แนวทางการพัฒนายางพารา || เครื่องรีดยางพาราเครื่องรีดยาง, เครื่องรีดยางพารา, เครื่องรีดยางเครป, เครื่องรีดยางแผ่น, เครื่องทำยางเครป

แนวทางการพัฒนายางพารา

ราคายางพารา
ยางพารา เป็นไม้ยืนต้น มีถิ่นกำเนิดในป่าเขตร้อน ซึ่งมีฝนตกชุกแถบอเมริกาใต้ ได้แก่ ประเทศบราซิล เปรู โคลัมเบีย เวเนซุเอลา และโบลิเวีย ปี พ..  2520  Sir Henry Wickhan ได้นำเมล็ดยางพารามาปลูกที่เปรัค ประเทศ   มาเลเซีย จำนวน 9 ต้น และอีก 13 ต้น ปลูกที่สวนพฤกษาชาติ ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเป็นที่มาของต้นยางพาราในเอเชีย และแอฟริกาในทุกวันนี้ ประเทศไทย พระยารัษฎานุประดิษฐ์ เจ้าเมืองตรัง ได้นำพันธุ์ยางพารา   จากประเทศมาเลเซีย มาทดลองปลูกครั้งแรก ในปี พ.. 2443 ที่อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง หลังจากนั้นจึงแพร่หลายไปทั่วทั้ง 14 จังหวัดของภาคใต้ และขยายไปสู่ภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 

สภาพการทำสวนยางพาราของไทย การปลูกยางพาราในช่วงแรกๆ นั้น (.. 2443 - 2503) เป็นพันธุ์พื้นเมือง ปลูกร่วมกับไม้ผลและพืชผักอื่นๆ ในบริเวณเชิงเขาและที่ราบเชิงเขา ซึ่งเรียกว่า ป่ายางโดยเมล็ดพันธุ์จะนำมาจากประเทศมาเลเซีย ซึ่งขณะนั้น เป็นประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติเป็นอันดับ 1 ของโลก มีการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ที่ให้ผลผลิตต่อไร่สูง และทำการปลูกทดแทนพันธุ์พื้นเมืองเดิมไปมาก ประเทศไทยจึงมีความพยายามพัฒนาการทำสวนยางพาราให้เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้จัดตั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องการทำสวนยางพารา เพื่อดำเนินการวิจัย ส่งเสริม และพัฒนา ทำให้พื้นที่ปลูกยางพาราขยายตัวอย่างต่อเนื่องจาก 7 ล้านไร่ ในปี 2503 เป็น 10 ล้านไร่ ในปี 2529 เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 1.3 ต่อปี โดยพื้นที่บางส่วนได้รับการส่งเสริมให้ปลูกยางพันธุ์ดีแทนยางพาราพันธุ์เก่าอายุ 25 ปีขึ้นไป โดยสงเคราะห์ให้เกษตรกรไร่ละ 6,800 ต่อปี เป็นระยะเวลา 6 ปี

ช่วงปี 2529 – 2534 การทำส่วนยางพารามีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบจาก ป่ายางหรือสวนสมรมไปเป็นพืชเชิงเดียวที่มีเพียงต้นยางพาราอย่างเดียว โดยปลูกทดแทนพันธุ์  พื้นเมืองเดิมด้วยยางพันธุ์ดีที่ให้ผลผลิตต่อไร่สูงกว่าและมีการบำรุงรักษามากขึ้น ทำให้ผลผลิตยางพาราของไทยในช่วงเวลาดังกล่าว เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจาก 0.94 ล้านตัน ในปี 2529 เป็น 1.5 ล้านตัน ในปี 2534 เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 9.7 ต่อปี ประเทศไทยจึงเป็นผู้ผลิตยางธรรมชาติอันดับหนึ่งของโลก  ปัจจุบันสวนยางพาราประเทศไทยมีประมาณ 11.5 ล้านไร่ ซึ่งประมาณร้อยละ 93.01 ของสวนยางทั้งหมด เป็นสวนยางขนาดเล็กมีเนื้อที่ระหว่าง 2-50 ไร่ โดยมีขนาดของสวนเฉลี่ย 13 ไร่ และส่วนใหญ่เป็นการปลูกลักษณะเชิงเดี่ยว ทำให้เกิดความเสี่ยงขณะที่ภาวะราคายางพาราตกต่ำ ประกอบกับประเทศคู่แข่งที่สำคัญคือ อินโดนีเซีย และเวียดนาม มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า และมีแนวโน้มขยายพื้นที่การปลูกยางมากยิ่งขึ้น 

พื้นที่การปลูกยางพารา พื้นที่ปลูกยางพาราของไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากจำนวน 10.8 ล้านไร่ ในปี 2531 เป็น 11.5 ล้านไร่ ในปี 2541 เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 0.6 ต่อปี โดยพื้นที่การปลูกยางพาราประมาณร้อยละ 85 อยู่ใน 14 จังหวัดภาคใต้   ซึ่งในปี 2541  จังหวัด      สุราษฎร์ธานีมีพื้นที่ปลูกมากที่สุด จำนวน 1,772,324 ไร่  รองลงมาคือจังหวัดสงขลา และนครศรีธรรมราช จำนวน 1,631,058 ไร่ และ 1,289,047 ไร่ ตามลำดับ 

ผลผลิตยางพารา ผลผลิตยางพาราเพิ่มสูงขึ้นตลอดจาก 1.15 ล้านตัน ในปี 2531 เป็น 2.16 ล้านตันในปี 2541 เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 6.50 ต่อปี เนื่องจากปัจจัยที่สำคัญ 2 ประการ คือ ประการแรก เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของพื้นที่ให้ผลผลิต ซึ่งเพิ่มจาก 9.24 ล้านไร่ ในปี 2531 เป็น 9.54 ล้านไร่ ในปี 2541 เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 0.32 ต่อปี ประการที่สอง เนื่องจากการขยายพื้นที่ปลูกทดแทนด้วยยางพันธุ์ดี ทำให้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นจาก 136 กก./ไร่ ในปี 2531 เป็น 225 กก./ไร่ ในปี 2541 ผลผลิตยางพารา ปี 2541 ส่วนใหญ่อยู่ในภาคใต้ คิดเป็นร้อยละ 90 ของผลผลิตทั้งประเทศ จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีปริมาณผลผลิตยางพาราสูงเป็นอันดับหนึ่ง จำนวน 368,667 ตัน รองลงมาคือ จังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดสงขลา จำนวน 278,674 ตัน และ 267,180 ตัน ตามลำดับ
 

Related Articels

Copyright © 2011 บริษัท เอเซียเกียร์ริ่ง จำกัด รับสร้าง ผลิตและจำหน่าย เครื่องรีดยาง เครื่องรีดยางพารา | รายละเอียดเพิ่มเติมโทร 088-202-0410