มีผลตอบแทนสูงกว่ามาทดแทน โดยจีนมีการปลูกยางในมณฑลยูนนานร้อยละ 24 กวางตุ้งร้อยละ 11.7 และเกาะไหหนานประมาณร้อยละ 6 ในช่วงหลังผลผลิตยางพาราของจีนเริ่มจะอิ่มตัว เพราะต้นทุนการลผิตของจีนสูง เนื่องจากสถานที่ปลูกของจีนอยู่นอกเขต Traditional Zone ทำให้การเติบโตของยางไม่ดี เช่นที่เกาะไหหลำมีมรสุมทำให้ต้นยางโค่นบ่อย ที่มณฑลยูนนานมีน้ำค้างแข็งตัวในฤดูหนาวจึงทำลายหน้ายางและพื้นที่เป็นภูเขาสูงกว่า 600 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลที่เหมาะแก่การปลูกยาง อีกทั้งต้องปลูกยางแบบขั้นบันได (ทางเชียงรายและน่านจึงปลูกได้ดีกว่า) นอกจากนั้นทางตอนใต้ของจีนส่วนใหญ่ยังเป็นพื้นที่ปลูกผลไม้ เช่น ที่กวางเจา ซึ่งการปลูกผลไม้ให้ผลตอบแทนสูงกว่าจึงไม่นิยมปลูกยาง ดังนั้นสรุปแล้วพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการปลูกยางของจีนมีน้อยและการปลูกยังมีต้นทุนสูง ทำให้ผลผลิตยางธรรมชาติมีจำนวนน้อยและจำกัด พื้นที่ปลูกยางพาราที่ให้ผลผลิตของจีนในปี 2539 มี 2,469,000 ไร่ โดยพื้นที่ให้ผลผลิตยางของจีนมีการเพิ่มขึ้นค่อนข้างมากในปี 2540 และ 2542 ที่มีการเพิ่มขึ้นเป็น 2,546,000 และ 2,612,000 ไร่ตามลำดับ ซึ่งเป็นการเพิ่มพื้นที่ให้ผลผลิตยางพาราเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 และ 2.5 ตามลำดับ ส่วนในปี 2543และ 2544 จีนมีพื้นที่ให้ผลผลิตยางพาราเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเป็น 2,634,000 และ 2,638,000 ไร่ ตามลำดับ
เรียบเรียงโดย : เครื่องรีดยาง