อุตสาหกรรมการแปรรูปยางพารา มี 3 ประเภท ได้แก่
1.อุตสาหกรรมยางแผ่นดิบ แบ่งได้ 2 กลุ่ม คือ
กลุ่มแห้ง ได้แก่ ยางแผ่นรมควัน ซึ่งผลิตมากที่สุดประมาณร้อยละ 70 ตลาดหลักคือ ญี่ปุ่น รองลงมาคือ ยางแท่ง ที.ที.อาร์. ร้อยละ 16 ตลาดที่สำคัญ คือ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป นอกจากนั้นคือ ยางเครพ ยางแผ่นผึ่งแห้ง และยางสกิม
กลุ่มเหลว ได้แก่ น้ำยางข้น หรือยางลาเท็กซ์ แนวโน้มตลาดมีความต้องการมากขึ้นทั้งภายในและต่างประเทศ
2.อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง ประกอบด้วยอุตสาหกรรมการผลิตยางยานพาหนะ ซึ่งมีการผลิตมากที่สุดในปี 2542 จำนวน 76,606 ตัน คิดเป็นร้อยละ 33.83 รองลงมาคือ ถุงมือยาง จำนวน 38,405 ตัน ร้อยละ 16.7 และยางรัดของ จำนวน 20,985 ตัน ร้อยละ 9.2 โดยมีตลาดหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ยุโรป แคนาดา และญี่ปุ่น นอกจากนั้นยังมียางยืด ยางจักรยานยนต์ และอุตสาหกรรมรองเท้า
3.อุตสาหกรรมไม้ยางพารา เป็นอุตสาหกรรมที่พัฒนาพร้อมกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำให้คุณภาพดีตรงกับความต้องการของผู้ใช้ในรูปต่างๆ ได้แก่ ลังปลา ปาร์ติเกิลบอร์ด ของเด็กเล่น เฟอร์นิเจอร์ เครื่องเรือน ไม้อัด เครื่องประดับตกแต่งภายในอาคาร ปัจจุบันเป็นสินค้าส่งออกที่มีมูลค่าสูง และมีแนวโน้มขยายตัวมากยิ่งขึ้นจากจำนวน 74,110 ตัน ในปี 2541 เป็น 404,745 ตัน ในปี 2544 เพิ่มขึ้น 5.46 เท่าตัว โดยมีมูลค่าการส่งออกในปี 2544 เท่ากับ 2,311.07 ล้านบาท ตลาดหลักที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลี สิงคโปร์ และฮ่องกง

Related Articels
- 'ศรีรัตน์'ระดมสมองเอกชน ถกแผนส่งออก-ลงทุนนอก
- ดึงเอสเอ็มอี ปรับธุรกิจพร้อมรับ 'เปิดเออีซี'
- อุตสาหกรรมยางพารา
- เงินเฟ้อฟิลิปปินส์ลดลง
- เอสเอ็มอีผวาขึ้นค่าแรง 300 บาท